ชุมพร - ปศุสัตว์ชุมพร เดินหน้าเชิงรุกให้เกษตรกรชาวสวนหันมาเลี้ยงโค เพื่อเสริมรายได้ในช่วงวิกฤตพืชเศรษฐกิจตกต่ำ พร้อมมีตลาดต่างประเทศรองรับ
นายเกษตร สุวรรณเพชร ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า จังหวัดชุมพรเป็นเมืองเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นสวนทุเรียน สวนปาล์ม สวนยางพารา ดังนั้น จึงมีความอุดมสมบูรณ์เรื่องของอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีตามธรรมชาติ และที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาเองจากการทำสวนผลปาล์มน้ำมันที่เป็นผลพลอยได้ และสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการฟาร์มต้นแบบ เป็นโครงการเลี้ยงโค กระบือ เพื่อเกษตรกร ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ปัจจุบันมีโคอยู่ราว 21,770 ตัว สำหรับในส่วนของเขต 8 ของภาคใต้มีอยู่ทั้งหมด 346,000 ตัว ทั่วประเทศมีประมาณ 4,400,000 ตัว ยังถือว่ามีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้นจึงต้องเร่งการส่งเสริมเลี้ยงโคให้มากขึ้น
สำหรับโครงการเลี้ยงโค กระบือเพื่อเกษตรกร ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ได้มีการสนับสนุนโคให้แก่เกษตรกรรายละ 5 ตัว ขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 75 ราย ประมาณกว่า 300 ตัว และได้ใช้วิธีผสมพันธุ์ในการเพิ่มจำนวนโค ซึ่งอีกประมาณ 9 เดือน โคเพศเมียก็จะมีลูกได้ ในอนาคตสามารถที่จะเลี้ยงโคป้อนโรงงานชำแหละในจังหวัดชุมพรที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง และใกล้แล้วเสร็จเพื่อส่งถึงตลาดผู้บริโภคได้ ซึ่งทางโรงงานแห่งนี้สามารถรองรับโคต่อวันละกว่า 100 ตัว ส่วนด้านการตลาดสามารถส่งออกเนื้อโค และรวมไปถึงโคที่มีชีวิตที่มีตลาดรองรับอยู่แล้ว เช่น จีน เวียดนาม ถือว่าอนาคตจะไปได้ดี
ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร กล่าวต่อว่า อาชีพการเลี้ยงโคก็เป็นอาชีพที่ถาวร และไม่เสี่ยงถ้าเทียบกับอาชีพการเลี้ยงสุกร ไก่ สำหรับผู้ที่สนใจที่เข้าโครงการนี้จะได้รับพันธุ์โค 5 ตัว พอมีลูกเกิดออกมาได้ 1 ปี 6 เดือน ทางปศุสัตว์จะขอคืนรายละ 1 ตัว เพื่อนำไปให้เกษตรกรรายอื่นต่อไป
ทางด้าน นายสมยศ สุวรรณมณี ประธานกลุ่มเลี้ยงวัวโครงการเลี้ยงโค กระบือ เพื่อเกษตรกร กล่าวว่า แนวคิดของการเลี้ยงโค คือ จะทำยังไงให้เกษตรกรชาวสวนสวนปาล์ม สวนผลไม้ให้มีต้นทุนที่ลดน้อยลง การใช้วัสดุที่มีให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น หญ้า หรือวัชพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งปกติวัชพืชเหล่านั้นเราจะกำจัดทิ้ง และอาจจะมีค่าใช้จ่าย ก็เลยคิดว่าจะทำยังไงให้วัชพืชกลายเป็นรายได้ และคิดต่อยอดต่อไปว่าจะทำอย่างไรต่อมูลสัตว์ที่เราเลี้ยงเพื่อให้เกิดรายได้ต่อไป
นายเกษตร สุวรรณเพชร ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า จังหวัดชุมพรเป็นเมืองเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นสวนทุเรียน สวนปาล์ม สวนยางพารา ดังนั้น จึงมีความอุดมสมบูรณ์เรื่องของอาหารสัตว์เลี้ยงที่มีตามธรรมชาติ และที่มนุษย์ผลิตขึ้นมาเองจากการทำสวนผลปาล์มน้ำมันที่เป็นผลพลอยได้ และสามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร จึงได้ทำโครงการฟาร์มต้นแบบ เป็นโครงการเลี้ยงโค กระบือ เพื่อเกษตรกร ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ปัจจุบันมีโคอยู่ราว 21,770 ตัว สำหรับในส่วนของเขต 8 ของภาคใต้มีอยู่ทั้งหมด 346,000 ตัว ทั่วประเทศมีประมาณ 4,400,000 ตัว ยังถือว่ามีจำนวนน้อย เพราะฉะนั้นจึงต้องเร่งการส่งเสริมเลี้ยงโคให้มากขึ้น
สำหรับโครงการเลี้ยงโค กระบือเพื่อเกษตรกร ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร ได้มีการสนับสนุนโคให้แก่เกษตรกรรายละ 5 ตัว ขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 75 ราย ประมาณกว่า 300 ตัว และได้ใช้วิธีผสมพันธุ์ในการเพิ่มจำนวนโค ซึ่งอีกประมาณ 9 เดือน โคเพศเมียก็จะมีลูกได้ ในอนาคตสามารถที่จะเลี้ยงโคป้อนโรงงานชำแหละในจังหวัดชุมพรที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง และใกล้แล้วเสร็จเพื่อส่งถึงตลาดผู้บริโภคได้ ซึ่งทางโรงงานแห่งนี้สามารถรองรับโคต่อวันละกว่า 100 ตัว ส่วนด้านการตลาดสามารถส่งออกเนื้อโค และรวมไปถึงโคที่มีชีวิตที่มีตลาดรองรับอยู่แล้ว เช่น จีน เวียดนาม ถือว่าอนาคตจะไปได้ดี
ปศุสัตว์จังหวัดชุมพร กล่าวต่อว่า อาชีพการเลี้ยงโคก็เป็นอาชีพที่ถาวร และไม่เสี่ยงถ้าเทียบกับอาชีพการเลี้ยงสุกร ไก่ สำหรับผู้ที่สนใจที่เข้าโครงการนี้จะได้รับพันธุ์โค 5 ตัว พอมีลูกเกิดออกมาได้ 1 ปี 6 เดือน ทางปศุสัตว์จะขอคืนรายละ 1 ตัว เพื่อนำไปให้เกษตรกรรายอื่นต่อไป
ทางด้าน นายสมยศ สุวรรณมณี ประธานกลุ่มเลี้ยงวัวโครงการเลี้ยงโค กระบือ เพื่อเกษตรกร กล่าวว่า แนวคิดของการเลี้ยงโค คือ จะทำยังไงให้เกษตรกรชาวสวนสวนปาล์ม สวนผลไม้ให้มีต้นทุนที่ลดน้อยลง การใช้วัสดุที่มีให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น หญ้า หรือวัชพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งปกติวัชพืชเหล่านั้นเราจะกำจัดทิ้ง และอาจจะมีค่าใช้จ่าย ก็เลยคิดว่าจะทำยังไงให้วัชพืชกลายเป็นรายได้ และคิดต่อยอดต่อไปว่าจะทำอย่างไรต่อมูลสัตว์ที่เราเลี้ยงเพื่อให้เกิดรายได้ต่อไป