ระนอง - เกษตรจังหวัดระนอง มอบนกแสกให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มระนอง ใช้ควบคุมจำนวนหนู หลังพบเข้าทำลายผลผลิตปาล์มน้ำมัน
นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองได้มอบนกแสก จำนวน 28 คู่ ให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้ควบคุมหนูซึ่งเป็นศัตรูพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านคอกช้าง หมู่ที่ 10 ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ซึ่งจากการศึกษาทดลองโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่านกแสก 1 คู่ สามารถกำจัดหนูได้ถึง 50 ไร่ โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัว หรือประมาณ 350-700 ตัว/ปี ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดหนู และผลผลิตปาล์มน้ำมันมีคุณภาพดีขึ้นในอนาคตทั้งยังปลอดจากสารเคมี
นายอเนก กล่าวต่อว่า หนู เป็นศัตรูพืชสำคัญที่สร้างความเสียหายให้แก่สวนปาล์มน้ำมันทุกระยะ โดย หนูพุกใหญ่ และหนูนาใหญ่ มักกัดทำลายต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะชำ และต้นปาล์มปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังมี หนูป่า ที่เข้าทำลายปาล์มน้ำมันในช่วงให้ผลผลิต กัดกินตั้งแต่ช่อดอกอ่อน ผลปาล์มอ่อน ผลดิบ และกินกระทั่งเนื้อเปลือกผลสุก เกษตรกรหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากหนูป่าที่กัดกินทะลายปาล์มสดเสียหายสะสมรุนแรง ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคา รวมทั้งยังต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดหนูค่อนข้างสูง แต่ก็ยังไม่สามารถปราบหนูได้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้ศึกษาวิจัยการใช้ “นกแสก” กำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมันซึ่งได้ผลดีมาก
“นกแสกเป็นนกประจำถิ่นของไทย ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ และเป็นนกกลางคืนที่อาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ปกติใช้โพรงไม้ และช่องใต้หลังคาเป็นรังวางไข่ กินหนูเป็นอาหาร มีพฤติกรรมล่าเหยื่อในที่โล่ง ทุ่งหญ้า ไร่นา และสวนปาล์มน้ำมัน มีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เลี้ยงลูก 2 ครอกติดต่อกัน จำนวนไข่รังละ 5-7 ฟอง จำนวนต่ำสุด 2 ฟอง สูงสุด 15 ฟอง เพศเมียจะฟักไข่ประมาณ 30 วัน ใช้เวลาฟักไข่ 18 ชั่วโมงต่อวัน ระยะแม่นกฟักไข่และช่วงที่ลูกยังเล็กๆ พ่อนกจะออกล่าเหยื่อนำมาป้อนให้แม่ และลูกนกทุกวัน” นายอเนก กล่าวและว่า
ทีมนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาส่วนประกอบของเศษอาหารที่นกแสกสำรอกออกมาในบริเวณทีนกเกาะพักนอน พบว่า นกแสกในสวนปาล์มน้ำมันของไทยกินหนูป่าเป็นอาหารเกือบ 100% โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัว หรือประมาณ 350-700 ตัวต่อปี ซึ่งหนูจำนวนนี้ถ้าปล่อยให้กัดกินผลปาล์มจะทำความเสียหายต่อผลผลิตปีละ 1.1-2.5 ตัน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียประมาณ 2,750-6,250 บาท ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังจะเสียเงินค่าซื้อสารเคมี และจ้างแรงงานวางยากำจัดหนู ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอีก 700-1,400 บาทด้วย
“โครงการใช้นกแสกควบคุมประชากรหนูในสวนปาล์มน้ำมัน” เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2537 ที่นักวิชาการทางการเกษตรได้ศึกษาวิจัยและทดลองใช้นกแสกควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันนำร่องในสวนปาล์มเอกชนที่ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี พื้นที่ 15,000 ไร่ เริ่มต้นจากพ่อ-แม่นกแสก 2 ตัว พร้อมสร้างรังเทียม จำนวน 15 รัง เพื่อให้นกแสกใช้พักนอน และเพาะขยายพันธุ์ ปี พ.ศ.2543-2544 นกแสกได้เข้าใช้รังเทียมวางไข่มากขึ้น โครงการฯ จึงเพิ่มจำนวนรังนกเป็น 154 รัง พบว่า นกแสกเข้าใช้รังเพิ่มขึ้นทุกปี และประชากรนกแสกก็เพิ่มมากขึ้นประมาณ 700 ตัวใน ปี พ.ศ.2547 ซึ่งสามารถกำจัดหนูที่กัดทำลายผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ประมาณปีละ 245,000-490,000 ตัว
นายเอนก รัตน์รองใต้ เกษตรจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ทางสำนักงานเกษตรจังหวัดระนองได้มอบนกแสก จำนวน 28 คู่ ให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อใช้ควบคุมหนูซึ่งเป็นศัตรูพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านคอกช้าง หมู่ที่ 10 ตำบลกะเปอร์ อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ซึ่งจากการศึกษาทดลองโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่านกแสก 1 คู่ สามารถกำจัดหนูได้ถึง 50 ไร่ โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัว หรือประมาณ 350-700 ตัว/ปี ส่งผลให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีกำจัดหนู และผลผลิตปาล์มน้ำมันมีคุณภาพดีขึ้นในอนาคตทั้งยังปลอดจากสารเคมี
นายอเนก กล่าวต่อว่า หนู เป็นศัตรูพืชสำคัญที่สร้างความเสียหายให้แก่สวนปาล์มน้ำมันทุกระยะ โดย หนูพุกใหญ่ และหนูนาใหญ่ มักกัดทำลายต้นกล้าปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะชำ และต้นปาล์มปลูกใหม่ นอกจากนี้ ยังมี หนูป่า ที่เข้าทำลายปาล์มน้ำมันในช่วงให้ผลผลิต กัดกินตั้งแต่ช่อดอกอ่อน ผลปาล์มอ่อน ผลดิบ และกินกระทั่งเนื้อเปลือกผลสุก เกษตรกรหลายพื้นที่ได้รับความเดือดร้อนจากหนูป่าที่กัดกินทะลายปาล์มสดเสียหายสะสมรุนแรง ทำให้ขายผลผลิตไม่ได้ราคา รวมทั้งยังต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีเพื่อกำจัดหนูค่อนข้างสูง แต่ก็ยังไม่สามารถปราบหนูได้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้ศึกษาวิจัยการใช้ “นกแสก” กำจัดหนูในสวนปาล์มน้ำมันซึ่งได้ผลดีมาก
“นกแสกเป็นนกประจำถิ่นของไทย ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ และเป็นนกกลางคืนที่อาศัยอยู่ใกล้ชุมชน ปกติใช้โพรงไม้ และช่องใต้หลังคาเป็นรังวางไข่ กินหนูเป็นอาหาร มีพฤติกรรมล่าเหยื่อในที่โล่ง ทุ่งหญ้า ไร่นา และสวนปาล์มน้ำมัน มีการผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ เลี้ยงลูก 2 ครอกติดต่อกัน จำนวนไข่รังละ 5-7 ฟอง จำนวนต่ำสุด 2 ฟอง สูงสุด 15 ฟอง เพศเมียจะฟักไข่ประมาณ 30 วัน ใช้เวลาฟักไข่ 18 ชั่วโมงต่อวัน ระยะแม่นกฟักไข่และช่วงที่ลูกยังเล็กๆ พ่อนกจะออกล่าเหยื่อนำมาป้อนให้แม่ และลูกนกทุกวัน” นายอเนก กล่าวและว่า
ทีมนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรได้ศึกษาส่วนประกอบของเศษอาหารที่นกแสกสำรอกออกมาในบริเวณทีนกเกาะพักนอน พบว่า นกแสกในสวนปาล์มน้ำมันของไทยกินหนูป่าเป็นอาหารเกือบ 100% โดยนกแสกกินหนูเฉลี่ยวันละ 1-2 ตัว หรือประมาณ 350-700 ตัวต่อปี ซึ่งหนูจำนวนนี้ถ้าปล่อยให้กัดกินผลปาล์มจะทำความเสียหายต่อผลผลิตปีละ 1.1-2.5 ตัน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียประมาณ 2,750-6,250 บาท ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังจะเสียเงินค่าซื้อสารเคมี และจ้างแรงงานวางยากำจัดหนู ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้นอีก 700-1,400 บาทด้วย
“โครงการใช้นกแสกควบคุมประชากรหนูในสวนปาล์มน้ำมัน” เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2537 ที่นักวิชาการทางการเกษตรได้ศึกษาวิจัยและทดลองใช้นกแสกควบคุมหนูในสวนปาล์มน้ำมันนำร่องในสวนปาล์มเอกชนที่ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี พื้นที่ 15,000 ไร่ เริ่มต้นจากพ่อ-แม่นกแสก 2 ตัว พร้อมสร้างรังเทียม จำนวน 15 รัง เพื่อให้นกแสกใช้พักนอน และเพาะขยายพันธุ์ ปี พ.ศ.2543-2544 นกแสกได้เข้าใช้รังเทียมวางไข่มากขึ้น โครงการฯ จึงเพิ่มจำนวนรังนกเป็น 154 รัง พบว่า นกแสกเข้าใช้รังเพิ่มขึ้นทุกปี และประชากรนกแสกก็เพิ่มมากขึ้นประมาณ 700 ตัวใน ปี พ.ศ.2547 ซึ่งสามารถกำจัดหนูที่กัดทำลายผลผลิตปาล์มน้ำมันได้ประมาณปีละ 245,000-490,000 ตัว