พัทลุง - รองผู้ว่าฯ เมืองลุง แจ้งเตือนให้ประชาชนระวังลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ในช่วงวันที่ 7-9 พ.ย.2556 หวั่นเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม
วันนี้ (7 พ.ย.) นายสุรินทร์ เพชรสังข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง แจ้งว่า ตามที่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์สภาวะอากาศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามสถานการณ์สาธารณภัยของจังหวัดพัทลุงตลอด 24 ชั่วโมง และได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งได้ติดตามตรวจสอบสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2556 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัว และเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมทะเลจีนใต้ ซึ่งมีแนวโน้มอาจจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้พื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนัก และหนักมากบางพื้นที่ คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะนี้
เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากสถานการณ์สภาวะอากาศดังกล่าว จึงขอให้อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.แจ้งให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่ราบต่ำริมน้ำ ที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัด ทราบเกี่ยวกับภัยอันเกิดจากฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง ให้เตรียมการป้องกันและระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ 2-3 วันนี้ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงประจำท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจ่ายข่าวประจำหมู่บ้าน และเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น สถานีโทรทัศน์ และเคเบิลทีวีท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัครในท้องที่ สำหรับชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรอดออกจากฝั่ง
2.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอกำชับเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง และตรวจสอบเส้นทาง เขื่อน ฝาย อ่าง คันกั้นน้ำ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีประชาชนใช้บริการจำนวนมาก พื้นที่อุตสาหกรรม รวมทั้งพื้นที่ของเอกชน ถ้าไม่มีความมั่นคงแข็งแรงพิจารณาแล้วเป็นอันตรายให้แก้ไขโดยด่วน รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์จาก “มิสเตอร์เตือนภัย” ที่ประจำอยู่ในหมู่บ้านเสี่ยงภัยช่วยแจ้งเหตุเตือนภัยด้วย
3.ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฯ ของอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที
4.รายงานผลการปฏิบัติงานในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ทราบทุกระยะที่หมายเลขโทรศัพท์-โทรสาร 0-7461-7046 และ 0-7462-0300 จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด
วันนี้ (7 พ.ย.) นายสุรินทร์ เพชรสังข์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง แจ้งว่า ตามที่กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์สภาวะอากาศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และติดตามสถานการณ์สาธารณภัยของจังหวัดพัทลุงตลอด 24 ชั่วโมง และได้รับแจ้งจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งได้ติดตามตรวจสอบสภาวะอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2556 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้มีกำลังแรง ประกอบกับมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัว และเคลื่อนตัวเข้าปกคลุมทะเลจีนใต้ ซึ่งมีแนวโน้มอาจจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้พื้นที่ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนัก และหนักมากบางพื้นที่ คลื่นลมในทะเลอ่าวไทยมีกำลังแรงในระยะนี้
เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม อันเกิดจากสถานการณ์สภาวะอากาศดังกล่าว จึงขอให้อำเภอ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1.แจ้งให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่ราบต่ำริมน้ำ ที่ลาดเชิงเขา และพื้นที่เสี่ยงภัยของจังหวัด ทราบเกี่ยวกับภัยอันเกิดจากฝนตกหนัก และคลื่นลมแรง ให้เตรียมการป้องกันและระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ 2-3 วันนี้ โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงประจำท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจ่ายข่าวประจำหมู่บ้าน และเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น สถานีโทรทัศน์ และเคเบิลทีวีท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น อาสาสมัครในท้องที่ สำหรับชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรอดออกจากฝั่ง
2.ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนายอำเภอกำชับเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง และตรวจสอบเส้นทาง เขื่อน ฝาย อ่าง คันกั้นน้ำ และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีประชาชนใช้บริการจำนวนมาก พื้นที่อุตสาหกรรม รวมทั้งพื้นที่ของเอกชน ถ้าไม่มีความมั่นคงแข็งแรงพิจารณาแล้วเป็นอันตรายให้แก้ไขโดยด่วน รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์จาก “มิสเตอร์เตือนภัย” ที่ประจำอยู่ในหมู่บ้านเสี่ยงภัยช่วยแจ้งเหตุเตือนภัยด้วย
3.ดำเนินการตามขั้นตอนของแผนป้องกันภัยฯ ของอำเภอ ให้สามารถช่วยเหลือประชาชนหากเกิดสถานการณ์ขึ้นในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที
4.รายงานผลการปฏิบัติงานในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ทราบทุกระยะที่หมายเลขโทรศัพท์-โทรสาร 0-7461-7046 และ 0-7462-0300 จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด