xs
xsm
sm
md
lg

อุดมศึกษาเพื่อสังคม : มหาวิทยาลัยต้องไม่ทอดทิ้งสังคมไว้ข้างหลัง / ดร.กฤษพงศ์ กีรติกร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจากอินเทอร์เน็ต
 
ดร.กฤษพงศ์  กีรติกร
ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนและกรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ 
 
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา มีการบรรยายพิเศษ เนื่องในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยทักษิณ กับวิทยาลัยชุมชน ทั้ง 7 แห่งในภาคใต้ ในหัวข้อ “ทิศทางการจัดการศึกษาและการเชื่อมต่องานวิชาการสู่ชุมชน โดย ดร.กฤษพงศ์  กีรติกร ประธานสภาวิทยาลัยชุมชนและกรรมการสภามหาวิทยาลัยทักษิณ  ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเสนอเกี่ยวกับบทบาทมหาวิทยาลัยกับการจัดการศึกษภายใต้ปัจจัยและและบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
 
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร เห็นว่าประเทศไทยมีปัญหาเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นอย่างมาก สะท้อนจากที่ในแต่ละปีมีผู้ที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้เพียง 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ขณะที่การจัดการศึกษาอยู่ในภาวะที่เรียกว่า “เรียนมาก รัฐลงทุนมาก แต่ผลสัมฤทธิ์ต่ำ”  กล่าวคือ ระดับพื้นฐาน สถิติรอบสิบปีที่ผ่านมาเด็ก 60-70 เปอร์เซนต์ ออกจากระบบการศึกษาด้วยวุฒิต่ำกว่า ม.6   ออกไปเป็นแรงงานนอกระบบ (ประกันสังคม)   แรงงานนอกระบบนี้อยู่ได้ด้วยค่าแรงขั้นต่ำตลอดชีวิตงาน 40-50 ปี   แรงงานนอกระบบที่มีการศึกษาต่ำเกือบทั้งหมดไม่มีโอกาสกลับมาเรียนต่อ หรือฝึกอาชีพ  เพราะระบบอาชีวศึกษา และระบบอุดมศึกษาปิดประตู  ทั้งสองระบบรับแต่คนวัยเรียนเป็นหลัก นอกจากนั้น กลไกการพัฒนาแรงงานทำได้จำกัด   เด็กและเยาวชนที่เป็นคนส่วนใหญ่ที่ออกจากระบบการศึกษาด้วยวุฒิต่ำกว่า ม.6  ไปเป็นแรงงานนอกระบบ  ไม่โอกาสพ้ฒนาระหว่างการทำงาน   เป็นรากฐานความเหลื่อมล้ำ  และส่งผลต่อชั่วอายุคนต่อๆ ไป  เพราะโอกาสที่ลูกจะได้รับการศึกษาขึ้นกับระดับการศึกษาของพ่อแม่ด้วย ขณะที่ระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาไม่สร้าง (employability-workability)   ผู้จบปริญญามีอัตราการตกงานสูงกว่าผู้มีวุฒิต่ำกว่า  มีความสูญเปล่า และสูญเสียทางสังคมและเศรษฐกิจสูง  ถ้าคิดเฉพาะผู้ที่จบปริญญา และไม่มีงานทำในแต่ละปีมีบัณฑิตที่ตกงานจำนวนมาก
 
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กล่าวต่อไปว่า ในภาพรวมแรงงานไทยมีวุฒิศึกษาการต่ำเมื่อเทียบกับอาเซียนกลุ่มเก่า(มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์)  ผลิตภาพต่ำ ทำให้ประเทศไทยติดสภาวะ“nut cracker effect”  คือ งานการผลิตระดับบนที่ใช้เทคโนโลยีสูงเกิด ทำไม่ได้ เพราะกำลังงานที่มีการศึกษามีจำนวนไม่มาก  งานการผลิตระดับล่าง   สู้ประเทศรายได้ปานกลางอื่น และประเทศรายได้ต่ำไม่ได้   เพราะค่าแรงแพง  ทำให้ติด “กับดักประเทศรายได้ปานกลาง - Middle income trap” ดังนั้น สถาบันการศึกษาต้องสร้างเป้าหมายของการศึกษาใหม่ด้วยการสร้างพลเมืองไทยที่มีคุณภาพ  ให้คนไทยทุกคนเข้าถึงการศึกษาคุณภาพตลอดชีวิต  เพื่อทำงานที่เป็นสัมมาชีพ  และลดความเหลื่อมล้ำ ภายใต้เป้าหมายสำคัญ (1) สร้างความสามารถและสมรรถนะสำหรับการทำงาน (Workability-Employability)  (2) สร้างคุณค่าที่ดีงาม  (3) สร้างผลิตภาพ -Productivity ทางสังคม และเศรษฐกิจซึ่งกำหนดโดยการศึกษา  การฝึกอาชีพ - การพัฒนาสมรรถนะต่อเนื่อง  สุขภาพที่ดี  (4) การอยู่ในประชาคมโลก และอาเซียนอย่างเท่าทัน แข่งขันได้ มีศักดิ์ศรี  มีความเป็นมนุษย์
 
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร
 
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กล่าวต่อไปว่า ภายใต้เป้าหมายดังกล่าว ระบบการศึกษาควรเปลี่ยนอย่างน้อยใน 2 ระดับ กล่าวคือ ระดับการศึกษาพื้นฐานวัยเรียน ควรปฏิรูปสถานศึกษาของรัฐซึ่งให้การศึกษาขั้นพื้นฐานแก่นักเรียนส่วนใหญ่ (1) เพิ่มความรับผิดรับชอบ (accountability) ของผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้อำนวยการเขตพื้นที่ (2) ต้องให้ความรู้ และสร้างสมรรถนะที่ผู้ออกจากระบบเข้าสู่อาชีพได้ นอกจากความรู้วิชาสามัญ  (3) เพิ่มความสามารถการจัดการโดยโรงเรียน (School Based Management)  และการจัดการศึกษาพื้นที่ (Area Based Education) (4)  เปิดพื้นที่ให้มีผู้จัดการศึกษาระดับพื้นฐานเพิ่มขึ้น - เอกชน, องค์กรปกครองท้องถิ่น, ภาคประชาชน, องค์กรพัฒนาเอกชน และมูลนิธิ  การปฏิรูปควรลด/เปลี่ยนบทบาทรัฐ (downsizing / rightsizing) จากที่รัฐบาลเป็นผู้จัดการศึกษา (education service provider) เป็นรัฐบาลเป็นผู้จัดซื้อบริการการศึกษา (education service procurer/ purchaser)  ตามแนวการบริการสุขภาพ  และ (5) ให้ความสำคัญต่อการเข้าใจประเทศไทย หน้าที่พลเมือง  คุณค่าพื้นฐานเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต  ระเบียบวินัย  การรู้จักค่าของเงิน   คุณค่าของสังคมตะวันออก เช่น  สถาบันทางสังคม  ความเมตตากรุณา  การเข้าใจระบบอาสุโส  สร้างคุณค่าใหม่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ตระหนักถึงคุณค่าในสังคมโลกาภิวัตน์ เช่น Green and clean   ความยั่งยืน (sustainability)  พหุวัฒนธรรม  มนุษยนิยม 
 
ในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ว่า จัดอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาเพื่อเข้าสู่งานตลอดชีวิตของกำลังแรงงาน ไม่ใช่เพียงเพิ่มวุฒิการศึกษา โดยรัฐจะต้องจัดการให้มีทรัพยากร  ให้เกิดระบบเงินติดตัวผู้เรียน  สร้างและพัฒนาครู ดูแลมาตรฐาน ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ (สื่อและหนังสือ ระบบไอทีฯ)  ลงทุนการวิจัย จัดการศึกษาผู้ต้องการการศึกษาพิเศษ  และสนับสนุนการจัดการศึกษาและฝึกอาชีพโดยผู้จัดการศึกษาอื่นที่ไม่ใช่รัฐบาลส่วนกลาง ได้แก่ องค์กรส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล  อบจ. อบต. ตั้งศูนย์ฝึกอาชีพ-โรงเรียน-วิทยาลัย-สถาบันอุดมศึกษา (municipality-city college/university) สร้างคนที่เหมาะต่อความต้องการโอกาส และอาชีพของท้องถิ่น  ทั้งนี้ รัฐบาลต้องสร้างกลไกสนับสนุนผู้จัดการศึกษา และผู้จัดการฝึกอาชีพอื่นๆ  เข้าถึงสถาบันรัฐที่รัฐลงทุนไปแล้ว  การสนับสนุน และการเข้าถึง  ทำได้หลายรูปแบบ เช่น ให้ผู้จัดการศึกษา และผู้จัดการฝึกอาชีพอื่นใช้ และซื้อบริการ สถานที่ของสถานศึกษารัฐส่วนกลาง, การให้มีที่ตั้งร่วมกัน (co-locate) สถานศึกษารัฐส่วนกลางกับผู้จัดการศึกษาอื่น, การจัดหลักสูตรร่วมและออกค่าใช้จ่ายร่วม (co-manage, co-finance) 
 
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
 
“กล่าวสำหรับอุมศึกษา ผมเสนอให้เลิกหลักสูตร (แม้มีผู้เรียนและสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย) ที่ผู้จบไม่มีงานทำ หรือถูกจ้างต่ำกว่าวุฒิ ปรับหลักสูตรให้เชื่อมโลกของงาน (Work based/ integrated/ immersion) ทั้งภาคสังคม ธุรกิจ อุตสาหกรรม อุดหนุนหลักสูตรที่จำเป็นต่อสังคม จัดโปรแกรมพัฒนาความสามารถ และอาชีพที่ไม่ใช่การศึกษาต่อ/หลักสูตร  สำหรับกำลังแรงงานและผู้สูงวัย เพื่อเพิ่มโอกาส  และผลิตภาพ ปรับเปลี่ยน/เพิ่ม Work profile ของบุคลากร  โดยมีประสบการณ์ในสถานที่ทำงานจริง (Professional leave)  ทำงานวิชาการที่มีคุณภาพจากโจทย์สังคมไทยได้ประโยชน์   สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ (academic excellence) จากความเป็นเลิศที่มนุษย์สัมผัสได้ และที่สำคัญ ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นสังคมที่ไม่ทิ้งใคร” ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร กล่าว
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น