นครศรีธรรมราช - ผวจ.นครศรีฯ เร่งมอบนโยบายการปฏิบัติงานพื้นที่ชายฝั่งทะเล พบปัญหาพื้นที่สาธารณะกว่า 1 หมื่นไร่ ถูกบุกรุกกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
วันนี้ (24 ต.ค.) นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางเข้ามอบนโยบายในการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอแถบชายฝั่งทะเลขนอม และสิชล ที่ศาลาประชาคมอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเร่งรัดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตามแนวนโยบายการบริหารงานของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขณะที่ นายทินกร มุสิกวัตร นายอำเภอสิชล รายงานถึงบรรยายสรุปของอำเภอสิชล ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอ เป็นที่ราบสูง และมีป่าไม้มาก โดยพื้นที่ค่อยๆ ลาดต่ำลงมาเป็นที่ราบตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม ทางด้านทิศตะวันออกจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ลักษณะดินเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ยางพารา กาแฟ สวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์ม ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มากมาย
“ทำให้มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่ออยู่อาศัย และเป็นที่ทำกิน การทำประมงอวนลาก อวนรุนในเขตห้ามทำการประมง ทำให้ทรัพยากรทางทะเลได้รับความเสียหาย มีการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งอำเภอสิชล มีที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 34 แปลง เนื้อที่ทั้งหมด 10,154 ไร่ มีการบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัย และเป็นที่ดินทำกิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่สาธารณประโยชน์” นายทินกร กล่าว
นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุว่า ได้สั่งการให้ทางเกษตรอำเภอขนอม และสิชล รายงานข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตามโครงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำทั้งระบบ สำหรับอำเภอขนอม ซึ่งผลการจัดเก็บข้อมูลการขึ้นทะเบียน จำนวน 2,500 ราย พบว่า บันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วแล้ว 2,240 ราย เข้าระบบแล้ว 34,515 ไร่ ยังคงเหลือการจัดเก็บบันทึกข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อีก จำนวน 300 ราย โดยปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ล่าช้า คือ คณะกรรมการตรวจสอบแปลงส่งข้อมูลคืนสำนักงาน เลขบัญชี ธ.ก.ส. ผิดพลาด เงินไม่เคลื่อนไหวในสมุด และเจ้าของที่ดินบางรายอยู่ต่างจังหวัดติดต่อไม่ได้
ในโอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้เกษตรอำเภอ ได้ฝากเน้นย้ำข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการถึงการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน เพื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแปลงยางจะได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ และออกใบรับรองเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรโดยเร็วต่อไป
วันนี้ (24 ต.ค.) นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางเข้ามอบนโยบายในการปฏิบัติงานแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่อำเภอแถบชายฝั่งทะเลขนอม และสิชล ที่ศาลาประชาคมอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเร่งรัดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตามแนวนโยบายการบริหารงานของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ขณะที่ นายทินกร มุสิกวัตร นายอำเภอสิชล รายงานถึงบรรยายสรุปของอำเภอสิชล ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอ เป็นที่ราบสูง และมีป่าไม้มาก โดยพื้นที่ค่อยๆ ลาดต่ำลงมาเป็นที่ราบตอนกลางเป็นที่ราบลุ่ม ทางด้านทิศตะวันออกจดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ลักษณะดินเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ยางพารา กาแฟ สวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์ม ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มากมาย
“ทำให้มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่ออยู่อาศัย และเป็นที่ทำกิน การทำประมงอวนลาก อวนรุนในเขตห้ามทำการประมง ทำให้ทรัพยากรทางทะเลได้รับความเสียหาย มีการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ ซึ่งอำเภอสิชล มีที่สาธารณประโยชน์ จำนวน 34 แปลง เนื้อที่ทั้งหมด 10,154 ไร่ มีการบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัย และเป็นที่ดินทำกิน ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่สาธารณประโยชน์” นายทินกร กล่าว
นายอภินันท์ ซื่อธานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบุว่า ได้สั่งการให้ทางเกษตรอำเภอขนอม และสิชล รายงานข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตามโครงการแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำทั้งระบบ สำหรับอำเภอขนอม ซึ่งผลการจัดเก็บข้อมูลการขึ้นทะเบียน จำนวน 2,500 ราย พบว่า บันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วแล้ว 2,240 ราย เข้าระบบแล้ว 34,515 ไร่ ยังคงเหลือการจัดเก็บบันทึกข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อีก จำนวน 300 ราย โดยปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ล่าช้า คือ คณะกรรมการตรวจสอบแปลงส่งข้อมูลคืนสำนักงาน เลขบัญชี ธ.ก.ส. ผิดพลาด เงินไม่เคลื่อนไหวในสมุด และเจ้าของที่ดินบางรายอยู่ต่างจังหวัดติดต่อไม่ได้
ในโอกาสนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้เกษตรอำเภอ ได้ฝากเน้นย้ำข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการถึงการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางพารา โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน เพื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแปลงยางจะได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ และออกใบรับรองเพื่อโอนเงินเข้าบัญชีให้เกษตรกรโดยเร็วต่อไป