ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ภูเก็ตปล่อยเต่าคุณภาพดีเยี่ยม 84 ตัว เพื่อการอนุรักษ์ และฟื้นฟูเต่าทะเลอย่างยั่งยืน ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันแม่แห่งชาติ
วันนี้ (12 ส.ค.) ที่บริเวณชายหาดหน้ากองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย พล.ร.ท.สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน ตลอดจนนักเรียน และนักศึกษา ร่วมกันปล่อยเต่าทะเลคุณภาพดีเยี่ยม จำนวน 84 ตัว เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2558 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
นายสมบัติ ภู่วชิรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การปล่อยเต่าทะเลคุณภาพดีเยี่ยม 84 ตัว ในครั้งนี้ เนื่องด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยเต่าทะเล ทรงตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของไทยนับวันมีแต่จะลดน้อยลง มีสัตว์หลายชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะเต่าทะเล เช่น เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต้าหญ้า และเต่าหัวค้อน ซึ่งในอดีตเคยมีเป็นจำนวนมาก แต่ขณะนี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประชาชนนิยมเก็บไข่เต่าทะเลไปซื้อขายเพื่อประกอบอาหาร
แม้กรมประมงแก้ไขกฎหมายประมง เมื่อ พ.ศ.2493 กำหนดให้ผู้ครอบครองเต่าทะเล มีความผิดตามกฎหมาย แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลในนามว่า “โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล” เริ่มเมื่อ 11 ส.ค.2522 โดยมีสถานที่ดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล 2 แห่ง คือ ที่เกาะมันใจ จ.ระยอง ภายใต้การดูแลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปัจจุบัน และที่เกาะคราม จ.ชลบุรี ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือแต่เดิมมา
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินตามแนวพระราชดำริมาโดยตลอด โดยส่งเสริมหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กำกับให้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาอนุบาลเต่าทะเลให้ดีขึ้นเสมอมา ซึ่งในปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ได้ประสบความสำเร็จในกระบวนการวิจัย สำหรับการจัดการอนุบาลเต่าทะเลให้มีคุณภาพดีเยี่ยม มีอัตราการรอดตายสูงกว่า 80% สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสมบูรณ์ตามมาตรฐานการปล่อยเต่าทะเลที่มีคุณภาพของกรม ทช. 4 ข้อ คือ มีความยาวกระดองไม่น้อยกว่า 20 ซม. น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กก. ค่าเลือดอยู่ในช่วงของค่ามาตรฐานเลือดเต่าทะเลในระดับสากล และความสมบูรณ์ของครีบขาหลังไม่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จึงถือได้ว่าเป็นการปล่อยเต่าที่มีขนาดที่โต และแข็งแรงพอในการหลบหนีศัตรูตามธรรมชาติได้ ที่เป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูเต่าทะเลอย่างยั่งยืนได้
สำหรับเต่าที่นำมาปล่อยนั้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในฐานะประธานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้ให้การสนับสนุนโครงการผลิตเต่าคุณภาพดีเยี่ยม จำนวน 84 ตัว เพื่อปล่อยเป็นพระราชกุศลในวันแม่แห่งชาติ เป็นเงินจำนวน 1,481,000 บาท และทางทัพเรือภาคที่ 3 ได้ให้การสนับสนุนพันธุ์เต่าตนุในการอนุบาล และทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต ได้บรรจุโครงการกิจกรรมในวันนี้ไว้ภายใต้โครงการรักษ์อันดามันด้วย นายสมบัติ กล่าวในที่สุด
วันนี้ (12 ส.ค.) ที่บริเวณชายหาดหน้ากองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย พล.ร.ท.สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ประชาชน ตลอดจนนักเรียน และนักศึกษา ร่วมกันปล่อยเต่าทะเลคุณภาพดีเยี่ยม จำนวน 84 ตัว เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2558 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
นายสมบัติ ภู่วชิรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การปล่อยเต่าทะเลคุณภาพดีเยี่ยม 84 ตัว ในครั้งนี้ เนื่องด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีน้ำพระราชหฤทัยห่วงใยเต่าทะเล ทรงตระหนักว่าทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของไทยนับวันมีแต่จะลดน้อยลง มีสัตว์หลายชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยเฉพาะเต่าทะเล เช่น เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ เต้าหญ้า และเต่าหัวค้อน ซึ่งในอดีตเคยมีเป็นจำนวนมาก แต่ขณะนี้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากประชาชนนิยมเก็บไข่เต่าทะเลไปซื้อขายเพื่อประกอบอาหาร
แม้กรมประมงแก้ไขกฎหมายประมง เมื่อ พ.ศ.2493 กำหนดให้ผู้ครอบครองเต่าทะเล มีความผิดตามกฎหมาย แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น จึงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลในนามว่า “โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล” เริ่มเมื่อ 11 ส.ค.2522 โดยมีสถานที่ดำเนินการอนุรักษ์เต่าทะเล 2 แห่ง คือ ที่เกาะมันใจ จ.ระยอง ภายใต้การดูแลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในปัจจุบัน และที่เกาะคราม จ.ชลบุรี ภายใต้การดูแลของกองทัพเรือแต่เดิมมา
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินตามแนวพระราชดำริมาโดยตลอด โดยส่งเสริมหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเลและป่าชายเลน กำกับให้ดำเนินการวิจัย และพัฒนาอนุบาลเต่าทะเลให้ดีขึ้นเสมอมา ซึ่งในปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จ.ภูเก็ต ได้ประสบความสำเร็จในกระบวนการวิจัย สำหรับการจัดการอนุบาลเต่าทะเลให้มีคุณภาพดีเยี่ยม มีอัตราการรอดตายสูงกว่า 80% สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และสมบูรณ์ตามมาตรฐานการปล่อยเต่าทะเลที่มีคุณภาพของกรม ทช. 4 ข้อ คือ มีความยาวกระดองไม่น้อยกว่า 20 ซม. น้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5 กก. ค่าเลือดอยู่ในช่วงของค่ามาตรฐานเลือดเต่าทะเลในระดับสากล และความสมบูรณ์ของครีบขาหลังไม่น้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ จึงถือได้ว่าเป็นการปล่อยเต่าที่มีขนาดที่โต และแข็งแรงพอในการหลบหนีศัตรูตามธรรมชาติได้ ที่เป็นการอนุรักษ์ และฟื้นฟูเต่าทะเลอย่างยั่งยืนได้
สำหรับเต่าที่นำมาปล่อยนั้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในฐานะประธานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้ให้การสนับสนุนโครงการผลิตเต่าคุณภาพดีเยี่ยม จำนวน 84 ตัว เพื่อปล่อยเป็นพระราชกุศลในวันแม่แห่งชาติ เป็นเงินจำนวน 1,481,000 บาท และทางทัพเรือภาคที่ 3 ได้ให้การสนับสนุนพันธุ์เต่าตนุในการอนุบาล และทางสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต ได้บรรจุโครงการกิจกรรมในวันนี้ไว้ภายใต้โครงการรักษ์อันดามันด้วย นายสมบัติ กล่าวในที่สุด