สุราษฎร์ธานี - ปธ.หอการค้าสุราษฎร์ฯ แนะภาครัฐหันมาให้ความสำคัญ พร้อมเทใจในการแก้ปัญหา ทั้งปัญหาในระยะสั้น และระยะยาว ขณะม็อบชาวสวนยางสุราษฎร์ฯ สลายตัวพร้อมเปิดเส้นทางการจราจรใช้ได้ตามปกติ
เวลาประมาณ 01.00 น. วันนี้ (5 ก.ย.) ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องกรณีการชุมนุมประท้วงของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.เกียรติพงศ์ ขาวสำอาง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ไปเจรจาตกลงกับ นายเสงียบ เกิดสมบัติ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมที่เหลือ เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม และเปิดเส้นทางจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 417
โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 1,000 คน ใช้เต็นท์ตั้งบนถนนสาย 41 บริเวณแยก 417 ห่างจากสนามบินนานาชาติสุราษฎร์ธานี ประมาณ 7-800 เมตร ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเคลื่อนย้ายเต็นท์ และอุปกรณ์การชุมนุมทั้งหมดออกจากเส้นทางที่มีการชุมนุม และหากผู้ชุมนุมรายใดไม่มียานพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา ทางศูนย์อำนวยการฯ จะดำเนินการจัดหายานพาหนะในการเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาต่อไป โดยผู้ชุมนุมได้ยุติการชุมนุม และเปิดเส้นทางการจราจรใช้ได้ตามปกติ
ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ แกนนำ และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะรอฟังผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ในวันนี้ที่กรุงเทพมหานคร หากผลการประชุมไม่เป็นที่พอใจกลุ่มแกนนำจะหารือเพื่อหาแนวทาง และกำหนดทิศทางการชุมนุมต่อไป
ด้านนายสุทัศน์ เลิศมโนรัตน์ ประธานหอการค้า จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เข้าใจจุดประสงค์หลักของม็อบชาวสวนยางว่าเขามาร่วมชุมนุมกันก็เพื่อต้องการกระตุ้นให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญพร้อมเทใจจริงในการแก้ปัญหาทั้งปัญหาในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายวิธีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพารา เช่น การสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาสร้างโรงงานยางพาราแปรรูป ซึ่งไม่ต้องพึ่งการส่งออกเป็นวัตถุดิบมากนัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เคยทำความเข้าใจ และหารือกับแกนนำผู้ชุมนุมว่าขออย่าให้มีการปิดถนน และรถไฟเพราะจะส่งผลกระทบหนักต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ
เวลาประมาณ 01.00 น. วันนี้ (5 ก.ย.) ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องกรณีการชุมนุมประท้วงของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.เกียรติพงศ์ ขาวสำอาง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ไปเจรจาตกลงกับ นายเสงียบ เกิดสมบัติ แกนนำกลุ่มผู้ชุมนุม และผู้ชุมนุมที่เหลือ เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม และเปิดเส้นทางจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41 ตัดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 417
โดยมีกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 1,000 คน ใช้เต็นท์ตั้งบนถนนสาย 41 บริเวณแยก 417 ห่างจากสนามบินนานาชาติสุราษฎร์ธานี ประมาณ 7-800 เมตร ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมยินยอมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเคลื่อนย้ายเต็นท์ และอุปกรณ์การชุมนุมทั้งหมดออกจากเส้นทางที่มีการชุมนุม และหากผู้ชุมนุมรายใดไม่มียานพาหนะเดินทางกลับภูมิลำเนา ทางศูนย์อำนวยการฯ จะดำเนินการจัดหายานพาหนะในการเดินทางเพื่อกลับภูมิลำเนาต่อไป โดยผู้ชุมนุมได้ยุติการชุมนุม และเปิดเส้นทางการจราจรใช้ได้ตามปกติ
ส่วนแนวโน้มสถานการณ์ แกนนำ และกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราจะรอฟังผลการประชุมจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ในวันนี้ที่กรุงเทพมหานคร หากผลการประชุมไม่เป็นที่พอใจกลุ่มแกนนำจะหารือเพื่อหาแนวทาง และกำหนดทิศทางการชุมนุมต่อไป
ด้านนายสุทัศน์ เลิศมโนรัตน์ ประธานหอการค้า จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เข้าใจจุดประสงค์หลักของม็อบชาวสวนยางว่าเขามาร่วมชุมนุมกันก็เพื่อต้องการกระตุ้นให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญพร้อมเทใจจริงในการแก้ปัญหาทั้งปัญหาในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายวิธีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพารา เช่น การสนับสนุนให้นักลงทุนเข้ามาสร้างโรงงานยางพาราแปรรูป ซึ่งไม่ต้องพึ่งการส่งออกเป็นวัตถุดิบมากนัก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เคยทำความเข้าใจ และหารือกับแกนนำผู้ชุมนุมว่าขออย่าให้มีการปิดถนน และรถไฟเพราะจะส่งผลกระทบหนักต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ