xs
xsm
sm
md
lg

ฮือฮา! พบหินคล้ายบันไดเมืองโบราณในสวนปาล์มที่กระบี่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


กระบี่ - ฮือฮา! ชาวบ้านพบหินคล้ายบันไดโบราณจำนวนมากฝังใต้พื้นดินในสวนปาล์มที่ จ.กระบี่ แต่ละขั้นกว้างประมาณ 50-90 ซม. ยาว 5 ม. เชื่อเป็นที่ตั้งของเมืองเก่าแก่ในสมัยโบราณ อายุหลายร้อยปี

เวลา 10.00 น. วันนี้ (26 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นายสุมลตรี สุขดำ นายกสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน ว่า ได้มีชาวบ้านที่เข้ายึดพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ม.1 ต.ห้วยยูง อ.เหนือคลอง จ.กระบี พบบันไดหินโบราณจำนวนมากภายในสวนปาล์มน้ำมัน ที่ชาวบ้านเข้าไปปักหลักอาศัยอยู่ เพื่อเรียกร้องให้รัฐจัดสรรที่ดินทำกินให้คนยากจน สร้างความประหลาดใจเป็นอย่างมาก

จาการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า บันไดที่ชาวบ้านพบนั้นมีลักษณะเป็นแผ่นหินสีขาว ผิวเรียบ ความกว้างประมาณ 50-90 ซม. ยาวประมาณ 5-6 ม. วางเรียงซ้อนกันเป็นขั้นบันได ฝังอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 50 ซม. รวมจำนวนกว่า 20 ขั้น แต่ละขั้นห่างกันประมาณ 20 ซม. ชาวบ้านจึงช่วยกันขัดทำความสะอาด และห้ามใครเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่

จากการสอบถาม นายมะไซดี เจ๊ะด๊ะ อายุ 25 ปี สมาชิกสมาคมคนไทยไร้ที่ดินทำกิน ทราบว่า เมื่อประมาณ 3 วันที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยสมาชิกได้มาเข้ามาปลูกสร้างเพิงพักในพื้นที่สวนปาล์มน้ำมันดังกล่าว เมื่อนอนพักในคืนแรกก็ฝันว่ามีชายแต่งชุดนุ่งขาวห่มขาว มายืนอยู่ใกล้ๆ แล้วใช้มือชี้มายังจุดที่พบข้นบันได แล้วบอกว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ จึงได้ตื่นขึ้นมา แต่ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง

จากนั้นวันต่อมา เพื่อนสมาชิกได้ช่วยกันขุดบ่อน้ำห่างจากเพิงพักประมารณ 50 เมตร ได้ขุดพบขั้นบันไดดังกล่าวสร้างความประหลาดใจเป็นอย่างมาก เพราะลักษณะคล้ายกับที่ฝันไว้ เชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเมืองโบราณ ชาวบ้านที่ทราบข่าวแห่มาดูกันเป็นจำนวนมาก และไม่เคยมีใครพบเห็นมาก่อน

ด้านายสุมลตรี กล่าวว่า ก่อนที่จะนำชาวบ้านเข้ามาในพื้นที่ ตนก็ฝันเช่นเดียวกัน เชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเมืองโบราณ หรืออาจเป็นที่ตั้งเมืองกระบี่น้อย หรือเมืองบันทไทยสมอ ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่โบราณที่สาบสูญไปเมื่อหลายร้อยปีก่อนตามประวัติศาสตร์ของเมืองกระบี่ แต่ไม่นึกว่าจะเป็นสถานที่ดังกล่าว จึงได้กันพื้นที่ไว้ห้ามไม่ให้ชาวบ้านนำออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด หลังจากนี้ ก็จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบว่าขั้นบันไดถูกสร้างขึ้นเมื่อใด และอยุ่ในยุคสมัยได ซึ่งจะได้อนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ต่อไป
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น