กระบี่ - ผู้ว่ากระบี่ระบุจัดจัดการพื้นที่สวนปาล์มหมดสัมปทาน รอความชัดเจนจากกรมป่าไม้ พร้อมระบุระบุปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากความไม่ชัดเจน เตือนชาวบ้านอย่าหลงเชือแกนนำอาจจะต้องเสียเงินฟรี
หลังจากที่ ครม.ปี 2546 ได้มีมติไม่ต่ออนุญาตให้พื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน พร้อมกับให้นำพื้นที่ดังกล่าวมาจัดสรรให้กับคนที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน เมื่อต้นปี 55 ได้มีชาวบ้านจากหลายจังหวัดรวมทั้งในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้รวมตัวกันเข้ายึดสวนปาล์มน้ำมันที่หมดสัมปทานในพื้นที่ เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตามมติครม. จนกลายเป็นปัญหายืดเยื้อจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับพื้นที่บางสวนนายทุนยึดครองและทำประโยชน์ทั้งๆที่หมดอายุสัมปทานไปแล้วกว่า 10 ปี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องนโยบายจากส่วนกลางที่ ไม่มีความชัดเขน เรื่องของการต่ออนุญาตอีกหรือไม่ เมื่อทางเจ้าของพื้นที่ไม่มีความจัดเจนแล้วจะให้จังหวัดจัดการอย่างไรกับพื้นที่ที่หมดสัมปทานไปแล้ว ซึ่งพื้นที่บางแปลงหมดสัมปทานมานานเป็น 10 ปี ซึ่งจังหวัดไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ในส่วนนี้เองที่ทำให้จังหวัดไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ก็ยังเกี่ยวกับข้อกฎหมายและนโยบายของ กรมป่าไม้ ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาไปยังกรมป่าไม้หลายครั้งแล้วก็ยังไม่รับคำตอบ
“หากว่าทางกรมป่าไม้มีแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนออกมาในเรื่องของการดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่หมดสัมปทาน เชื่อว่าปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้น และยืดเยื้อมาจนถึงขณะนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาและดำเนินการในพื้นที่ป่าหมดสัมปทานทางจังหวัดกระบี่พร้อมที่จะปฎิบัติ ขอเพียงความชัดเจนเท่านั้น และขอแจ้งไปยังชาวบ้านอย่าได้หลงเชื่อแกนนำว่าจะสามารถจัดสรรที่ดินทำกินให้ได้ ซึ่งอาจะทำให้เสียเงินฟรี เพราะการจัดสรรที่ดินจะต้องมาจากหน่วยงานของรัฐเท่านั้น อย่าได้หลงเชื่ออย่างเด็ดขาด และขณะนี้เองทางกรมป่าไม้ก็ยังไม่มีนโยบาย
นายบุญสืบ สมัครราช ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขากระบี่ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มม็อบที่เข้าไปยึดสวนปาล์มหมดสัมปทานที่อยู่ในเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของกรมป่าไม้ มีอยู่ เพียง 1 แห่ง ได้แก่สวนปาล์มของบริษัทเจียรวานิช ในพื้นที่อำเภอปลายพระยา เพื่อเรียกร้องให้ทางบริษัทฯออกจากพื้นที่ และให้รัฐนำที่ดินมาจัดสรรให้กับคนไม่มีที่ดินทำกิน หลังจากที่ทางบริษัทขาดอายุสัมปทาน และยังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อยู่ รวมเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่
โดยในเบื้องต้นทางสำนักป่าไม้ที่ 12 ได้เข้าไปดูแลควบพื้นที่ โดยการรวบรวมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บุกรุกเท่านั้น ส่วนการใช้กำลังผลักดันให้ออกจากพื้นที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากติดกับคำสั่งของ คสช.สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เนื่องจากนโยบายของรัฐไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่เกิดขึ้น และมีท่าทีว่าจะมีจำนวนชาวบ้านเข้ามาสมทบภายในสวนปาล์มเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภายในสวนปาล์มของบริษัทเจียรวานิช พบว่า มีอยู่ด้วยกัน ถึง 4 กลุ่ม มีสมาชิก ประมาณ 200 - 300 คน
หลังจากที่ ครม.ปี 2546 ได้มีมติไม่ต่ออนุญาตให้พื้นที่ที่ได้รับสัมปทาน พร้อมกับให้นำพื้นที่ดังกล่าวมาจัดสรรให้กับคนที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกิน เมื่อต้นปี 55 ได้มีชาวบ้านจากหลายจังหวัดรวมทั้งในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ได้รวมตัวกันเข้ายึดสวนปาล์มน้ำมันที่หมดสัมปทานในพื้นที่ เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตามมติครม. จนกลายเป็นปัญหายืดเยื้อจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับพื้นที่บางสวนนายทุนยึดครองและทำประโยชน์ทั้งๆที่หมดอายุสัมปทานไปแล้วกว่า 10 ปี
เกี่ยวกับเรื่องนี้ทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า สำหรับประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องนโยบายจากส่วนกลางที่ ไม่มีความชัดเขน เรื่องของการต่ออนุญาตอีกหรือไม่ เมื่อทางเจ้าของพื้นที่ไม่มีความจัดเจนแล้วจะให้จังหวัดจัดการอย่างไรกับพื้นที่ที่หมดสัมปทานไปแล้ว ซึ่งพื้นที่บางแปลงหมดสัมปทานมานานเป็น 10 ปี ซึ่งจังหวัดไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ในส่วนนี้เองที่ทำให้จังหวัดไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ และนอกจากนี้ก็ยังเกี่ยวกับข้อกฎหมายและนโยบายของ กรมป่าไม้ ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดกระบี่ได้นำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาไปยังกรมป่าไม้หลายครั้งแล้วก็ยังไม่รับคำตอบ
“หากว่าทางกรมป่าไม้มีแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนออกมาในเรื่องของการดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่หมดสัมปทาน เชื่อว่าปัญหาก็คงไม่เกิดขึ้น และยืดเยื้อมาจนถึงขณะนี้ สำหรับการแก้ไขปัญหาและดำเนินการในพื้นที่ป่าหมดสัมปทานทางจังหวัดกระบี่พร้อมที่จะปฎิบัติ ขอเพียงความชัดเจนเท่านั้น และขอแจ้งไปยังชาวบ้านอย่าได้หลงเชื่อแกนนำว่าจะสามารถจัดสรรที่ดินทำกินให้ได้ ซึ่งอาจะทำให้เสียเงินฟรี เพราะการจัดสรรที่ดินจะต้องมาจากหน่วยงานของรัฐเท่านั้น อย่าได้หลงเชื่ออย่างเด็ดขาด และขณะนี้เองทางกรมป่าไม้ก็ยังไม่มีนโยบาย
นายบุญสืบ สมัครราช ผู้อำนวยการสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขากระบี่ กล่าวว่า สำหรับกลุ่มม็อบที่เข้าไปยึดสวนปาล์มหมดสัมปทานที่อยู่ในเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบของกรมป่าไม้ มีอยู่ เพียง 1 แห่ง ได้แก่สวนปาล์มของบริษัทเจียรวานิช ในพื้นที่อำเภอปลายพระยา เพื่อเรียกร้องให้ทางบริษัทฯออกจากพื้นที่ และให้รัฐนำที่ดินมาจัดสรรให้กับคนไม่มีที่ดินทำกิน หลังจากที่ทางบริษัทขาดอายุสัมปทาน และยังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อยู่ รวมเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่
โดยในเบื้องต้นทางสำนักป่าไม้ที่ 12 ได้เข้าไปดูแลควบพื้นที่ โดยการรวบรวมหลักฐานแจ้งความดำเนินคดีกับผู้บุกรุกเท่านั้น ส่วนการใช้กำลังผลักดันให้ออกจากพื้นที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากติดกับคำสั่งของ คสช.สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เนื่องจากนโยบายของรัฐไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่เกิดขึ้น และมีท่าทีว่าจะมีจำนวนชาวบ้านเข้ามาสมทบภายในสวนปาล์มเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภายในสวนปาล์มของบริษัทเจียรวานิช พบว่า มีอยู่ด้วยกัน ถึง 4 กลุ่ม มีสมาชิก ประมาณ 200 - 300 คน