ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ระดมพลชาวสวนยางทั่วภาคใต้ นัดประชุมทำความเข้าใจปัญหายางพารา ก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อยาง โดยจะระดมทุน 3,000 ล้านบาท เพื่อเป็นช่องทาง และยุทธศาสตร์ของชาวสวนยาง
วันนี้ (17 ส.ค.) นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 น. จะมีการประชุมสมาชิก ชสยท.และชาวสวนยางทั่วภาคใต้ ที่สำนักงาน ชสยท. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อทำความเข้าใจและแสดงความคิดเห็นเรื่องปัญหายางพารา และจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อยางในประเทศไทย โดยชาวสวนยางพาราเอง ว่า จะมีข้อสรุปอย่างไร
นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทั้งนี้เป็นช่องทางให้ชาวสวนยางทุกคนในประเทศไทยมีช่องทางในการลงทุน และมีส่วนร่วมในกิจการโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อยาง โดยใช้งบประมาณการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท ชาวสวนยางพาราจะต้องพึ่งพาตนเอง จะไปเน้นพึ่งพารัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวเห็นจะไม่ได้โครงการอุตสาหกรรมผลิตล้อยาง โดยการลงทุนของชาวสวนยางกันเอง จะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาวสวนยางพาราเอง และจะได้พึ่งพาช่วยเหลือดูแลตนเองกัน
นายเพิก กล่าวอีกว่า สำหรับแหล่งเงินกู้ในการลงทุนนั้นมีอยู่แล้ว ทางสถาบันการเงินพร้อมที่จะสนับสนุน ดังนั้น ทาง ชสยท.จะขับเคลื่อนนโยบาย และทำความเข้าใจชี้แจงถึงประเด็นต่างๆ ต่อชาวสวนยางพาราให้มีความเข้าใจ โดยจะนำร่องทางภาคใต้ก่อน แล้วก็จะมีการนำเสนอไปยังชาวสวนยางพาราทางภาคอีสาน และภาคเหนือ เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการ
วันนี้ (17 ส.ค.) นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 น. จะมีการประชุมสมาชิก ชสยท.และชาวสวนยางทั่วภาคใต้ ที่สำนักงาน ชสยท. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อทำความเข้าใจและแสดงความคิดเห็นเรื่องปัญหายางพารา และจะเป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อยางในประเทศไทย โดยชาวสวนยางพาราเอง ว่า จะมีข้อสรุปอย่างไร
นายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทั้งนี้เป็นช่องทางให้ชาวสวนยางทุกคนในประเทศไทยมีช่องทางในการลงทุน และมีส่วนร่วมในกิจการโรงงานอุตสาหกรรมผลิตล้อยาง โดยใช้งบประมาณการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท ชาวสวนยางพาราจะต้องพึ่งพาตนเอง จะไปเน้นพึ่งพารัฐบาลแต่เพียงฝ่ายเดียวเห็นจะไม่ได้โครงการอุตสาหกรรมผลิตล้อยาง โดยการลงทุนของชาวสวนยางกันเอง จะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของชาวสวนยางพาราเอง และจะได้พึ่งพาช่วยเหลือดูแลตนเองกัน
นายเพิก กล่าวอีกว่า สำหรับแหล่งเงินกู้ในการลงทุนนั้นมีอยู่แล้ว ทางสถาบันการเงินพร้อมที่จะสนับสนุน ดังนั้น ทาง ชสยท.จะขับเคลื่อนนโยบาย และทำความเข้าใจชี้แจงถึงประเด็นต่างๆ ต่อชาวสวนยางพาราให้มีความเข้าใจ โดยจะนำร่องทางภาคใต้ก่อน แล้วก็จะมีการนำเสนอไปยังชาวสวนยางพาราทางภาคอีสาน และภาคเหนือ เพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการ