ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่ตรวจปางช้างเอกชน บริเวณทางขึ้นเขานาคเกิด จังหวัดภูเก็ต เน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ให้มากขึ้น พร้อมย้ำให้ภาคเอกชนร่วมกันดูแลป่าไม้
วันนี้ (12 ก.พ.) นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นายวีรสิฐ พุฒิไพโรจน์ ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจปางช้าง บริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด บริเวณทางขึ้นเขานาคเกิด ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการตรวจเยี่ยมตามยุทธศาสตร์การเกษตรของจังหวัดภูเก็ต ในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีนายธนวันต์ ปะจันทบุตร ผู้จัดการกลุ่มบริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด นายไอยุบ โตะยีวานิ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล และพนักงานบริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด ให้การต้อนรับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยถึงการ ลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่า มาดูในเรื่องยุทธศาสตร์การเกษตรของภูเก็ต ซึ่งต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ได้ลงพื้นที่ไปดูแพะ สับปะรด และผักปลอดสารพิษ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการมาดูเรื่องช้าง เนื่องจากช้างเป็นสัตว์สงวนที่เราต้องจำกัดจำนวน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีช้างจำนวน 210 เชือก
โดยการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 เรื่อง เกี่ยวกับตัวช้าง ซึ่งช้างที่นี่ได้รับการดูแลอย่างดีในด้านสุขภาพอนามัยโดยสัตวแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่นี่มีระบบนิเวศดี ไม่มีปัญหาเรื่องมลพิษในพื้นที่ และเรื่องการท่องเที่ยว เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภูเก็ตอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ฝากให้ผู้ประกอบการดูแลรักษาป่าให้เป็นสมบัติของพื้นที่ ให้ช้างอยู่กับป่าอย่างเกื้อกูลกัน และให้ดูแลช้าง รวมถึงมอบนโยบายพิเศษในการร่วมทำ CSR ร่วมกับประชาชนในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ด้านผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยดูแลในการเพิ่มปริมาณช้างช่วงไฮซีซัน เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวมาก ทำให้ช้างต้องทำงานเพิ่มขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
สำหรับบริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นเขานาคเกิด เลขที่ 17/2 หมู่ที่ 10 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บนเนื้อที่กว่า 20 ไร่ เปิดให้บริการธุรกิจท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างมากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 130 คน มีช้างจำนวน 17 เชือก โดยมีช้างอายุมากสุด 55 ปี และอายุน้อยสุดคือ 1 ปี ซึ่งแบ่งเป็นการบริการนำนักท่องเที่ยวนั่งชมธรรมชาติบนหลังช้าง การแสดงช้าง เป็นต้น โดยช้างแต่ละเชือกจะทำงานประมาณ 4-5 ชั่วโมง ต่อวัน และสูงสุดไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นภาคเช้า และภาคบ่าย สำหรับอาหารของช้างนั้นร้อยละ 80 จะเป็นหน่อสับปะรด และร้อยละ 20 จะเป็นหญ้า ผลไม้ และอื่นๆ
วันนี้ (12 ก.พ.) นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย นายวีรสิฐ พุฒิไพโรจน์ ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจปางช้าง บริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด บริเวณทางขึ้นเขานาคเกิด ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการตรวจเยี่ยมตามยุทธศาสตร์การเกษตรของจังหวัดภูเก็ต ในการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยมีนายธนวันต์ ปะจันทบุตร ผู้จัดการกลุ่มบริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด นายไอยุบ โตะยีวานิ ผู้จัดการฝ่ายบุคคล และพนักงานบริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด ให้การต้อนรับ
ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยถึงการ ลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่า มาดูในเรื่องยุทธศาสตร์การเกษตรของภูเก็ต ซึ่งต่อเนื่องจากก่อนหน้านี้ที่ได้ลงพื้นที่ไปดูแพะ สับปะรด และผักปลอดสารพิษ ซึ่งในครั้งนี้เป็นการมาดูเรื่องช้าง เนื่องจากช้างเป็นสัตว์สงวนที่เราต้องจำกัดจำนวน ซึ่งจังหวัดภูเก็ตมีช้างจำนวน 210 เชือก
โดยการตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ ประกอบด้วย 3 เรื่อง เกี่ยวกับตัวช้าง ซึ่งช้างที่นี่ได้รับการดูแลอย่างดีในด้านสุขภาพอนามัยโดยสัตวแพทย์ ด้านสิ่งแวดล้อมที่นี่มีระบบนิเวศดี ไม่มีปัญหาเรื่องมลพิษในพื้นที่ และเรื่องการท่องเที่ยว เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของภูเก็ตอีกด้วย นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ฝากให้ผู้ประกอบการดูแลรักษาป่าให้เป็นสมบัติของพื้นที่ ให้ช้างอยู่กับป่าอย่างเกื้อกูลกัน และให้ดูแลช้าง รวมถึงมอบนโยบายพิเศษในการร่วมทำ CSR ร่วมกับประชาชนในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม ด้านผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐช่วยดูแลในการเพิ่มปริมาณช้างช่วงไฮซีซัน เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวมาก ทำให้ช้างต้องทำงานเพิ่มขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
สำหรับบริษัท สยามซาฟารี เน็ทเชอทัวร์ จำกัด ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นเขานาคเกิด เลขที่ 17/2 หมู่ที่ 10 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต บนเนื้อที่กว่า 20 ไร่ เปิดให้บริการธุรกิจท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างมากว่า 20 ปี ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 130 คน มีช้างจำนวน 17 เชือก โดยมีช้างอายุมากสุด 55 ปี และอายุน้อยสุดคือ 1 ปี ซึ่งแบ่งเป็นการบริการนำนักท่องเที่ยวนั่งชมธรรมชาติบนหลังช้าง การแสดงช้าง เป็นต้น โดยช้างแต่ละเชือกจะทำงานประมาณ 4-5 ชั่วโมง ต่อวัน และสูงสุดไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นภาคเช้า และภาคบ่าย สำหรับอาหารของช้างนั้นร้อยละ 80 จะเป็นหน่อสับปะรด และร้อยละ 20 จะเป็นหญ้า ผลไม้ และอื่นๆ