กระบี่ - CCOP ลงนามรับประเทศพม่า เข้าเป็นประเทศสมาชิก ประเทศที่ 14 ขณะที่การประชุมคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ผอ.สนง.CCOP เชื่อสึนามิเกิดอีกแน่
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (24 มี.ค.) Dr.Eikichi Tsukuda ประธานคณะกรรมการบริหาร CCOP (Coordinating Committee For Geoscience Programmes in East and Southeast Asian) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหาร CCOP ครั้งที่ 64 เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินโครงการ รวมทั้งอนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมทำพิธีลงนามรับประเทศพม่า เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 14 โดยมี นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะผู้แทนถาวรประเทศไทย ประจำ CCOP ดร.อดิชาติ สุรินทร์คำ ผอ.สำนักงาน CCOP เข้าร่วม ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมโรงแรมกระบี่ รีสอร์ท ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่
นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะผู้แทนถาวรประเทศไทย ประจำ CCOP เปิดเผยว่า CCOP หรือคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย มีสมาชิก จำนวน 14 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ลาว มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ติมอร์เลสเต เวียดนาม และประเทศพม่า ซึ่งเป็นประเทศน้องใหม่ที่ได้เพิ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมฯ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมที่ผ่านมา และมีประเทศที่ให้ความร่วมมืออีก 14 ประเทศ กับอีก 4 องค์กร โดยมีเรื่องหลักๆ ที่ทำการสำรวจ ได้แก่ เรื่องแร่ ปิโตรเลียม ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหา
ขณะที่ ดร.อดิชาติ สุรินทร์คำ ผอ.สำนักงาน CCOP กล่าวด้วยว่า เมื่อ 48 ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ได้หาแนวคิดร่วมมือกันสำรวจและพัฒนาทรัพยากรธรณี จึงได้ตกลงกันระหว่างผู้แทน เนื่องจากมีเขตแดนติดกัน แทนที่จะให้ประเทศใดประเทศหนึ่งศึกษา และทำการพัฒนา ก็หันมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ไม่ต้องไปศึกษาทุกเรื่อง ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเรื่องหลักๆ ที่ทำได้แก่ เรื่องแร่ น้ำมัน โลกร้อน การดูแลชายฝั่ง เป็นต้น และปัจจุบันได้มีความก้าวหน้าไปถึงเรื่องแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีวิทยา ซึ่งจังหวัดกระบี่ ก็มีแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา เช่น น้ำตกร้อน อ.คลองท่อม ที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทั่วไปได้
สำหรับผลสัมฤทธิ์ของพัฒนาในแต่ละเรื่อง ประเทศสมาชิกก็สามารถเอาไปต่อยอดได้ โดยไม่ต้องมาเริ่มสำรวจตั้งแต่ต้น เช่น แหล่งเรียนรู้ ซึ่งประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม ได้มีการพัฒนาไปสู่ระดับโลก ซึ่งประเทศสมาชิกก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่สามารถต่อยอดจากประเทศที่ได้มีการสำรวจไปแล้วได้ ซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณได้ สำหรับประเทศไทย มีเรื่องการรับมือแก้ไขปัญหาดินถล่มในพื้นที่ อ.เขาพนม เมื่อ 3-4 ที่ผ่านมา ที่ถือว่ารับมือ และแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเทศสมาชิกก็สมารถเข้ามาเรียนรู้ได้
นอกจากนี้ ดร.อภิชาติ ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับเรื่องของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในฝั่งอันดามัน เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน แต่จะเป็นเมื่อไรนั้นก็ไม่สามารถบอกได้ เพราะเมื่อ 1,400 ปี ที่ผ่านมา เคยมีหลักฐานการเกิด แต่เชื่อว่าด้วยประสบการณ์ ศักยภาพ และการวางแผนรับมือภัยพิบัติต่างๆ ที่มีค่อนข้างพร้อมในพื้นที่จะสามารถช่วยลดความสูญเสียได้อย่างแน่นอน
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (24 มี.ค.) Dr.Eikichi Tsukuda ประธานคณะกรรมการบริหาร CCOP (Coordinating Committee For Geoscience Programmes in East and Southeast Asian) เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการบริหาร CCOP ครั้งที่ 64 เพื่อกำหนดนโยบายการดำเนินโครงการ รวมทั้งอนุมัติแผนปฏิบัติการประจำปี พร้อมทำพิธีลงนามรับประเทศพม่า เข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 14 โดยมี นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะผู้แทนถาวรประเทศไทย ประจำ CCOP ดร.อดิชาติ สุรินทร์คำ ผอ.สำนักงาน CCOP เข้าร่วม ซึ่งการประชุมครั้งนี้จัดขึ้น ณ ห้องประชุมโรงแรมกระบี่ รีสอร์ท ต.อ่าวนาง อ.เมือง จ.กระบี่
นายสุพจน์ เจิมสวัสดิพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ในฐานะผู้แทนถาวรประเทศไทย ประจำ CCOP เปิดเผยว่า CCOP หรือคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานตั้งอยู่ในประเทศไทย มีสมาชิก จำนวน 14 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ลาว มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ติมอร์เลสเต เวียดนาม และประเทศพม่า ซึ่งเป็นประเทศน้องใหม่ที่ได้เพิ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมฯ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมที่ผ่านมา และมีประเทศที่ให้ความร่วมมืออีก 14 ประเทศ กับอีก 4 องค์กร โดยมีเรื่องหลักๆ ที่ทำการสำรวจ ได้แก่ เรื่องแร่ ปิโตรเลียม ธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อม และการแก้ปัญหา
ขณะที่ ดร.อดิชาติ สุรินทร์คำ ผอ.สำนักงาน CCOP กล่าวด้วยว่า เมื่อ 48 ปีที่ผ่านมา มีประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ได้หาแนวคิดร่วมมือกันสำรวจและพัฒนาทรัพยากรธรณี จึงได้ตกลงกันระหว่างผู้แทน เนื่องจากมีเขตแดนติดกัน แทนที่จะให้ประเทศใดประเทศหนึ่งศึกษา และทำการพัฒนา ก็หันมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ไม่ต้องไปศึกษาทุกเรื่อง ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเรื่องหลักๆ ที่ทำได้แก่ เรื่องแร่ น้ำมัน โลกร้อน การดูแลชายฝั่ง เป็นต้น และปัจจุบันได้มีความก้าวหน้าไปถึงเรื่องแหล่งเรียนรู้อุทยานธรณีวิทยา ซึ่งจังหวัดกระบี่ ก็มีแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยา เช่น น้ำตกร้อน อ.คลองท่อม ที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทั่วไปได้
สำหรับผลสัมฤทธิ์ของพัฒนาในแต่ละเรื่อง ประเทศสมาชิกก็สามารถเอาไปต่อยอดได้ โดยไม่ต้องมาเริ่มสำรวจตั้งแต่ต้น เช่น แหล่งเรียนรู้ ซึ่งประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม ได้มีการพัฒนาไปสู่ระดับโลก ซึ่งประเทศสมาชิกก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่สามารถต่อยอดจากประเทศที่ได้มีการสำรวจไปแล้วได้ ซึ่งทำให้ประหยัดงบประมาณได้ สำหรับประเทศไทย มีเรื่องการรับมือแก้ไขปัญหาดินถล่มในพื้นที่ อ.เขาพนม เมื่อ 3-4 ที่ผ่านมา ที่ถือว่ารับมือ และแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเทศสมาชิกก็สมารถเข้ามาเรียนรู้ได้
นอกจากนี้ ดร.อภิชาติ ยังกล่าวด้วยว่า สำหรับเรื่องของการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิในฝั่งอันดามัน เชื่อว่าจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน แต่จะเป็นเมื่อไรนั้นก็ไม่สามารถบอกได้ เพราะเมื่อ 1,400 ปี ที่ผ่านมา เคยมีหลักฐานการเกิด แต่เชื่อว่าด้วยประสบการณ์ ศักยภาพ และการวางแผนรับมือภัยพิบัติต่างๆ ที่มีค่อนข้างพร้อมในพื้นที่จะสามารถช่วยลดความสูญเสียได้อย่างแน่นอน