ชุมพร - กกต.ชุมพร ขอสนับสนุนเจ้าหน้าหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำหน่วยเลือกตั้ง แต่ไร้คนสนใจ บรรยากาศหาเสียงก่อนเลือกตั้งเงียบสนิท
วันนี้ (29 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ชุมพร ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต.(ชพ.) 0700/ว 193 ลงวันที่ 22 มกราคม 2557 ลงนามโดย พ.ต.อ.ณฐพล พราหมหันต์ ประธาน กกต.ชุมพร เรื่องขอรับการสนับสนุนเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง ถึงหัวหน้าส่วนราชการประจำ จ.ชุมพร หัวหน้าหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในพื้นที่ จ.ชุมพร พร้อมแบบรายงานความพร้อมของบุคลากรในการจัดการเลือกตั้ง 1 ชุด เพื่อตอบกลับไปยังสำนักงาน กกต.ชุมพร โดยหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาระบุว่า
ตามที่มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งตามหนังสืออ้างถึง เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติในการกำชับข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกประเภท ทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง รวมทั้งการวางตัวเป็นกลางของข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท ทุกระดับดังกล่าวนั้น
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร ได้รับรายงานจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 1, 2 และ 3 ว่า ยังขาดบุคลากรเกี่ยวกับเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งปรากฏตามรายละเอียดที่ส่งมาด้วยนี้ เพื่อขอได้โปรดให้ความอนุเคราะห์การสนับสนุนบุคลากรดังกล่าวต่อไป เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และคณะอนุกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งอำเภอ จะได้มาติดต่อประสานงานอีกทางหนึ่งด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.ชุมพร มีทั้งหมด 8 อำเภอ แบ่งเป็น 3 เขตเลือกตั้ง มีจำนวนหน่วยเลือกตั้ง 716 หน่วยเลือกตั้ง ปรากฏว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอบรับเข้าเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งอีกจำนวนมาก โดยมีหลายหน่วยเลือกตั้งไม่มีบุคลากรดังกล่าวสมัครใจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำขอสนับสนุนของ กกต.ชุมพร แม้แต่คนเดียว
สำหรับ จ.ชุมพร มีผู้สมัคร ส.ส. ที่สามารถฝ่าด่านกลุ่มมวลชน กปปส.ที่คัดค้านการเลือกตั้งเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ จำนวน 2 คน คือ น.ส.รุจินาถ ศรีสุวรรณ หมายเลข 15 จากพรรคเพื่อไทย ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เขต 2 และ นายเกษม เทียนทอง หมายเลข 45 จากพรรคประชาราช ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เขต 3 ส่วนผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 ไม่มีผู้ได้สามารถเข้าไปสมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส.ได้แม้แต่คนเดียว
ขณะที่การการหาเสียงลงเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้ง ที่ 2 และ 3 ที่มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้นั้น ปรากฏว่า บรรยากาศเงียบสนิท ไม่มีการออกปราศรัยหาเสียงของผู้สมัคร และติดป้ายประชาสัมพันธ์ตนเองตามพื้นที่ต่างๆ แม้แต่ป้ายเดียว นอกจากมีป้ายงานประจำปี และเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ จนชาวบ้านทั่วไปจำนวนมากเข้าใจว่า จ.ชุมพร ไม่มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแต่อย่างใด
วันนี้ (29 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กกต.ชุมพร ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ลต.(ชพ.) 0700/ว 193 ลงวันที่ 22 มกราคม 2557 ลงนามโดย พ.ต.อ.ณฐพล พราหมหันต์ ประธาน กกต.ชุมพร เรื่องขอรับการสนับสนุนเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง ถึงหัวหน้าส่วนราชการประจำ จ.ชุมพร หัวหน้าหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจทุกแห่งในพื้นที่ จ.ชุมพร พร้อมแบบรายงานความพร้อมของบุคลากรในการจัดการเลือกตั้ง 1 ชุด เพื่อตอบกลับไปยังสำนักงาน กกต.ชุมพร โดยหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาระบุว่า
ตามที่มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งตามหนังสืออ้างถึง เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติในการกำชับข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ในสังกัดทุกประเภท ทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง รวมทั้งการวางตัวเป็นกลางของข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่รัฐทุกประเภท ทุกระดับดังกล่าวนั้น
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชุมพร ได้รับรายงานจากคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่ 1, 2 และ 3 ว่า ยังขาดบุคลากรเกี่ยวกับเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งปรากฏตามรายละเอียดที่ส่งมาด้วยนี้ เพื่อขอได้โปรดให้ความอนุเคราะห์การสนับสนุนบุคลากรดังกล่าวต่อไป เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง และคณะอนุกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งอำเภอ จะได้มาติดต่อประสานงานอีกทางหนึ่งด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.ชุมพร มีทั้งหมด 8 อำเภอ แบ่งเป็น 3 เขตเลือกตั้ง มีจำนวนหน่วยเลือกตั้ง 716 หน่วยเลือกตั้ง ปรากฏว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอบรับเข้าเป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้ง ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยเลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งอีกจำนวนมาก โดยมีหลายหน่วยเลือกตั้งไม่มีบุคลากรดังกล่าวสมัครใจเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตามคำขอสนับสนุนของ กกต.ชุมพร แม้แต่คนเดียว
สำหรับ จ.ชุมพร มีผู้สมัคร ส.ส. ที่สามารถฝ่าด่านกลุ่มมวลชน กปปส.ที่คัดค้านการเลือกตั้งเข้าไปยังสถานที่รับสมัครได้ จำนวน 2 คน คือ น.ส.รุจินาถ ศรีสุวรรณ หมายเลข 15 จากพรรคเพื่อไทย ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เขต 2 และ นายเกษม เทียนทอง หมายเลข 45 จากพรรคประชาราช ผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เขต 3 ส่วนผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 ไม่มีผู้ได้สามารถเข้าไปสมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส.ได้แม้แต่คนเดียว
ขณะที่การการหาเสียงลงเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้ง ที่ 2 และ 3 ที่มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งได้นั้น ปรากฏว่า บรรยากาศเงียบสนิท ไม่มีการออกปราศรัยหาเสียงของผู้สมัคร และติดป้ายประชาสัมพันธ์ตนเองตามพื้นที่ต่างๆ แม้แต่ป้ายเดียว นอกจากมีป้ายงานประจำปี และเกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ จนชาวบ้านทั่วไปจำนวนมากเข้าใจว่า จ.ชุมพร ไม่มีผู้สมัครลงรับเลือกตั้งแต่อย่างใด