ศูนย์ข่าวภูเก็ต - DSI ลงพื้นที่ลุยสอบการออกเอกสารสิทธิทับที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ป่าลายัน รวมทั้งพื้นที่สาธารณะตลอดแนวชายหาดลายัน-อ่าวเลพัง ต.เชิงทะเล ระยะทาง 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 200 ไร่ เตรียมส่งหลักฐานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตตรวจสอบการยึดถือครอบครองที่ดิน ระบุปัญหาที่ดินในเขตอุทยานรับเป็นคดีพิเศษแล้ว 4 คดี
วันนี้ (26 มิ.ย.) พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกรณีการบุกรุกที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กับนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายจิรศักดิ์ ชูความดี ผู้อำนวยการสำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และคณะ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
ซึ่งหลังจากประชุมรับฟังการบรรยายสรุป รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมคณะได้เดินทางเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุที่ได้รับไว้เป็นคดีพิเศษแล้ว บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าลายัน หมู่ที่ 4 ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งทางกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตรวจการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์แนวชายหาดอ่าวเลพัง และหาดลายัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งมีทั้งที่ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ และอยู่ระหว่างการออกโฉนดที่ดินอีกหลายแปลง จากการตรวจสอบพบมีการก่อสร้างกำแพงปิดกั้นที่สาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มูลค่าไร่ละ 70 ล้านบาท รวมมูลค่าที่รัฐได้รับความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท
พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ข้อมูลถึงการเข้าตรวจสอบในครั้งนี้ ว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการคดีพิเศษได้มีมติให้รับกรณีการบุกรุกที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถเป็นคดีพิเศษ ตามคำร้องขอของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จากการตรวจสอบที่ดินบริเวณที่เป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ป่าลายัน พบว่า มีการออกโฉนดที่ดินทับที่ตั้งหน่วยราชการดังกล่าว มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ จึงได้รับกรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ จากการอ่านแปลวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ในอดีตที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทะเล
แต่ต่อมาได้เกิดการทับถมของตะกอนทะเลจนเกิดเป็นแผ่นดินขึ้นมา ภายหลังได้มีผู้อ้าง ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่น ซึ่งระบุว่าเป็นที่สวนมาอ้างออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ส.ค.1 บิน) ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงในอดีตที่พบว่า เป็นทะเลไม่มีพื้นที่สวนแต่อย่างใด และจากการตรวจสอบพบว่า ตลอดแนวเขตชายทะเลหาดลายัน และชายหาดอ่าวเลพัง ต่อจากที่ดินแปลงดังกล่าวทางด้านทิศใต้เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร พบว่า มีตะกอนทะเลทับถมเป็นแผ่นดินขึ้นมาเช่นกันมีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ และมีผู้นำเอา ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอ้างว่าเป็นสวนมะพร้าวมาอ้างออกโฉนดโดยมิชอบเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างกำแพงปิดกั้นตลอดแนวถนนสาธารณะ แสดงการยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยมีการปักป้ายระบุเป็นที่ดินส่วนบุคคล ทั้งที่เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินบริเวณนี้ในอดีตมีถนนสาธารณะเลียบชายทะเลเป็นตัวกั้นระหว่างที่ดินเอกชน และที่ชายหาดสาธารณะ เมื่อที่ดินงอกมาจากชายทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่สาธารณะ มิใช่งอกมาจากที่ดินของเอกชนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม กรมสอบสวนคดีพิเศษจะประสานความร่วมมือไปยังจังหวัดภูเก็ต เพื่อส่งพยานหลักฐานดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบการยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยมิชอบเพื่อคืนที่ชายหาดสาธารณะให้เป็นสมบัติของคนภูเก็ตต่อไป
ส่วนผู้ที่ได้กระทำผิดเข้ายึดถือครอบครองที่ดินในบริเวณนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจะพิจารณาเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษให้รับเรื่องดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ และจะใช้มาตรการทางกฎหมายฟอกเงินมาบังคับใช้อย่างเด็ดขาดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ครอบครองที่ดินของรัฐที่ได้กระทำผิดตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมต่อไป
“กรณีของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องในขณะนี้มีนโยบายเรื่องการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติของรัฐบาล ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องการยึดถือครอบครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมีชอบจะดำเนินการอย่างจริงจัง มีการประสานข้อมูลกันทุกส่วน และการดำเนินการอีกระดับคือ เรื่องของการตั้งคณะทำงานบูรณาการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐระหว่างกระทรวงยุติธรรม กับกระทรวงทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นการร่วมกันทำงานอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยเสริมเรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งเรื่องป่าสงวน อุทยาน และที่สาธารณประโยชน์” พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ กล่าว
ด้าน พ.ต.ท.ประวุธ ได้กล่าวถึงคดีทั้งหมดที่อยู่ระหว่างตรวจสอบของกรมอุทยานฯ ที่แจ้งไปทาง DSI มีทั้งหมด 6 คดี ในจำนวนนี้รับเป็นคดีพิเศษแล้ว 4 คดี ส่วนอีก 2 คดี ให้ทางกรมอุทยานฯ ไปตรวจสอบ และร้องทุกข์มาเพื่อนำเข้าสู่ขบวนการตรวจสอบของทาง DSI ต่อไป นอกจากนี้ ให้ทางกรมอุทยานฯ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเน้นย้ำให้ดูเรื่องการเปลี่ยนมือ หากมีหลักฐานครบกรณีรายที่มีความผิดชัดเจนให้รวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความดำเนินคดี ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความผิดเกี่ยวกับเรื่องที่ดินตามประกาศกระทรวงที่ 43 ของมหาดไทย มี 2 ส่วนคือเจ้าหน้าที่อุทยานฯ กับเจ้าหน้าที่ที่ดิน ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องต่อการกระทำความผิดจะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
วันนี้ (26 มิ.ย.) พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ พร้อมด้วย พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผู้บัญชาการสำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกรณีการบุกรุกที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กับนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายจิรศักดิ์ ชูความดี ผู้อำนวยการสำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และคณะ ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติสิรินาถ
ซึ่งหลังจากประชุมรับฟังการบรรยายสรุป รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมคณะได้เดินทางเข้าตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุที่ได้รับไว้เป็นคดีพิเศษแล้ว บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าลายัน หมู่ที่ 4 ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งทางกรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตรวจการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์แนวชายหาดอ่าวเลพัง และหาดลายัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งมีทั้งที่ออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ และอยู่ระหว่างการออกโฉนดที่ดินอีกหลายแปลง จากการตรวจสอบพบมีการก่อสร้างกำแพงปิดกั้นที่สาธารณประโยชน์ เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ มูลค่าไร่ละ 70 ล้านบาท รวมมูลค่าที่รัฐได้รับความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท
พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ อินทรขาว รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ข้อมูลถึงการเข้าตรวจสอบในครั้งนี้ ว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการคดีพิเศษได้มีมติให้รับกรณีการบุกรุกที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถเป็นคดีพิเศษ ตามคำร้องขอของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จากการตรวจสอบที่ดินบริเวณที่เป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ป่าลายัน พบว่า มีการออกโฉนดที่ดินทับที่ตั้งหน่วยราชการดังกล่าว มีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ จึงได้รับกรณีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ จากการอ่านแปลวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศพบว่า ในอดีตที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นทะเล
แต่ต่อมาได้เกิดการทับถมของตะกอนทะเลจนเกิดเป็นแผ่นดินขึ้นมา ภายหลังได้มีผู้อ้าง ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่น ซึ่งระบุว่าเป็นที่สวนมาอ้างออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ส.ค.1 บิน) ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงในอดีตที่พบว่า เป็นทะเลไม่มีพื้นที่สวนแต่อย่างใด และจากการตรวจสอบพบว่า ตลอดแนวเขตชายทะเลหาดลายัน และชายหาดอ่าวเลพัง ต่อจากที่ดินแปลงดังกล่าวทางด้านทิศใต้เป็นระยะทาง 2 กิโลเมตร พบว่า มีตะกอนทะเลทับถมเป็นแผ่นดินขึ้นมาเช่นกันมีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ และมีผู้นำเอา ส.ค.1 ของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอ้างว่าเป็นสวนมะพร้าวมาอ้างออกโฉนดโดยมิชอบเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างกำแพงปิดกั้นตลอดแนวถนนสาธารณะ แสดงการยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยมีการปักป้ายระบุเป็นที่ดินส่วนบุคคล ทั้งที่เป็นที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินบริเวณนี้ในอดีตมีถนนสาธารณะเลียบชายทะเลเป็นตัวกั้นระหว่างที่ดินเอกชน และที่ชายหาดสาธารณะ เมื่อที่ดินงอกมาจากชายทะเล ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่สาธารณะ มิใช่งอกมาจากที่ดินของเอกชนแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม กรมสอบสวนคดีพิเศษจะประสานความร่วมมือไปยังจังหวัดภูเก็ต เพื่อส่งพยานหลักฐานดังกล่าวให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อขอให้ทำการตรวจสอบการยึดถือครอบครองที่ดินบริเวณดังกล่าวโดยมิชอบเพื่อคืนที่ชายหาดสาธารณะให้เป็นสมบัติของคนภูเก็ตต่อไป
ส่วนผู้ที่ได้กระทำผิดเข้ายึดถือครอบครองที่ดินในบริเวณนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษจะพิจารณาเสนอคณะกรรมการคดีพิเศษให้รับเรื่องดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ และจะใช้มาตรการทางกฎหมายฟอกเงินมาบังคับใช้อย่างเด็ดขาดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ครอบครองที่ดินของรัฐที่ได้กระทำผิดตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมต่อไป
“กรณีของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องในขณะนี้มีนโยบายเรื่องการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติของรัฐบาล ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องเรื่องการยึดถือครอบครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมีชอบจะดำเนินการอย่างจริงจัง มีการประสานข้อมูลกันทุกส่วน และการดำเนินการอีกระดับคือ เรื่องของการตั้งคณะทำงานบูรณาการการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐระหว่างกระทรวงยุติธรรม กับกระทรวงทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นการร่วมกันทำงานอีกรูปแบบหนึ่งที่จะช่วยเสริมเรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งเรื่องป่าสงวน อุทยาน และที่สาธารณประโยชน์” พ.ต.ท.พงศ์อินทร์ กล่าว
ด้าน พ.ต.ท.ประวุธ ได้กล่าวถึงคดีทั้งหมดที่อยู่ระหว่างตรวจสอบของกรมอุทยานฯ ที่แจ้งไปทาง DSI มีทั้งหมด 6 คดี ในจำนวนนี้รับเป็นคดีพิเศษแล้ว 4 คดี ส่วนอีก 2 คดี ให้ทางกรมอุทยานฯ ไปตรวจสอบ และร้องทุกข์มาเพื่อนำเข้าสู่ขบวนการตรวจสอบของทาง DSI ต่อไป นอกจากนี้ ให้ทางกรมอุทยานฯ ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งเน้นย้ำให้ดูเรื่องการเปลี่ยนมือ หากมีหลักฐานครบกรณีรายที่มีความผิดชัดเจนให้รวบรวมพยานหลักฐานแจ้งความดำเนินคดี ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความผิดเกี่ยวกับเรื่องที่ดินตามประกาศกระทรวงที่ 43 ของมหาดไทย มี 2 ส่วนคือเจ้าหน้าที่อุทยานฯ กับเจ้าหน้าที่ที่ดิน ซึ่งในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องต่อการกระทำความผิดจะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายต่อไป