ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ทัพเรือภาค 3 เปิดศูนย์ปฏิบัติการลาดตระเวนฯ ส่งเรือ 7 ลำ พร้อมอากาศยานอีก 4 ลำ กำลังพลกว่า 600 นาย ออกตรวจสอบชาวโรฮีนจา ในพื้นที่ทะเลอันดามัน หากพบผู้อพยพจะดำเนินการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามหลักสากล
วันนี้ (26 พ.ค.) ที่ท่าเรือน้ำลึกจังหวัดภูเก็ต พล.ร.ท.สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็นประธานเปิด “ศูนย์ปฏิบัติการลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ทัพเรือภาค 3” ซึ่งทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในพื้นที่ทะเลอันดามัน โดยมอบหมายให้ทางกองทัพไทยจัดตั้งศูนย์อำนวยการลาดตระเวน และช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมขึ้น โดยมีกองทัพเรือทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์การลาดตระเวนทั้งทางทะเล และทางอากาศในพื้นที่ความรับผิดชอบ
สำหรับทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น โดยมีการสนธิกำลังประกอบด้วย ในส่วนของหมวดเรือเฉพาะกิจลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียว มีเรือที่เข้าร่วม จำนวน 7 ลำ คือ เรือหลวงสายบุรี เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงทยานชล เรือหลวงมันกลาง เรือ ต.993 เรือ ต.220 และเรือ กร.304 ขณะที่ในส่วนของหมวดบินเฉพาะกิจลาดตระเวน ประกอบด้วย เครื่องบินลาดตระเวนตรวจการณ์แบบที่ 1 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่ 1 จำนวน 1 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 จำนวน 2 ลำ
สำหรับการปฏิบัตินั้นจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อปฏิบัติภารกิจในการค้นหาให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจาในพื้นที่รับผิดชอบด้านทะเลอันดามันจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากผู้บังคับบัญชา
พล.ร.ท.สายันต์ กล่าวว่า การสนธิกำลังในครั้งนี้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนกว่า 600 นาย ปฏิบัติหน้าที่ในเขตน่านน้ำ 24 ไมล์ทะเล ในพื้นที่ความรับผิดชอบด้านฝั่งอันดามันทั้งหมดตั้งแต่เขตรอยต่อฝั่งพม่า มาจนถึงเขตความรับผิดชอบของไทย ซึ่งหน้าที่ในการปฏิบัตินั้นจะเน้นในการตรวจสอบและช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ถ้าพบก็ให้ช่วยเหลือตามหลักสากล ซึ่งจากกรณีมีข่าวว่าคนเหล่านี้จะเดินทางผ่านเข้ามา 2,000-3,000 คนนั้น เท่าที่มีการตรวจสอบยังไม่พบ แต่ก็มีการลาดตระเวนทั้งทางทะเล และทางอากาศ จนถึงขณะนี้ยังไม่พบ
ซึ่งถ้ามีการตรวจพบก็ต้องมีการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม เพราะวัตถุประสงค์ของคนเหล่านี้ไม่ต้องการที่จะเข้ามายังประเทศไทย แต่ต้องการเดินทางไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวในประเทศที่ 3 แต่ถ้ามีคนเจ็บป่วยก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ และให้การดูแล ซึ่งในส่วนของศูนย์ฯ นั้นจะมีหมอคอยดูแลด้วย ขณะเรื่องของการสื่อสารนั้นยังไม่มีคนที่พูดภาษาโรฮีนจาโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหาล่ามมาร่วมทำงานเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่อพยพมาไม่ได้มีเฉพาะชาวโรฮีนจาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มของชาวบังกลาเทศด้วย
วันนี้ (26 พ.ค.) ที่ท่าเรือน้ำลึกจังหวัดภูเก็ต พล.ร.ท.สายันต์ ประสงค์สำเร็จ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 เป็นประธานเปิด “ศูนย์ปฏิบัติการลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ทัพเรือภาค 3” ซึ่งทัพเรือภาคที่ 3 จัดตั้งขึ้น ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในพื้นที่ทะเลอันดามัน โดยมอบหมายให้ทางกองทัพไทยจัดตั้งศูนย์อำนวยการลาดตระเวน และช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมขึ้น โดยมีกองทัพเรือทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์การลาดตระเวนทั้งทางทะเล และทางอากาศในพื้นที่ความรับผิดชอบ
สำหรับทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น โดยมีการสนธิกำลังประกอบด้วย ในส่วนของหมวดเรือเฉพาะกิจลาดตระเวนและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดียว มีเรือที่เข้าร่วม จำนวน 7 ลำ คือ เรือหลวงสายบุรี เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงทยานชล เรือหลวงมันกลาง เรือ ต.993 เรือ ต.220 และเรือ กร.304 ขณะที่ในส่วนของหมวดบินเฉพาะกิจลาดตระเวน ประกอบด้วย เครื่องบินลาดตระเวนตรวจการณ์แบบที่ 1 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่ 1 จำนวน 1 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่ 4 จำนวน 2 ลำ
สำหรับการปฏิบัตินั้นจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อปฏิบัติภารกิจในการค้นหาให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้อพยพชาวโรฮีนจาในพื้นที่รับผิดชอบด้านทะเลอันดามันจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากผู้บังคับบัญชา
พล.ร.ท.สายันต์ กล่าวว่า การสนธิกำลังในครั้งนี้ใช้กำลังเจ้าหน้าที่จำนวนกว่า 600 นาย ปฏิบัติหน้าที่ในเขตน่านน้ำ 24 ไมล์ทะเล ในพื้นที่ความรับผิดชอบด้านฝั่งอันดามันทั้งหมดตั้งแต่เขตรอยต่อฝั่งพม่า มาจนถึงเขตความรับผิดชอบของไทย ซึ่งหน้าที่ในการปฏิบัตินั้นจะเน้นในการตรวจสอบและช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม ถ้าพบก็ให้ช่วยเหลือตามหลักสากล ซึ่งจากกรณีมีข่าวว่าคนเหล่านี้จะเดินทางผ่านเข้ามา 2,000-3,000 คนนั้น เท่าที่มีการตรวจสอบยังไม่พบ แต่ก็มีการลาดตระเวนทั้งทางทะเล และทางอากาศ จนถึงขณะนี้ยังไม่พบ
ซึ่งถ้ามีการตรวจพบก็ต้องมีการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม เพราะวัตถุประสงค์ของคนเหล่านี้ไม่ต้องการที่จะเข้ามายังประเทศไทย แต่ต้องการเดินทางไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราวในประเทศที่ 3 แต่ถ้ามีคนเจ็บป่วยก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ และให้การดูแล ซึ่งในส่วนของศูนย์ฯ นั้นจะมีหมอคอยดูแลด้วย ขณะเรื่องของการสื่อสารนั้นยังไม่มีคนที่พูดภาษาโรฮีนจาโดยเฉพาะ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหาล่ามมาร่วมทำงานเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่อพยพมาไม่ได้มีเฉพาะชาวโรฮีนจาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มของชาวบังกลาเทศด้วย