xs
xsm
sm
md
lg

ชาวบ้านในเขต อช.เขาปู่-เขาย่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด หวั่นไร้ที่อยู่อาศัย หาก จนท.ทวงคืนผืนป่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
พัทลุง - ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขต อช.เขาปู่-เขาย่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด เริ่มวิตกเรื่องที่อยู่ และที่ทำกิน กับยุทธการทวงคืนฝืนป่า หลัง จนท.ยังไม่มีข้อสรุปเขตพื้นที่ทั้งหมดอย่างชัดเจน

 
วันนี้ (12.มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และจังหวัดตรัง เริ่มหวั่นวิตกต่อยุทธการทวงคืนฝืนป่า หลังจากขณะนี้การสำรวจพื้นที่ในการปฏิบัติการทวงคืนฝืนป่า ทางเจ้าหน้าที่อุทยานยังไม่มีข้อสรุปว่า ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่บ้าน และอำเภออะไรบ้าง พื้นที่ป่ากันชน พื้นที่ทำกิน และพื้นที่ตัดโค่นที่แท้จริงมีจำนวนเท่าไหร่ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในป่าอุทยาน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จำนวน 27,000 ไร่ กำลังกังวลว่าผืนป่าที่พวกเขาทำกิน และสร้างที่อยู่อาศัยมานาน จะถูกตรวจยึดรื้อถอน

นายสมนึก พุฒนวล อายุ 60 ปี ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า กล่าวว่า ชาวบ้านทับเขือ ท้องที่ ม.1 ต.ช่อง อ.นาโยง จ.ตรัง และชาวบ้านปลักหมู ม.1 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง กว่า 80 ครอบครัว ที่สร้างบ้านเรือน และทำสวนยางพารา สวนไม้ผล กลางหุบเขาในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า มานานก่อนประกาศเขตอุทยาน โดยมีที่ทำกินเพียงราย 5-8 ไร่เท่านั้น ที่พอจะทำมาหากินสร้างรายได้ หากถูกตรวจยึดหรือตัดโค่น และไล่พวกเขาออกจากพื้นที่ป่าคงได้รับความเดือดร้อนอย่างแน่นอน จึงวอนอยากให้รัฐบาลใช้วิธีการอื่นโดยการสร้างคนให้อยู่กับป่าดีกว่าการไล่ออกจากพื้นที่ หากพื้นที่ป่าเป็นของกลุ่มนายทุนก็ควรตรวจยึด แต่หากเป็นของเกษตรกรรายย่อยน่าจะมีกฎหมายพิเศษออกมารองรับมากกว่านี้

 
ขณะการสำรวจของเจ้าหน้าที่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์ป่าเทือกเขาบรรทัด และอุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า จังหวัดพัทลุง จำนวน 27,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธการทวงคืนฝืนป่า ตามนโยบายของรัฐที่จะเอาพื้นที่สวนยางพารา สวนผลไม้ คืนจากชาวบ้านที่ทำการบุกรุกแผ้วถางไปก่อนหน้า เบื้องต้น จากการสำรวจพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่สำรวจได้มีเพียง 300 ไร่ และพื้นที่อุทยานสำรวจได้ 700 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางใหม่ 2-3 ปี ที่ได้ทำการตรวจยึด และเตรียมตัดโค่นทำลาย แต่เจ้าหน้าที่ก็กำลังเร่งสำรวจเพิ่มเติมเพื่อให้ครบ 27,000 ไร่
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น