ชุมพร - ชาวบ้านชุมพรร้องถนนอิฐตัวหนอนแห่งเดียวใน จ.ชุมพร สร้างยุคพายุไต้ฝุ่นเกย์ พังเสียหาย ไร้หน่วยงานเหลียวแล ขอเปลี่ยนเป็นถนนคอนกรีต หรือลาดยางได้แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ส.ค.) ได้รับการร้องเรียนชาวบ้านที่ใช้ถนนสายเขาพาง-บ้านสวน ตำหินแก้ว อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ที่ก่อสร้างหลังจากเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์พัดกระหน่ำในพื้นที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2532 ซึ่งเป็นถนนทำด้วยอิฐตัวหนอนเพื่อเป็นเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านในยุคนั้น สร้างโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานทางหลวงชนบท
ชาวบ้านบอกว่า ถนนตัวหนอนสายดังกล่าวปัจจุบันถือว่ามีอยู่เพียงแห่งเดียวของ จ.ชุมพร ที่ใช้มานานกว่า 20 ปี และอาจจะมีเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันพังชำรุดเสียหาย ตัวหนอนหลุดกระจุยกระจาย ดินยุบเป็นหลุมเป็นบ่อเสียหายอย่างหนัก ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองที่เติบโตขึ้นได้แล้ว โดยมีราษฎรกว่า 1,000 ครัวเรือน ซึ่งล้วนเป็นเกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ที่ต้องใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์สัญจรเข้าออก และขนพืชผลทางด้านการเกษตร ไม่ว่าปาล์ม ยางพารา ผลไม้ออกสู่ตลาด เพราะเป็นถนนเส้นทางเดียวที่ใช้สัญจรออกสู่ถนนเพชรเกษมสายหลักของหมู่บ้าน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมานานหลายปี
ชาวบ้านบางรายต้องหันไปใช้ถนนสายอื่นที่ไกลกว่าต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงฝากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยมาดำเนินการแก้ไขปรับปรุง หรือก่อสร้างถนนสายใหม่เป็นถนนลาดยาง หรือคอนกรีต หรือทำเป็นถนนหินคลุกยังดีกว่าที่ต้องใช้ถนนตัวหนอนที่อยู่ในสภาพเช่นปัจจุบัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ส.ค.) ได้รับการร้องเรียนชาวบ้านที่ใช้ถนนสายเขาพาง-บ้านสวน ตำหินแก้ว อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ที่ก่อสร้างหลังจากเกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์พัดกระหน่ำในพื้นที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2532 ซึ่งเป็นถนนทำด้วยอิฐตัวหนอนเพื่อเป็นเส้นทางเข้าออกหมู่บ้านในยุคนั้น สร้างโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานทางหลวงชนบท
ชาวบ้านบอกว่า ถนนตัวหนอนสายดังกล่าวปัจจุบันถือว่ามีอยู่เพียงแห่งเดียวของ จ.ชุมพร ที่ใช้มานานกว่า 20 ปี และอาจจะมีเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันพังชำรุดเสียหาย ตัวหนอนหลุดกระจุยกระจาย ดินยุบเป็นหลุมเป็นบ่อเสียหายอย่างหนัก ไม่สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนเมืองที่เติบโตขึ้นได้แล้ว โดยมีราษฎรกว่า 1,000 ครัวเรือน ซึ่งล้วนเป็นเกษตรกรชาวสวน ชาวไร่ที่ต้องใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์สัญจรเข้าออก และขนพืชผลทางด้านการเกษตร ไม่ว่าปาล์ม ยางพารา ผลไม้ออกสู่ตลาด เพราะเป็นถนนเส้นทางเดียวที่ใช้สัญจรออกสู่ถนนเพชรเกษมสายหลักของหมู่บ้าน สร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านอย่างมากมานานหลายปี
ชาวบ้านบางรายต้องหันไปใช้ถนนสายอื่นที่ไกลกว่าต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงฝากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยมาดำเนินการแก้ไขปรับปรุง หรือก่อสร้างถนนสายใหม่เป็นถนนลาดยาง หรือคอนกรีต หรือทำเป็นถนนหินคลุกยังดีกว่าที่ต้องใช้ถนนตัวหนอนที่อยู่ในสภาพเช่นปัจจุบัน