ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ศอ.บต.ประชุมคณะทำงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เสนอขอคืนอำนาจการปกครองให้กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น เพื่อร่วมดับไฟใต้ โดยที่ประชุมมีมติว่า เหตุเกิดที่หมู่บ้าน ชัยชนะต้องมาจากหมู่บ้าน” เตรียมเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง
วันนี้ (23 ต.ค.) ที่ห้องประชุมโออาร์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ได้มีการประชุมคณะทำงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีความความมั่นคง โดยมีนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
โดยในที่ประชุมมีความเห็นว่า สถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถ้าประชาชนยังเสียชีวิตและบาดเจ็บรายวัน ยังมีการวางระเบิด วางเพลิง เกิดขึ้นทุกวัน ยอมแสดงให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ได้ผล
โดยที่ประชุมได้มีมติว่า “เหตุเกิดที่หมู่บ้าน ชัยชนะต้องมาจากหมู่บ้าน” จึงต้องเร่งสร้างความเข็มแข็งให้กับหมู่บ้าน ชุมชน ต่างๆ โดยการสถาปนาอำนาจในการรักษาความสงบให้กับผู้นำท้องที่ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอ และ ผู้กำกับ ต้องเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้กำลังของทหารเพียงอย่างเดียว ทุกวันนี้ที่สถานการณ์ยังรุนแรง เป็นเพราะ ผู้นำท้องที่ ตำรวจ และ นายอำเภอ ส่วนหนึ่งไม่มีความเข็มแข็ง ในขณะที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ได้ทำหน้าที่ หรือ มีบทบาท ในการร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้ง ขาดอำนาจ ขาดงบประมาณ ขาดกำลัง และ ยุทโธปกรณ์ และที่สำคัญคือการ ขาดขวัญและกำลังจาก จากกรมการปกครอง
ซึ่งคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาของ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้เสนอให้อำนาจแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ใน 3 จังหวัด 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา เป็นหัวหน้าชุดคุ้มครองตำบล โดยให้มีกำลัง อส.1 หมวดๆ ละ 36 คน และให้ กรมการปกครองแก้ระเบียบให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ตำบล และ ผรส. เป็น อส.ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อที่จะให้สามารถควบคุม อส.ได้อย่างเต็มที่ ให้เพิ่มค่าตอบแทนให้กำนัน 15,000 บาท ผู้ใหญ่บ้าน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ เช่น สารวัตรกำนัน แพทย์ตำบลและ ผรส. 5,000 บาทต่อเดือน นอกเหนือจากเงินเดือนประจำ ส่วนกำลัง ชรบ. หมู่บ้านละ 30 คน ซึ่งปัจจุบันได้ค่าตอบแทน 20,000 บาทต่อเดือน เท่ากับวันละ 26 บาท ต่อคนต่อวัน ทำให้การรักษาความสงบทำได้ไม่เต็มที่ ขาดขวัญ กำลังใจ ให้เพิ่มเป็น 30,000 บาทต่อเดือน เท่ากับ ชรบ. ได้ค่าตอบแทนคนละ 1,000 บาทต่อเดือน
และขอการสนับสนุน รถจักรยายนต์ในการใช้ ลาดตระเวน พร้อม ยุทโธปกรณ์และสิ่งจำเป็น จากกรมการปกครองโดยจะมีการจัดโครงการ ตำบล นำร่อง จังหวัดละไม่ต่ำกว่า 22 ตำบล โดยจะเลือกตำบลที่มีความพร้อม ของผู้นำ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ ทีมงาน มีใจในการ “รุกรบ” มีความพร้อมที่จะ ปกครอง คุ้มครองหมู่บ้าน ตำบลของตนเอง และ มีตำบลรอบนอกเป็นบริวารเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันและกัน ซึ่งแผนงานทั้งหมด จะได้นำเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ซึ่งจะมีการประชุมคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ จ.ปัตตานี
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมด้วย กล่าวว่า ขอให้คณะทำงานชุดนี้ ร่วมกันผลักดันให้การแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้สำเร็จ ให้คณะทำงานนำเสนอในสิ่งที่เป็นไปได้ และสามารถทำได้ เพราะตนเองมีความเห็นเช่นเดียวกับคณะทำงานที่ว่า “เหตุเกิดที่หมู่บ้าน ชัยชนะ ต้องมาจากหมู่บ้าน” และไม่มีใครที่จะรู้ปัญหา รู้จักพื้นที่ รู้จักคนในพื้นที่ ได้ดีกว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำท้องที่อื่นๆ เพียงแต่ที่ผ่านมา ได้มีการให้อำนาจ ให้หน้าที่ให้งบประมาณ และ นโยบาย กับผู้นำท้องที่ชัดเจน ทำให้การแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำไม่สำเร็จ
วันนี้ (23 ต.ค.) ที่ห้องประชุมโออาร์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา ได้มีการประชุมคณะทำงานด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีความความมั่นคง โดยมีนายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม เพื่อแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
โดยในที่ประชุมมีความเห็นว่า สถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาใหญ่ที่สุดที่รัฐบาลต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถ้าประชาชนยังเสียชีวิตและบาดเจ็บรายวัน ยังมีการวางระเบิด วางเพลิง เกิดขึ้นทุกวัน ยอมแสดงให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ได้ผล
โดยที่ประชุมได้มีมติว่า “เหตุเกิดที่หมู่บ้าน ชัยชนะต้องมาจากหมู่บ้าน” จึงต้องเร่งสร้างความเข็มแข็งให้กับหมู่บ้าน ชุมชน ต่างๆ โดยการสถาปนาอำนาจในการรักษาความสงบให้กับผู้นำท้องที่ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอ และ ผู้กำกับ ต้องเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้กำลังของทหารเพียงอย่างเดียว ทุกวันนี้ที่สถานการณ์ยังรุนแรง เป็นเพราะ ผู้นำท้องที่ ตำรวจ และ นายอำเภอ ส่วนหนึ่งไม่มีความเข็มแข็ง ในขณะที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ไม่ได้ทำหน้าที่ หรือ มีบทบาท ในการร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้ง ขาดอำนาจ ขาดงบประมาณ ขาดกำลัง และ ยุทโธปกรณ์ และที่สำคัญคือการ ขาดขวัญและกำลังจาก จากกรมการปกครอง
ซึ่งคณะทำงานผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาของ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ได้เสนอให้อำนาจแก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ใน 3 จังหวัด 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา เป็นหัวหน้าชุดคุ้มครองตำบล โดยให้มีกำลัง อส.1 หมวดๆ ละ 36 คน และให้ กรมการปกครองแก้ระเบียบให้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ตำบล และ ผรส. เป็น อส.ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง เพื่อที่จะให้สามารถควบคุม อส.ได้อย่างเต็มที่ ให้เพิ่มค่าตอบแทนให้กำนัน 15,000 บาท ผู้ใหญ่บ้าน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ เช่น สารวัตรกำนัน แพทย์ตำบลและ ผรส. 5,000 บาทต่อเดือน นอกเหนือจากเงินเดือนประจำ ส่วนกำลัง ชรบ. หมู่บ้านละ 30 คน ซึ่งปัจจุบันได้ค่าตอบแทน 20,000 บาทต่อเดือน เท่ากับวันละ 26 บาท ต่อคนต่อวัน ทำให้การรักษาความสงบทำได้ไม่เต็มที่ ขาดขวัญ กำลังใจ ให้เพิ่มเป็น 30,000 บาทต่อเดือน เท่ากับ ชรบ. ได้ค่าตอบแทนคนละ 1,000 บาทต่อเดือน
และขอการสนับสนุน รถจักรยายนต์ในการใช้ ลาดตระเวน พร้อม ยุทโธปกรณ์และสิ่งจำเป็น จากกรมการปกครองโดยจะมีการจัดโครงการ ตำบล นำร่อง จังหวัดละไม่ต่ำกว่า 22 ตำบล โดยจะเลือกตำบลที่มีความพร้อม ของผู้นำ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ ทีมงาน มีใจในการ “รุกรบ” มีความพร้อมที่จะ ปกครอง คุ้มครองหมู่บ้าน ตำบลของตนเอง และ มีตำบลรอบนอกเป็นบริวารเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันและกัน ซึ่งแผนงานทั้งหมด จะได้นำเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ซึ่งจะมีการประชุมคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ จ.ปัตตานี
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เข้าร่วมประชุมด้วย กล่าวว่า ขอให้คณะทำงานชุดนี้ ร่วมกันผลักดันให้การแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้สำเร็จ ให้คณะทำงานนำเสนอในสิ่งที่เป็นไปได้ และสามารถทำได้ เพราะตนเองมีความเห็นเช่นเดียวกับคณะทำงานที่ว่า “เหตุเกิดที่หมู่บ้าน ชัยชนะ ต้องมาจากหมู่บ้าน” และไม่มีใครที่จะรู้ปัญหา รู้จักพื้นที่ รู้จักคนในพื้นที่ ได้ดีกว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำท้องที่อื่นๆ เพียงแต่ที่ผ่านมา ได้มีการให้อำนาจ ให้หน้าที่ให้งบประมาณ และ นโยบาย กับผู้นำท้องที่ชัดเจน ทำให้การแก้ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ทำไม่สำเร็จ