พัทลุง - นักโบราณคดีลงพื้นที่สวนปาล์มเก็บข้อมูลการขุดพบทองคำ ด้าน ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 เตรียมหาข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองพัทลุง พร้อมลงมือขุด 7 มิ.ย.นี้ โดยได้ตัดข้อสันนิษฐานมีแหล่งที่มาจากฐานทัพญี่ปุ่น คงเหลือแต่ประเด็นมาจาก “พระธาตุเมืองนคร” หรือจาก “พระธาตุวัดเขียนบางแก้ว” เท่านั้น ส่วนทางด้านตำรวจ-ทหาร ยังคุมพื้นที่อย่างแน่นหนา
วันนี้ (3 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า เจ้าหน้าที่โบราณคดี และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ 14 จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังไม่ดำเนินการขุดทองคำโบราณ ที่มีการขุดพบทองคำในพื้นที่ อ.เขาชัยสน แต่อย่างใด โดยในวันนี้ ทางเจ้าหน้ายังคงลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าชัยบุรี อ.เมือง และพระธาตุวัดเขียนบางแก้ว อ.เขาชัยสน เพื่อสืบหาประวัติความเป็นมา และความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และที่มาที่ไปของการขุดพบทองคำ
โดยนายอาณัติ บำรงวงค์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 ระบุว่า การดำเนินการยังต้องเป็นไปตามขั้นตอน และนักโบราณคดียังต้องหาข้อมูลประกอบทางประวัติศาสตร์ของพัทลุงอีกหลายพื้นที่ที่อาจจะเชื่อมโยงต่อการขุดพบทองคำโบราณในครั้งนี้ เบื้องต้น ทางนักโบราณคดีระบุจะสามารถเข้าพื้นที่ และขุดหาทองคำได้อย่างเร็วที่สุด ในวันที่ 7 มิถุนายนที่จะถึงนี้ นอกจากนั้นแล้วในการตั้งสมมติฐานตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ทองคำที่พบนี้ อาจเป็นทองคำของทหารญี่ปุ่น หรือทองคำที่โจรขโมยมาฝังนั้นตอนนี้ได้ตัดทิ้งไป เนื่องจากไม่พบหลักฐานที่พอจะนำมาเชื่อมโยงได้ทั้ง 2 ประเด็น ยังเหลือประเด็นของการนำไปเป็นพุทธบูชาห่อองค์พระบรมธาตุ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า พระธาตุเมืองนคร หรือพระธาตุวัดเขียนบางแก้ว เพราะอายุพระธาตุทั้ง 2 แห่งมีอายุไล่เลี่ยกันทั้งสิ้น
ในขณะที่แปลงสวนปาล์มที่พบทองคำยังคงมีชาวบ้านเดินทางมาดูกันอย่างต่อเนื่องทั้งใน และนอกพื้นที่ ชาวบ้านบางรายชวนเพื่อนในหมู่บ้านเช่าเหมารถบัสเพื่อมาดูจุดพบทองเพื่อให้เห็นเป็นขวัญตา ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารยังคงคุมเข้มในจุดที่พบทองคำ
วันนี้ (3 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดพัทลุงว่า เจ้าหน้าที่โบราณคดี และเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ 14 จังหวัดนครศรีธรรมราช ยังไม่ดำเนินการขุดทองคำโบราณ ที่มีการขุดพบทองคำในพื้นที่ อ.เขาชัยสน แต่อย่างใด โดยในวันนี้ ทางเจ้าหน้ายังคงลงพื้นที่เก็บข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่าชัยบุรี อ.เมือง และพระธาตุวัดเขียนบางแก้ว อ.เขาชัยสน เพื่อสืบหาประวัติความเป็นมา และความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และที่มาที่ไปของการขุดพบทองคำ
โดยนายอาณัติ บำรงวงค์ ผอ.สำนักศิลปากรที่ 14 ระบุว่า การดำเนินการยังต้องเป็นไปตามขั้นตอน และนักโบราณคดียังต้องหาข้อมูลประกอบทางประวัติศาสตร์ของพัทลุงอีกหลายพื้นที่ที่อาจจะเชื่อมโยงต่อการขุดพบทองคำโบราณในครั้งนี้ เบื้องต้น ทางนักโบราณคดีระบุจะสามารถเข้าพื้นที่ และขุดหาทองคำได้อย่างเร็วที่สุด ในวันที่ 7 มิถุนายนที่จะถึงนี้ นอกจากนั้นแล้วในการตั้งสมมติฐานตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า ทองคำที่พบนี้ อาจเป็นทองคำของทหารญี่ปุ่น หรือทองคำที่โจรขโมยมาฝังนั้นตอนนี้ได้ตัดทิ้งไป เนื่องจากไม่พบหลักฐานที่พอจะนำมาเชื่อมโยงได้ทั้ง 2 ประเด็น ยังเหลือประเด็นของการนำไปเป็นพุทธบูชาห่อองค์พระบรมธาตุ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า พระธาตุเมืองนคร หรือพระธาตุวัดเขียนบางแก้ว เพราะอายุพระธาตุทั้ง 2 แห่งมีอายุไล่เลี่ยกันทั้งสิ้น
ในขณะที่แปลงสวนปาล์มที่พบทองคำยังคงมีชาวบ้านเดินทางมาดูกันอย่างต่อเนื่องทั้งใน และนอกพื้นที่ ชาวบ้านบางรายชวนเพื่อนในหมู่บ้านเช่าเหมารถบัสเพื่อมาดูจุดพบทองเพื่อให้เห็นเป็นขวัญตา ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารยังคงคุมเข้มในจุดที่พบทองคำ