xs
xsm
sm
md
lg

ภูเก็ตเปิด “หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” แห่งแรก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ม.ราชภัฏภูเก็ต ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิด “หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” แห่งแรก ที่หมู่ 8 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง

เมื่อเวลา 13.30 วันนี้ (18 ส.ค.) ที่หมู่บ้านผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร-บ่อแร่ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต น.ส.สมหมาย ปรีชาศิลป์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานแถลงข่าว และพิธีเปิด “หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” โดยมี ผศ.ดร.ประภา กาหยี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นายสุพจน์ ชนะกิจ นายอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต นายวรวุฒิ ทรงยศ นายกเทศมนตรีตำบลศรีสุนทร ตัวแทนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม

น.ส.สมหมาย กล่าวว่า ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขึ้นภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้าน และชุมชนนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัฒกรรมไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพหลัก จนเป็นแบบอย่างให้แก่หมู่บ้าน และชุมชนอื่นๆ โดยการดำเนินงานโครงการดังกล่าวมีการประสานความร่วมมือใน 4 ภาคส่วน คือ ภาคราชการและท้องถิ่น ภาควิชาการ ภาคประชาชนและภาคเอกชน รวมทั้งมีการส่งต่อบริการแบบครบวงจรตามแนวทางห่วงโซ่แห่งคุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มผลิตภาพการเพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์การลดค่าใช้จ่าย การขยายโอกาส และลดความเหลื่อมล้ำของชุมชนในชนบท โดยกำหนดเป้าหมายของโครงการ 1 อำเภอ 1 หมู่บ้านแม่ข่าย โดยครบคลุมทั้งหมด จำนวน 878 อำเภอ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 15 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2533-พ.ศ.2568

สำหรับการดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา มีหมู่บ้านฯที่ได้รับการคัดเลือกเข้าลู่กระบวนการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 242 หมู่บ้าน 194 อำเภอ 65 จังหวัดมีหมู่บ้านฯ ที่สามารถพัฒนาตนเองเป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 52 หมู่บ้าน ซึ่งหนึ่งในนั้นมีชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ร่วมถึงหน่วยงานที่ร่วมกันดำเนินงาน พัฒนาหมู่บ้านตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จนสามารถได้รับงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็น “หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ที่ได้การยอมรับเป็นอย่างดี ภายในระยะเวลา 3 ปี จนกระทั่งยกระดับจากหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายสู่ลูกข่ายไปยังหมู่บ้านอื่นๆ ต่อไป

 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น