xs
xsm
sm
md
lg

กรมโยธาฯ ฟังความเห็นทำแนวกันคลื่นกัดเซาะหาดสุรินทร์ จ.ภูเก็ต

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กรมโยธาธิการและผังเมือง จัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (ระยะที่ 2) พื้นที่ชายฝั่งหาดสุรินทร์ ต.เชิงทะเล อ.ถลาง ภูเก็ต

เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้ (24 ก.ย.) ที่ห้องประชุมสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล (อบต.เชิงทะเล) อ.ถลาง จ.ภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (ระยะที่ 2) พื้นที่ชายฝั่งหาดสุรินทร์ ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดขึ้น โดยมี นายไพโรจน์ เทศอ่ำ วิศวกรโยธาชำนาญการกรมโยธาธิการและผังเมือง นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดภูเก็ต นายสรธรรม จินดา รองนายก อบจ.ภูเก็ต นายมาแอน สำราญ นายก อบต.เชิงทะเล ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน นักวิชาการ และตัวแทนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม

นายไพโรจน์ เทศอ่ำ วิศวกรโยธาชำนาญการ กรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า ด้วยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (ระยะที่ 2) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท แมคโครคอนซัล-แตนท์ จำกัด ให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาออกแบบ และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อสำรวจออกแบบรายละเอียดเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งตามหลักวิชาการให้มีความเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ และสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่

รวมทั้งเพื่อศึกษา และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (ระยะที่ 2) ที่ได้ดำเนินการสำรวจออกแบบไว้ สำหรับเป็นแนวทางในการนำมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมไปแก้ไข หรือบรรเทาผลกระทบให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยมีระยะเวลาการศึกษาระหว่างวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 และสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 กรกฎาคม

นายไพโรจน์ กล่าวต่ออีกว่า ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการเป็นระยะๆ ตลอดการศึกษา เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความสอดคล้องต่อความต้องการของประชาชน และเกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อท้องถิ่น และประเทศชาติ จึงมีการจัดรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ และแนะนำโครงการฯ รวมถึงสร้างความรู้ความเข้าใจต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาโครงการ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ได้ร่วมเสนอความคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโครงการ
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น