ระนอง - ประมงอวนลากระนองกว่า 150 คน รุกยื่นหนังสือผู้ว่าราชการจังหวัด ร้องขอความเป็นธรรมให้รัฐทบทวนมาตรการบังคับใช้กฎหมายเข้ม ทำเรือประมงกว่า 200 ลำ ไม่สามารถออกจับปลาได้
วันนี้ (6 ก.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดระนอง นายสุรินทร์ โลสง อดีตนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง พร้อมกลุ่มเรือประมงพาณิชย์อวนลากในพื้นที่จังหวัดระนอง ประมาณ 150 คน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU Fishing) เพราะทำให้เรืออวนลากเหล่านี้ในพื้นที่ระนอง ประมาณ 221 ลำ ไม่สามารถออกไปทำประมงได้ ทำให้ชาวประมง และครอบครัวได้รับความเดือดร้อน ขาดรายได้ ต่อ นายสุริยันต์ กาญจนศิลป ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
เพื่อให้ทางรัฐบาลช่วยพิจารณาผ่อนผัน หรือบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประกอบการเรือประมงอวนลาก และให้มีการพิจารณาทบทวนการบังคับใช้กฎหมายตามคำสั่ง คสช. ที่ 10/58 มีการเขียนข้อความเรียกร้อง ความสำคัญ สะท้อนผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดย นายสุริยันต์ กาญจนศิลป ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง รับหนังสือ ก่อนส่งมอบให้ นายธวัชชัย ญาณสมบัติ ประมงจังหวัดระนอง นำข้อเรียกร้องดังกล่าวไปพิจารณาว่าสามารถดำเนินการช่วยเหลือได้หรือไม่อย่างไรบ้างตามขั้นตอนต่อไป จากนั้นทางกลุ่มผู้ประกอบการประมงพาณิชย์อวนลากดังกล่าวจึงได้ออกจากห้องประชุม และแยกย้ายเดินทางกลับ
นายสุรินทร์ โลสง อดีตนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง กล่าวว่า เรือประมงพาณิชย์อวนลากดังกล่าวได้มารวมกันวันนี้เพื่อเรียกร้องให้ทางรัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไข หรือผ่อนผันปัญหาดังนี้ 1.เรียกร้องให้รัฐดำเนินการเรือที่ผิดกฎหมายตามประกาศของกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี 39 ปี 42 ให้สามารถดำเนินการออกอาชญาบัตรได้ 2.แรงงานต่างด้าวให้มีการดำเนินการลงทะเบียนได้ตลอดทั้งปี จากเดิมที่ภาครัฐได้ดำเนินการเปิดลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวปีละ 2 ครั้ง
3.ให้มีการทบทวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตามมติประชุม ศปมผ. ครั้งที่ 8/2558 ได้กำหนดคณะทำงาน และกำหนดเรื่องการตรวจเรือประมง 15 ข้อ นั้น ทำให้ชาวประมงบางส่วนไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ส่งผลให้เรือประมงบางประเภทกลายเป็นเรือผิดกฎหมายทันที และไม่สามารถออกทะเลทำการประมงได้ ทำให้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการต่อเนื่องหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ประกอบการโรงน้ำแข็ง โรงงานปลาป่น กิจการแพปลา แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาให้ความช่วยเหลือ และหาแนวทางแก้ไขที่ยุติธรรมให้แก่ผู้ประกอบการเรือประมง ที่สำคัญไต๋เรือ และลูกเรือ รวมไปถึงครอบครัวได้รับความเดือดร้อนต้องตกงาน ขาดอาชีพ ลูกเมียเดือดร้อน จึงออกมาร้องขอความเป็นธรรมกันในวันนี้
วันนี้ (6 ก.ค.) ที่ศาลากลางจังหวัดระนอง นายสุรินทร์ โลสง อดีตนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดระนอง พร้อมกลุ่มเรือประมงพาณิชย์อวนลากในพื้นที่จังหวัดระนอง ประมาณ 150 คน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนการบังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU Fishing) เพราะทำให้เรืออวนลากเหล่านี้ในพื้นที่ระนอง ประมาณ 221 ลำ ไม่สามารถออกไปทำประมงได้ ทำให้ชาวประมง และครอบครัวได้รับความเดือดร้อน ขาดรายได้ ต่อ นายสุริยันต์ กาญจนศิลป ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
เพื่อให้ทางรัฐบาลช่วยพิจารณาผ่อนผัน หรือบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประกอบการเรือประมงอวนลาก และให้มีการพิจารณาทบทวนการบังคับใช้กฎหมายตามคำสั่ง คสช. ที่ 10/58 มีการเขียนข้อความเรียกร้อง ความสำคัญ สะท้อนผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดย นายสุริยันต์ กาญจนศิลป ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง รับหนังสือ ก่อนส่งมอบให้ นายธวัชชัย ญาณสมบัติ ประมงจังหวัดระนอง นำข้อเรียกร้องดังกล่าวไปพิจารณาว่าสามารถดำเนินการช่วยเหลือได้หรือไม่อย่างไรบ้างตามขั้นตอนต่อไป จากนั้นทางกลุ่มผู้ประกอบการประมงพาณิชย์อวนลากดังกล่าวจึงได้ออกจากห้องประชุม และแยกย้ายเดินทางกลับ
นายสุรินทร์ โลสง อดีตนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง กล่าวว่า เรือประมงพาณิชย์อวนลากดังกล่าวได้มารวมกันวันนี้เพื่อเรียกร้องให้ทางรัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไข หรือผ่อนผันปัญหาดังนี้ 1.เรียกร้องให้รัฐดำเนินการเรือที่ผิดกฎหมายตามประกาศของกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี 39 ปี 42 ให้สามารถดำเนินการออกอาชญาบัตรได้ 2.แรงงานต่างด้าวให้มีการดำเนินการลงทะเบียนได้ตลอดทั้งปี จากเดิมที่ภาครัฐได้ดำเนินการเปิดลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวปีละ 2 ครั้ง
3.ให้มีการทบทวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตามมติประชุม ศปมผ. ครั้งที่ 8/2558 ได้กำหนดคณะทำงาน และกำหนดเรื่องการตรวจเรือประมง 15 ข้อ นั้น ทำให้ชาวประมงบางส่วนไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ส่งผลให้เรือประมงบางประเภทกลายเป็นเรือผิดกฎหมายทันที และไม่สามารถออกทะเลทำการประมงได้ ทำให้มีผลกระทบต่อผู้ประกอบการต่อเนื่องหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ประกอบการโรงน้ำแข็ง โรงงานปลาป่น กิจการแพปลา แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดออกมาให้ความช่วยเหลือ และหาแนวทางแก้ไขที่ยุติธรรมให้แก่ผู้ประกอบการเรือประมง ที่สำคัญไต๋เรือ และลูกเรือ รวมไปถึงครอบครัวได้รับความเดือดร้อนต้องตกงาน ขาดอาชีพ ลูกเมียเดือดร้อน จึงออกมาร้องขอความเป็นธรรมกันในวันนี้