ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คนภูเก็ตกับการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตเพื่อรองรับการขยายตัวในระยะสั้นระยะยาว ย้ำต้องวางแผนให้ครอบคลุม หลัง ทอท.ทุ่ม 60 ล้านบาท จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษา และจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน ) พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา D103 Consortium ซึ่งประกอบด้วย บริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทพีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ทูที คอนซัลติ้งแอนด์ เมเนจเมท์ จำกัด และบริษัทNetherlands Airport Consultants จำกัด จัดให้มีการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค ในส่วนของท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต น.อ.กันต์พัฒน์ มังคละศิริ รอง.ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมด้วยนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตเข้าร่วม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทางบริษัทที่ปรึกษาจัดขึ้น เพื่อชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการฯ ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ตลอดจนนำข้อคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาการจัดทำรายงานผลการศึกษาความต้องการ และศักยภาพในการรองรับของท่าอากาศยาน และนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท โดย น.อ.กันต์พัฒน์ กล่าวว่า บริษัท ทอท. ดำเนินกิจการท่าอากาศยานมากว่า 35 ปี ซึ่งประกอบด้วย ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาขยายท่าอากาศยานแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับอัตราการเติบโตของผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแผนการพัฒนานั้นจะทำในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สำหรับการดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นการจัดทำแผนแม่บทเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาในอนาคต
ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา D103 Consortium ด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 4 แห่ง โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา เพื่อประเมินศักยภาพ และวิเคราะห์ข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานของ ทภภ. ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการรองรับปริมาณจราจรทางอากาศ และจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนา ทภภ. จะกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนา ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยเฉพาะการรองรับจำนวนผู้โดยสารในส่วนของท่าอากาศยานภูเก็ต ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ปีละประมาณ 13.7% จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมในการขยายและพัฒนาท่ากาอากาศยานให้มีความสอดกับตัวเลขนักท่องเที่ยว
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในส่วนของการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก เพื่อรับทราบความเห็นของคนภูเก็ตเกี่ยวกับการพัฒนาท่าอากาศยานว่าควรจะทำอะไรบ้าง เนื่องจากในส่วนของท่าอากาศยานภูเก็ตนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ การพัฒนาอาจจะกระทบต่อหลายภาคส่วน ซึ่งหลังจากรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกแล้ว จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นอีก 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้
ขณะที่ นายราเมศร ตันติโกสิชฌน์ ที่ปรึกษากลุ่มบริษัท D 103 Consortium กล่าวว่า ในการจัดทำโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค (ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ และแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2556 และจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า ท่าอากาศยานภูเก็ต จะมีปัญหาเรื่องของข้อจำกัดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของพื้นที่ในการออกแบบจึงเน้นเรื่องของการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งข้อสรุปในการออกแบบการพัฒนานั้นจะมีการนำเสนอทางเลือกไว้ 3 แนวทาง ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ต้องรอผลการศึกษาแล้วเสร็จก่อน ซึ่งในการพัฒนานั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มจำนวนทางวิ่ง การเพิ่มหลุมจอด การขยายตัวของอาคารผู้โดยสาร และอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ในการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมมองว่า อยากให้มีการศึกษาวางแผนการพัฒนาทั้งระบบ เพราะการขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานฯ เพื่อให้รองรับผู้โดยสารให้ได้มากขึ้นก็จะส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา เช่น การจราจร น้ำ ขยะ มลพิษทางเสียง โรคติดต่อ เป็นต้น โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด และอยากให้มองในเรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมถึงผลกระทบต่อชุมชนบริเวณโดยรวมสนามบิน ในขณะที่ตัวแทนจากสายการบินมองว่า นอกจากการขยายพื้นที่ในการให้บริการแล้ว เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในแง่ของการบริการก็จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสายการบินต่างๆ ด้วย
นายพลัฎฐ์ จันทรโศภิน ชาวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยถ้าจะมีการทำรันเวย์ลงไปในทะเล และถ้ามีการขยายลงไปในทะเลจะคัดค้านอย่างเต็มที่ และการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตจะต้องศึกษาให้รอบด้าน ไม่ใช้ศึกษาเฉพาะบริเวณท่าอากาศยานเท่านั้น แต่จะต้องมองไปในส่วนรวมทั้งจังหวัดภูเก็ต อย่ามองแค่ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามา แต่จะต้องมาเรื่องศักยภาพในการรองรับด้วยว่าภูเก็ตรับได้มากน้อยแค่ไหน และสิ่งที่สำคัญจะต้องทำให้ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ขณะที่ นายจีรศักดิ์ โล่แก้ว ตัวแทนจากบริษัทการบินไทย กล่าวว่า การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตไม่ควรเน้นเฉพาะเรื่องของจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ถ้าจะทำให้การพัฒนาท่าอากาศยานมีความสมบูรณ์จะต้องพัฒนาในเรื่องของสายการบินด้วย โดยเฉพาะเรื่องของพื้นที่ภายในอาคารพบว่ามีการจัดสรรพื้นที่เล็กลงมากสำหรับให้สายการบินทำให้การทำงานทำได้ไม่ดีพอในการบริการผู้โดยสาร ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก เพราะฉะนั้น ควรจะมองเรื่องเหล่านี้ด้วย และการวางแผนพัฒนาจะต้องมองให้รอบด้าน
ด้านนางประพรศรี นรินทร์รักษ์ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตนั้นในฐานะคนภูเก็ตรู้สึกว่าภูเก็ตถูกกระทำจากรัฐบาลด้วยการใส่โครงการต่างๆ เข้ามาโดยไม่มีการถามคนในพื้นที่ว่าต้องการหรือไม่ การขยายท่าอากาศยานเพื่อให้รองรับคนเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีระบบการรองรับที่ดีพอก็จะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของสาธารณสุขก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อคนเข้ามามาก การนำโรคต่างๆ เข้ามาก็จะมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้น การพัฒนา หรือขยายในส่วนของท่าอากาศยานจะต้องขยายในเรื่องของการในภาคสาธารณสุขเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้น จะต้องมองในเรื่องของคุณภาพชีวิตที่ตามมาโดยเฉพาะเรื่องของเสียง
นายธำรง ทองตัน ธนารักษ์ภูเก็ต กล่าวว่า ในการศึกษาทำแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตให้ศึกษาเรื่องของการใช้ประโยชน์พื้นที่ในส่วนของที่พักพนักงานวิทยุการบิน และศึกษาการใช้พื้นที่ของโครงการคงเครื่องขึ้นเรือซึ่งเป็นโครงการของจังหวัด และเจ้าท่าที่ขณะนี้ได้รับงบประมาณแล้วด้วยเพราะพื้นที่การการดำเนินการจะเกี่ยวเนื่องกัน
ขณะที่นายเพิ่มศักดิ์ แซ่เอี้ย ตัวแทนจากการบินไทย กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ของท่าอากาศยานภูเก็ตนั้นมีความจำกัด น่าจะมองในเรื่องของการขยายไปสร้างสนามบินอีกแห่งที่จังหวัดพังงา และให้เชื่อมการเดินทางระหว่างกันด้วยรถรถไฟซึ่งมีโครงการขยายรถไฟมาจากสุราษฎร์ธานี มาจนถึงท่านุ่น และเข้าไปยังสนามบินภูเก็ต
ส่วนนายวิโรจน์ มานะจิตต์ กำนันตำบลไม้ขาว กล่าวว่า ในส่วนของคนพื้นที่ได้ขาวเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากท่าอากาศยาน ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องของมลพิษทางเสียงที่จะต้องทนฟังเสียงเครื่องบินเกือบตลอดเวลาแล้ว ยังมีเรื่องของการจราจรที่นับวันแออัดขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน การจะสร้างบ้านต่อเติมบ้านก็ทำไม่ได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องที่คนไม้ขาวจะต้องแบกรับ จะขายที่หนีก็ไม่ได้เพราะไม่มีใครซื้อ เพราะฉะนั้น การจะพัฒนาขอให้มีการศึกษาเรื่องของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ ขอให้ทำอย่างละเอียด และรอบคอบมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ให้เหลือน้อยที่สุด
เมื่อวันที่ 11 ก.พ. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน ) พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา D103 Consortium ซึ่งประกอบด้วย บริษัทดีไซน์ 103 อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัทพีซีบีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ทูที คอนซัลติ้งแอนด์ เมเนจเมท์ จำกัด และบริษัทNetherlands Airport Consultants จำกัด จัดให้มีการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 โครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค ในส่วนของท่าอากาศยานภูเก็ต ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต โดยมี นายไมตรี อินทุสุต ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต น.อ.กันต์พัฒน์ มังคละศิริ รอง.ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต พร้อมด้วยนายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายก อบจ.ภูเก็ต พร้อมด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตเข้าร่วม
สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ทางบริษัทที่ปรึกษาจัดขึ้น เพื่อชี้แจงรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการฯ ระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมสัมมนา ตลอดจนนำข้อคิดเห็นไปประกอบการพิจารณาการจัดทำรายงานผลการศึกษาความต้องการ และศักยภาพในการรองรับของท่าอากาศยาน และนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บท โดย น.อ.กันต์พัฒน์ กล่าวว่า บริษัท ทอท. ดำเนินกิจการท่าอากาศยานมากว่า 35 ปี ซึ่งประกอบด้วย ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ซึ่งที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาขยายท่าอากาศยานแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับอัตราการเติบโตของผู้โดยสารอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแผนการพัฒนานั้นจะทำในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สำหรับการดำเนินโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคในครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน เป็นการจัดทำแผนแม่บทเพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาในอนาคต
ทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา D103 Consortium ด้วยงบประมาณ 60 ล้านบาท ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาคทั้ง 4 แห่ง โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา เพื่อประเมินศักยภาพ และวิเคราะห์ข้อจำกัดของโครงสร้างพื้นฐานของ ทภภ. ที่ส่งผลต่อขีดความสามารถในการรองรับปริมาณจราจรทางอากาศ และจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนา ทภภ. จะกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อพัฒนา ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว โดยเฉพาะการรองรับจำนวนผู้โดยสารในส่วนของท่าอากาศยานภูเก็ต ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ปีละประมาณ 13.7% จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมในการขยายและพัฒนาท่ากาอากาศยานให้มีความสอดกับตัวเลขนักท่องเที่ยว
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในส่วนของการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก เพื่อรับทราบความเห็นของคนภูเก็ตเกี่ยวกับการพัฒนาท่าอากาศยานว่าควรจะทำอะไรบ้าง เนื่องจากในส่วนของท่าอากาศยานภูเก็ตนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ การพัฒนาอาจจะกระทบต่อหลายภาคส่วน ซึ่งหลังจากรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกแล้ว จะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นอีก 2 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้
ขณะที่ นายราเมศร ตันติโกสิชฌน์ ที่ปรึกษากลุ่มบริษัท D 103 Consortium กล่าวว่า ในการจัดทำโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทท่าอากาศยานภูมิภาค (ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ และแม่ฟ้าหลวงเชียงราย) ใช้งบประมาณ 60 ล้านบาท โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2556 และจะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤศจิกายน 2557 ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลในเบื้องต้นพบว่า ท่าอากาศยานภูเก็ต จะมีปัญหาเรื่องของข้อจำกัดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของพื้นที่ในการออกแบบจึงเน้นเรื่องของการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งข้อสรุปในการออกแบบการพัฒนานั้นจะมีการนำเสนอทางเลือกไว้ 3 แนวทาง ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ต้องรอผลการศึกษาแล้วเสร็จก่อน ซึ่งในการพัฒนานั้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพิ่มจำนวนทางวิ่ง การเพิ่มหลุมจอด การขยายตัวของอาคารผู้โดยสาร และอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ในการแสดงความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมมองว่า อยากให้มีการศึกษาวางแผนการพัฒนาทั้งระบบ เพราะการขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยานฯ เพื่อให้รองรับผู้โดยสารให้ได้มากขึ้นก็จะส่งผลกระทบในด้านอื่นๆ ตามมา เช่น การจราจร น้ำ ขยะ มลพิษทางเสียง โรคติดต่อ เป็นต้น โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด และอยากให้มองในเรื่องของคุณภาพมากกว่าปริมาณ รวมถึงผลกระทบต่อชุมชนบริเวณโดยรวมสนามบิน ในขณะที่ตัวแทนจากสายการบินมองว่า นอกจากการขยายพื้นที่ในการให้บริการแล้ว เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในแง่ของการบริการก็จะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสายการบินต่างๆ ด้วย
นายพลัฎฐ์ จันทรโศภิน ชาวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยถ้าจะมีการทำรันเวย์ลงไปในทะเล และถ้ามีการขยายลงไปในทะเลจะคัดค้านอย่างเต็มที่ และการศึกษาจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตจะต้องศึกษาให้รอบด้าน ไม่ใช้ศึกษาเฉพาะบริเวณท่าอากาศยานเท่านั้น แต่จะต้องมองไปในส่วนรวมทั้งจังหวัดภูเก็ต อย่ามองแค่ตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามา แต่จะต้องมาเรื่องศักยภาพในการรองรับด้วยว่าภูเก็ตรับได้มากน้อยแค่ไหน และสิ่งที่สำคัญจะต้องทำให้ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ขณะที่ นายจีรศักดิ์ โล่แก้ว ตัวแทนจากบริษัทการบินไทย กล่าวว่า การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตไม่ควรเน้นเฉพาะเรื่องของจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น ถ้าจะทำให้การพัฒนาท่าอากาศยานมีความสมบูรณ์จะต้องพัฒนาในเรื่องของสายการบินด้วย โดยเฉพาะเรื่องของพื้นที่ภายในอาคารพบว่ามีการจัดสรรพื้นที่เล็กลงมากสำหรับให้สายการบินทำให้การทำงานทำได้ไม่ดีพอในการบริการผู้โดยสาร ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวก เพราะฉะนั้น ควรจะมองเรื่องเหล่านี้ด้วย และการวางแผนพัฒนาจะต้องมองให้รอบด้าน
ด้านนางประพรศรี นรินทร์รักษ์ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตนั้นในฐานะคนภูเก็ตรู้สึกว่าภูเก็ตถูกกระทำจากรัฐบาลด้วยการใส่โครงการต่างๆ เข้ามาโดยไม่มีการถามคนในพื้นที่ว่าต้องการหรือไม่ การขยายท่าอากาศยานเพื่อให้รองรับคนเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีระบบการรองรับที่ดีพอก็จะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของสาธารณสุขก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อคนเข้ามามาก การนำโรคต่างๆ เข้ามาก็จะมากตามไปด้วย เพราะฉะนั้น การพัฒนา หรือขยายในส่วนของท่าอากาศยานจะต้องขยายในเรื่องของการในภาคสาธารณสุขเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนั้น จะต้องมองในเรื่องของคุณภาพชีวิตที่ตามมาโดยเฉพาะเรื่องของเสียง
นายธำรง ทองตัน ธนารักษ์ภูเก็ต กล่าวว่า ในการศึกษาทำแผนพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ตให้ศึกษาเรื่องของการใช้ประโยชน์พื้นที่ในส่วนของที่พักพนักงานวิทยุการบิน และศึกษาการใช้พื้นที่ของโครงการคงเครื่องขึ้นเรือซึ่งเป็นโครงการของจังหวัด และเจ้าท่าที่ขณะนี้ได้รับงบประมาณแล้วด้วยเพราะพื้นที่การการดำเนินการจะเกี่ยวเนื่องกัน
ขณะที่นายเพิ่มศักดิ์ แซ่เอี้ย ตัวแทนจากการบินไทย กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่ของท่าอากาศยานภูเก็ตนั้นมีความจำกัด น่าจะมองในเรื่องของการขยายไปสร้างสนามบินอีกแห่งที่จังหวัดพังงา และให้เชื่อมการเดินทางระหว่างกันด้วยรถรถไฟซึ่งมีโครงการขยายรถไฟมาจากสุราษฎร์ธานี มาจนถึงท่านุ่น และเข้าไปยังสนามบินภูเก็ต
ส่วนนายวิโรจน์ มานะจิตต์ กำนันตำบลไม้ขาว กล่าวว่า ในส่วนของคนพื้นที่ได้ขาวเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากท่าอากาศยาน ซึ่งนอกจากจะมีเรื่องของมลพิษทางเสียงที่จะต้องทนฟังเสียงเครื่องบินเกือบตลอดเวลาแล้ว ยังมีเรื่องของการจราจรที่นับวันแออัดขึ้นอย่างมาก รวมไปถึงเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน การจะสร้างบ้านต่อเติมบ้านก็ทำไม่ได้เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องที่คนไม้ขาวจะต้องแบกรับ จะขายที่หนีก็ไม่ได้เพราะไม่มีใครซื้อ เพราะฉะนั้น การจะพัฒนาขอให้มีการศึกษาเรื่องของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ ขอให้ทำอย่างละเอียด และรอบคอบมากที่สุด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ให้เหลือน้อยที่สุด