กระบี่ - กรมเจ้าท่า เล็งสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ชายฝั่งทะเล ต.หนองทะเล จ.กระบี่ เหตุมีศักยภาพเหมะสม คาดใช้งบประมาณกว่าพันล้านบาท ขณะที่ภาคเอกชนกระบี่อ้าแขนรับทันที
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (23 ก.ค.) นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมโรงแรมกระบี่ มารีไทม์ ปาร์ค แอนด์สปารีสอร์ท จังหวัดกระบี่ เพื่อนำความคิดเห็นต่างๆ ของประชาชนที่เสนอแนะกลับไปประมวล และพิจารณาในการดำเนินโครงการสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ว่า การเลือก ต.หนองทะเล จังหวัดกระบี่ จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise) เนื่องจากศักยภาพชายฝั่งมีความเหมาะสม
อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวอีกว่า กรมเจ้าท่าเล็งเห็นว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวเดินเรือสำราญ (Cruise) กำลังเติบโต และขยายตลาดในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายในแต่ละภูมิภาค ประกอบกับเสน่ห์ของขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมที่งดงาม ทำให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยในแต่ละปีจะมีเรือสำราญเข้าเทียบท่าในไทยเพื่อเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ
โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย มีเส้นทางเดินเรือจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และเข้าสู่ไทยฝั่งอันดามันที่กระบี่ และภูเก็ต อีกเส้นทางเดินเรือจากประเทศเวียดนาม เข้าสู่ฝั่งอ่าวไทย ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎาร์ธานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ มีรายจ่ายโดยเฉลี่ยวันละ 6,000 บาทต่อคน
โดยเรือสำราญที่เดินเรือมาไทยปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 10 ลำ แต่ละลำเดินเรือเข้ามาหลายรอบและใช้ระยะเวลาต่อเที่ยวอยู่ในประเทศไทยประมาณ 3-4 วัน โดยรวมแล้วประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวเดินเรือสำราญประมาณ 2.2 พันล้านบาทต่อปี คิดเป็นรายได้ที่สูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของธุรกิจเดินเรือสำราญ ทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน
ด้วยเหตุนี้ กรมเจ้าท่าจึงเห็นว่าหากมีการพัฒนาท่าเทียบเรือ รองรับเรือสำราญอย่างเต็มรูปแบบ โดยพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เช่น จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นการเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศ เรือสำราญจะจอดพักยาวนานขึ้น เพื่อตรวจสภาพเรือ และอื่นๆ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทยนานขึ้น ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ของชำร่วยของฝาก ของอุปโภคและบริโภคบนเรือสำราญ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“สำหรับการเลือก ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ และเกาะสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย ความเป็นมาและเหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ ลักษณะของโครงการ ขอบเขตการศึกษาโครงการ พื้นที่ทางเลือกและเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือสำราญ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อแนวทางพัฒนาโครงการ เพื่อให้การศึกษาโครงการมีความสอดคล้องต่อความต้องการของท้องถิ่น และการพัฒนาโครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อท้องถิ่น และประเทศ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างนับพันล้านบาท”
นายเอกวิทย์ ภิญโญธรรมโนทัย อดีตนายกสมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่ กล่าวในฐานะผู้เข้าร่วมเสนอความคิดเห็นของโครงการ ว่า ถึงเวลาแล้วที่จังหวัดกระบี่ มีท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ และของประเทศ ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะจะสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ในฝั่งอันดามัน และประเทศเพื่อนบ้านได้อีกหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ เชื่อว่าจะทำให้เม็ดเงินมหาศาลไหลเข้าจังหวัด และทั้งภาคอันดามัน และด้วยศักยภาพพื้นที่ ของ ต.หนองทะเล เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีโรงแรมระดับ 3-5 ดาวอยู่ จำนวนหลายโรง และพื้นที่ใกล้กันก็เป็น ต.อ่าวนาง ล้วนแต่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เชื่อว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก สามารถสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ได้
เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (23 ก.ค.) นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยภายหลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาความเหมาะสม และสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ที่จังหวัดกระบี่ และอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องประชุมโรงแรมกระบี่ มารีไทม์ ปาร์ค แอนด์สปารีสอร์ท จังหวัดกระบี่ เพื่อนำความคิดเห็นต่างๆ ของประชาชนที่เสนอแนะกลับไปประมวล และพิจารณาในการดำเนินโครงการสร้างท่าเทียบเรือ เพื่อรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ ว่า การเลือก ต.หนองทะเล จังหวัดกระบี่ จัดทำโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise) เนื่องจากศักยภาพชายฝั่งมีความเหมาะสม
อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวอีกว่า กรมเจ้าท่าเล็งเห็นว่า ธุรกิจการท่องเที่ยวเดินเรือสำราญ (Cruise) กำลังเติบโต และขยายตลาดในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายในแต่ละภูมิภาค ประกอบกับเสน่ห์ของขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมที่งดงาม ทำให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก โดยในแต่ละปีจะมีเรือสำราญเข้าเทียบท่าในไทยเพื่อเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ
โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย มีเส้นทางเดินเรือจากประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และเข้าสู่ไทยฝั่งอันดามันที่กระบี่ และภูเก็ต อีกเส้นทางเดินเรือจากประเทศเวียดนาม เข้าสู่ฝั่งอ่าวไทย ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎาร์ธานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ มีรายจ่ายโดยเฉลี่ยวันละ 6,000 บาทต่อคน
โดยเรือสำราญที่เดินเรือมาไทยปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 10 ลำ แต่ละลำเดินเรือเข้ามาหลายรอบและใช้ระยะเวลาต่อเที่ยวอยู่ในประเทศไทยประมาณ 3-4 วัน โดยรวมแล้วประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวเดินเรือสำราญประมาณ 2.2 พันล้านบาทต่อปี คิดเป็นรายได้ที่สูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังขาดความพร้อมในการพัฒนาไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของธุรกิจเดินเรือสำราญ ทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน
ด้วยเหตุนี้ กรมเจ้าท่าจึงเห็นว่าหากมีการพัฒนาท่าเทียบเรือ รองรับเรือสำราญอย่างเต็มรูปแบบ โดยพิจารณาแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เช่น จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จะเป็นการเสริมศักยภาพการท่องเที่ยวของประเทศ เรือสำราญจะจอดพักยาวนานขึ้น เพื่อตรวจสภาพเรือ และอื่นๆ ส่งผลให้นักท่องเที่ยวอยู่ในประเทศไทยนานขึ้น ทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ของชำร่วยของฝาก ของอุปโภคและบริโภคบนเรือสำราญ ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“สำหรับการเลือก ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่ และเกาะสมุย อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นการนำเสนอข้อมูลโครงการเบื้องต้น ซึ่งประกอบด้วย ความเป็นมาและเหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ ลักษณะของโครงการ ขอบเขตการศึกษาโครงการ พื้นที่ทางเลือกและเกณฑ์การคัดเลือกที่ตั้งท่าเรือสำราญ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อแนวทางพัฒนาโครงการ เพื่อให้การศึกษาโครงการมีความสอดคล้องต่อความต้องการของท้องถิ่น และการพัฒนาโครงการสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อท้องถิ่น และประเทศ คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างนับพันล้านบาท”
นายเอกวิทย์ ภิญโญธรรมโนทัย อดีตนายกสมาคมโรงแรมจังหวัดกระบี่ กล่าวในฐานะผู้เข้าร่วมเสนอความคิดเห็นของโครงการ ว่า ถึงเวลาแล้วที่จังหวัดกระบี่ มีท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ และของประเทศ ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะจะสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปยังจังหวัดต่างๆ ในฝั่งอันดามัน และประเทศเพื่อนบ้านได้อีกหลายประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่ เชื่อว่าจะทำให้เม็ดเงินมหาศาลไหลเข้าจังหวัด และทั้งภาคอันดามัน และด้วยศักยภาพพื้นที่ ของ ต.หนองทะเล เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีโรงแรมระดับ 3-5 ดาวอยู่ จำนวนหลายโรง และพื้นที่ใกล้กันก็เป็น ต.อ่าวนาง ล้วนแต่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เชื่อว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างมาก สามารถสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ได้