xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุงระดมความเห็นทั่วภาคใต้ เล็งพัฒนาอุปกรณ์ตามความต้องการผู้ใช้งาน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
พัทลุง - ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดมความคิดเห็นจากตัวแทนเกษตรทั่วภาคใต้ เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านเครื่องจักรกลเกษตรให้ตรงต่อความต้องการของเกษตรกรผู้ใช้งาน

วันนี้ (12 ม.ค.) ที่ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เป็นประธานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็นจากตัวแทนเกษตรด้านต่างๆ ในการวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเพื่อรองรับการผลิตทางการเกษตรในศตวรรษใหม่ ซึ่งจะมีการแข่งขันทางการตลาดสูง และมีปัจจัยด้านแรงงาน และความปลอดภัยของผู้บริโภคเข้ามาเกี่ยวข้อง

ด้วยเหตุดังกล่าว สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จึงร่วมกับสถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้เร่งหาแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร ให้เหมาะสมต่อความต้องการของเกษตรกรผู้ใช้งาน โดยจัดระดมความคิดเห็นเพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก เพื่อนำไปกำหนดแผน และกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรของชาติในลำดับต่อไป
 

 
ทั้งนี้ โดยระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตภาคการเกษตรฝ่ายต่างๆ ได้แก่ นักวิชาการเกษตร เกษตรกร ผู้แทนจากวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการการใช้งาน ปัญหาอุปสรรคในปัจจุบัน และแนวโน้มการผลิตทางการเกษตรในอนาคต อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้านการเกษตรของประเทศ

ในการนี้ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศเกษตรกรรม เพราะมีความสมบูรณ์ทั้งเรื่องของดิน เรื่องของน้ำ การทำการเกษตรในช่วงที่ผ่านมาจึงมีผลผลิตค่อนข้างสูง สามารถรองรับการบริโภคของคนในท้องถิ่น และประชากรภายในประเทศได้เป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตการผลิตด้านการเกษตรของไทยจะเปลี่ยนไป เป็นการผลิตเพื่อการค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อการลดต้นทุน และการตอบสนองทางการตลาด ซึ่งถูกกำหนดด้วยผู้บริโภคและปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่จะมีเพิ่มขึ้น

ดังนั้น เกษตรกรไทยจะต้องมีการพัฒนา และปรับตัวให้เข้าต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้ ซึ่งแนวทางสำคัญคือ การนำเทคโนโลยี และเครื่องจักรกลเข้ามาใช้งานให้ที่เหมาะสม และเกื้อกูลต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นเงื่อนไขสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ 

สำหรับการสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ผู้เข้ารับการสัมมนาประกอบด้วย นักวิชาการเกษตร ตัวแทนเกษตรกรจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ตัวแทนวิสาหกิจ รวม 65 คน
 

 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น