xs
xsm
sm
md
lg

แห่งแรกของโลก Train For Sea @ Trang ไดรฟ์ไซต์ดำน้ำ (ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


 
เปิดโลกใหม่ใต้ทะเลกับ Train For Sea@Trang ปะการังเทียมโบกี้รถไฟ จุดดำน้ำใหม่ของจังหวัดตรัง หนึ่งเดียวในโลกสถานีรถไฟใต้น้ำ
   


 
ถ้าพูดถึงจังหวัดตรัง ก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีสถานี่ท่องเทียวทางทะเล เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าจังหวัดท่องเที่ยวในระดับเดียวกัน โดยเฉพาะจุดดำน้ำดูปะการัง หรือจุดดำน้ำลึก ไม่ว่าจะเป็นเกาะหมาก เกาะมุก เกาะไหง และอีกหลายเกาะที่อยู่ใกล้เคียงกัน จังหวัดตรัง จึงร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตวป่าและพันธุ์พืช ริเริ่มโครงการ “สถานีรถไฟเพื่อทะเลตรัง Train For Sea@Trang การจัดทำและวางปะการังเทียม วางตู้รถไฟ” ลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว

โสภณ ทองดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า กรมมีหน้าที่บริหารจัดการทะเล และชายฝั่ง ตระหนักถึงผลกระทบทรัพยากรทางทะเลจากการท่องเที่ยว หรือการทำประมงที่มีผล โดยจัดงบประมาณทำประการังเทียม เพื่อดึงนักท่องเทียวออกจากแนงประการังธรรมชาติ โดยปีนี้ได้จัดทำโครงการวางแนวปะการังเทียม โดยใช้ตู้รถไฟ จำนวน 20 ตู้ พร้อมหัวรถจักร โดยคาดว่าในเขตภาคใต้ จะมีอีกหลายๆ ที่จะนำเรือรบ รถถัง ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือหมดสภาพปลดระวางนำมาเป็นแนวปะการังเทียม

ไพทูล แพนชัยภูมิ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวถึงโครงการ “สถานีรถไฟเพื่อทะเลตรัง Train For Sea@Trang การจัดทำและวางปะการังเทียม วางตู้รถไฟ” ต้องใช้ตู้รถไฟเพราะเป็นความต้องการของประชาชน และพี่น้องผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดตรัง จัดทำเป็นแนวปะการะรังเทียมสถานีรถไฟใต้ทะเล เป็นครั้งแรกที่นำตู้รถไฟไปวางเป็นแนวปะการังเทียม เพื่อเป็นจุดสนใจของนักดำน้ำทั่วโลกว่า สถานีรถไฟใต้น้ำเป็นอย่างไร โดยเฉพาะตู้รถไฟเป็นวัสดุที่เหมาะสมที่สัตว์น้ำเข้าไปอยู่อาศัย ตามหลักการวางแนวปะการังเทียมโดยใช้วัสดุที่ไม่ใช้แล้วนำสร้างมาคุณค่าต่อไป

ประจวบ โมฆรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 กล่าวถึงที่มาของโครงการ “สถานีรถไฟเพื่อทะเลตรัง Train For Sea@Trang การจัดทำและวางปะการังเทียม วางตู้รถไฟ” เป็นการรวมตัวของนักดำน้ำอาสาสมัครของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะจังหวัดตรัง โดยอดีตรองผู้ว่าจังหวัดตรังท่าน สาธรวิศิษฏ์ นราวิสุทธิ์ ริเริ่มที่จะทำแนวปะการังเทียมโดย จัดหาขบวนรถไฟเพื่อทำเป็นสถานีรถไฟใต้ทะเล และเป็นจุดดำน้ำแห่งใหม่อีกหนึ่งแห่ง โดยทางกรมจัดหางบประมาณ และเทคนิคต่างๆ ในการจัดทำ และเริ่มสำรวจพื้นที่บริเวณเกาะแหวน เป็นพื้นที่เหมาะสมที่จะทำแนวปะการังเทียม

 
อวิรุทย์ ตันวิมลรัตน์ รองประธานชมรมนักดำน้ำ Latrang Diving กล่าววว่า มุมมองของนักดำน้ำเป็นผลดีส่วนหนึ่งในการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โบกี้รถไฟพอลงไปใต้ทะเลจะใช้เวลาอยู่พักหนึ่ง สัตว์น้ำก็จะเริ่มเข้ามาอาศัยเป็นที่อยู่ให้ฝูงปลา พอปลาเล็กเข้ามา ปลาใหญ่ก็จะตามเข้ามา ไม่เพียงด้านอนุรักษ์ธรรมชาติเท่านั้น ด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่เข้ามาดำน้ำก็จะจับจ่ายใช่สอย ก็จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดอีกหลายๆ ด้าน จากการที่ทีมชมรมดำน้ำ Latrang Diving เข้าร่วมสังเกตุการณ์ “สถานีรถไฟเพื่อทะเลตรัง Train For Sea@Trang การจัดทำและวางปะการังเทียมตู้รถไฟ” นั้น โดยดำน้ำเข้าไปบันทึกภาพขณะนำตู้และหัวจักรรถไฟวางตามแนว โดยลักษณะ Dive side จะเป็นลักษณะการวางโบกี้รถไฟ 3 ขบวน โดยตรงกลางของแต่ละโบกี้จะมีช่องเจาะไว้สำหรับการดำน้ำลอดโบกี้ แต่ละโบกี้ถึงกันหมด เป็นการสร้างความสนุกสนานอีกรูปแบบหนึ่งของนักดำน้ำ ทั้งนี้ พิกกัดตู้โบกี้รถไฟจะอยู่ห่างจากเกาะแหวน ด้านทิศตะวันตก ประมาณ 300 เมตร โดยจะมีทุ่นเป็นจุดสังเกต
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น