นครศรีธรรมราช - นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ออกโรงเฉ่งม็อบ โยงการเมืองสร้างความเดือดร้อน กำนันชะอวดอัดซ้ำเตรียมขนม็อบชน นัดประชุมด่วน 09.00 น. วันนี้ ขณะที่พ่อเมืองนครศรีธรรมราช วืดขออำนาจศาลบังคับม็อบเปิดพื้นที่ แต่อนุมัติหมายจับแล้ว 2 ล็อต รวม 11 ราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา (27 ส.ค.) ความคืบหน้าสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยที่บริเวณแยกควนหนองหงส์ ประชาชนยังหนาตาเช่นเดียวกับตลอด 5 คืนที่ผ่านมา ส่วนที่แยกบ้านตูล มีการปิดกั้นด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่จนเต็มตลอดทั้งแยก รวมทั้งรถบัสโดยสารขนาดใหญ่ ส่วนทางรถไฟนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำเอารถบรรทุกคอนเทนเนอร์ และรถยนต์บรรทุก 18 ล้อ เข้าขวางทางรถไฟยังไม่สามารถใช้การได้ บรรยากาศเป็นไปอย่างตึงเครียด มีการเตรียมอิฐ หิน และไม้ เพื่อป้องกันพื้นที่ชุมนุม ขณะที่บนท้องฟ้าก็มีเฮลิคอปเตอร์ของกองบินตำรวจบินสำรวจพื้นที่ชุมนุม และมีความสอดรับกับกระแสข่าวในการเข้าสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเริ่มหนุนกำลังกองร้อยปราบจลาจลเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ส่วนบนเวทีนั้นมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน
และในช่วงค่ำวันเดียวกัน นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นางเพ็ญศรี ทองบุญยัง ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอชะอวด พรอมด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้านใน อ.จุฬาภรณ์ และ อ.ชะอวด ร่วมแถลงข่าวประณามการกระทำของกลุ่มม็อบที่ปิดถนนสาย 4151 บ่อล้อ-ชะอวด และทางข้ามรถไฟบริเวณแยกบ้านควนเงิน ต.บ้านตูล ส่งผลให้การจราจรทั้งรถยนต์ และรถไฟไม่สามารถใช้การได้
นางเพ็ญศรี ระบุว่า การเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมในขณะนี้ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และผิดกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลมีความจริงใจในการลงมาแก้ปัญหาแล้ว แต่ผู้ชุมนุมบางส่วนกลับไม่ยอมรับ โดยการกระทำที่เกิดขึ้นเชื่อว่าเป็นการกระทำจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาสร้างความวุ่นวาย ทั้งนี้ กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง 23 อำเภอ ได้พร้อมใจกันที่จะกลับไปทำความเข้าใจกับลูกบ้านของตนเองให้เข้าใจข้อเท็จจริง และไม่เข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว
“ประชาชนในพื้นที่ที่ได้เดินทางมาร่วมชุมนุมแล้ว ก็ขอให้เดินทางกลับบ้านของตนเองดีกว่า เพราะหากการชุมนุมยังคงยืดเยื้อจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยภาพรวม นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่ก็ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักเรียนที่ได้รับความลำบากในการเดินทางไปโรงเรียนซึ่งต้องผ่านเส้นทางดังกล่าว และบางโรงเรียน เช่น โรงเรียนบ้านควนเงิน ก็ต้องปิดการเรียนการสอน เพราะหวั่นว่านักเรียนได้รับอันตรายจากการชุมนุม” นางเพ็ญศรีกล่าว
ขณะที่นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่ประเทศไทย กล่าวว่า เรายอมไม่ได้ ขอให้หยุดการกระทำเช่นนี้ เรายอมรับไม่ได้ มวลชนชาวชะอวดจะออกมาคัดค้าน และหากว่ายังอยากที่จะประท้วงก็ให้กลับไปประท้วงที่บ้านของเขา อยู่พัทลุงก็ไปจัดที่พัทลุง สงขลา ตรัง ก็ให้ไปที่ตรงนั้น เรายอมไม่ได้หากม็อบนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเมือง เป็นเครื่องมือของนักการเมือง แม้สื่อมวลชนยังถูกคุกคาม ทั้งนี้ กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง 23 อำเภอ มีมติร่วมกันที่จะจัดส่งตัวแทนเข้าไปร่วมเจรจากับผู้ชุมนุม เพื่อขอร้องให้ยุติการชุมนุม และคืนพื้นที่การจราจรให้แก่ประชาชนในวันนี้ (28 ส.ค.) และหากการเจรจาไม่เป็นผล ก็จะรวมพลคนรักชะอวดร่วมผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่อำเภอชะอวด
ขณะเดียวกัน หอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ออกแถลงการณ์เรื่องการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องวิฤตผลผลิตยาง และปาล์ม ราคาตกต่ำฉบับที่ 1 มีข้อเรียกร้องดังนี้ คือ
1.ขอให้รัฐบาลแต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็มในการเจรจากับผู้แทนชาวสวนยาง และสวนปาล์มลงมาแก้ไขปัญหาโดยด่วน
2.ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันการสูญเสีย
หอการค้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ทั้งนี้ ในส่วนของความคืบหน้าในการพยายามในการใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (27 ส.ค.) ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีคำสั่งยกคำร้องของผู้รับมอบอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากที่ยื่นคำร้องไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขออำนาจศาลให้มีคำสั่งบังคับคืนพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะเส้นทางเดินรถไฟ และถนนในบริเวณแยกบ้านตูล เนื่องจากส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนในวงกว้าง โดยศาลระบุว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช มีอำนาจเต็มในการบังคับใช้กฎหมาย
ในส่วนของการดำเนินการกับตัวบุคคลนั้น พล.ต.ต.รณพงศ์ ทรายแก้ว ผบก.ภ.นครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.เจียร ชูหนู หัวหน้าพนักงานสอบสวน สภ.หัวไทร พ.ต.ท.อนันต์ เปาะทองคำ หัวหน้าพนักงานสอบสวน สภ.ชะอวด เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสรุปสำนวนเพื่อเสนอศาลขออนุมัติหมายจับกลุ่มแกนนำในการชุมนุมประท้วง โดยชุดแรก จำนวน 6 คน เป็นความผิดที่เกิดขึ้นในวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาในช่วงการชุลมุนกับเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชน คือ
1.นางชญานิน คงสง
2.นายก้องเกียรติ หรือประจวบ ชูทอง
3.นายสมภาษณ์ ขวัญทอง
4.นายสัมมิตร จุ้ยปลอด
5.นายประภาศ ภักดีรัตน์
และ 6.นางวนิดา แก้วมณี
โดยทั้งหมดจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันชุมมุนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ส่วนในชุดที่ 2 จำนวน 5 รายนั้น เป็นความผิดที่เกิดขึ้นในการปิดทางสาธารณะ และทางเดินรถไฟเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา คือ นายเหลื่อม รัตนสุวรรณ ชาว ต.เขาพระทอง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช และอีก 4 รายนั้นเป็นการอนุมัติหมายจับตามภาพถ่าย หรือตามรูปพรรณ โดยมีข้อกล่าวหาคือ กระทำการใดๆ ให้ทางสาธารณะอยู่ในลักษณะเป็นเหตุให้เกิดเป็นอันตรายแก่การจราจร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 229
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา (27 ส.ค.) ความคืบหน้าสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยที่บริเวณแยกควนหนองหงส์ ประชาชนยังหนาตาเช่นเดียวกับตลอด 5 คืนที่ผ่านมา ส่วนที่แยกบ้านตูล มีการปิดกั้นด้วยรถบรรทุกขนาดใหญ่จนเต็มตลอดทั้งแยก รวมทั้งรถบัสโดยสารขนาดใหญ่ ส่วนทางรถไฟนั้น กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำเอารถบรรทุกคอนเทนเนอร์ และรถยนต์บรรทุก 18 ล้อ เข้าขวางทางรถไฟยังไม่สามารถใช้การได้ บรรยากาศเป็นไปอย่างตึงเครียด มีการเตรียมอิฐ หิน และไม้ เพื่อป้องกันพื้นที่ชุมนุม ขณะที่บนท้องฟ้าก็มีเฮลิคอปเตอร์ของกองบินตำรวจบินสำรวจพื้นที่ชุมนุม และมีความสอดรับกับกระแสข่าวในการเข้าสลายการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการเริ่มหนุนกำลังกองร้อยปราบจลาจลเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน ส่วนบนเวทีนั้นมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนปราศรัยของกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน
และในช่วงค่ำวันเดียวกัน นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย นางเพ็ญศรี ทองบุญยัง ประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอชะอวด พรอมด้วยกำนันผู้ใหญ่บ้านใน อ.จุฬาภรณ์ และ อ.ชะอวด ร่วมแถลงข่าวประณามการกระทำของกลุ่มม็อบที่ปิดถนนสาย 4151 บ่อล้อ-ชะอวด และทางข้ามรถไฟบริเวณแยกบ้านควนเงิน ต.บ้านตูล ส่งผลให้การจราจรทั้งรถยนต์ และรถไฟไม่สามารถใช้การได้
นางเพ็ญศรี ระบุว่า การเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมในขณะนี้ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และผิดกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลมีความจริงใจในการลงมาแก้ปัญหาแล้ว แต่ผู้ชุมนุมบางส่วนกลับไม่ยอมรับ โดยการกระทำที่เกิดขึ้นเชื่อว่าเป็นการกระทำจากบุคคลภายนอกที่เข้ามาสร้างความวุ่นวาย ทั้งนี้ กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง 23 อำเภอ ได้พร้อมใจกันที่จะกลับไปทำความเข้าใจกับลูกบ้านของตนเองให้เข้าใจข้อเท็จจริง และไม่เข้าร่วมการชุมนุมดังกล่าว
“ประชาชนในพื้นที่ที่ได้เดินทางมาร่วมชุมนุมแล้ว ก็ขอให้เดินทางกลับบ้านของตนเองดีกว่า เพราะหากการชุมนุมยังคงยืดเยื้อจะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจโดยภาพรวม นอกจากนี้ ประชาชนในพื้นที่ก็ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักเรียนที่ได้รับความลำบากในการเดินทางไปโรงเรียนซึ่งต้องผ่านเส้นทางดังกล่าว และบางโรงเรียน เช่น โรงเรียนบ้านควนเงิน ก็ต้องปิดการเรียนการสอน เพราะหวั่นว่านักเรียนได้รับอันตรายจากการชุมนุม” นางเพ็ญศรีกล่าว
ขณะที่นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่ประเทศไทย กล่าวว่า เรายอมไม่ได้ ขอให้หยุดการกระทำเช่นนี้ เรายอมรับไม่ได้ มวลชนชาวชะอวดจะออกมาคัดค้าน และหากว่ายังอยากที่จะประท้วงก็ให้กลับไปประท้วงที่บ้านของเขา อยู่พัทลุงก็ไปจัดที่พัทลุง สงขลา ตรัง ก็ให้ไปที่ตรงนั้น เรายอมไม่ได้หากม็อบนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเมือง เป็นเครื่องมือของนักการเมือง แม้สื่อมวลชนยังถูกคุกคาม ทั้งนี้ กำนันผู้ใหญ่บ้านทั้ง 23 อำเภอ มีมติร่วมกันที่จะจัดส่งตัวแทนเข้าไปร่วมเจรจากับผู้ชุมนุม เพื่อขอร้องให้ยุติการชุมนุม และคืนพื้นที่การจราจรให้แก่ประชาชนในวันนี้ (28 ส.ค.) และหากการเจรจาไม่เป็นผล ก็จะรวมพลคนรักชะอวดร่วมผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่อำเภอชะอวด
ขณะเดียวกัน หอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ออกแถลงการณ์เรื่องการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องวิฤตผลผลิตยาง และปาล์ม ราคาตกต่ำฉบับที่ 1 มีข้อเรียกร้องดังนี้ คือ
1.ขอให้รัฐบาลแต่งตั้งผู้มีอำนาจเต็มในการเจรจากับผู้แทนชาวสวนยาง และสวนปาล์มลงมาแก้ไขปัญหาโดยด่วน
2.ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันการสูญเสีย
หอการค้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ และเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
ทั้งนี้ ในส่วนของความคืบหน้าในการพยายามในการใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดำเนินการกับกลุ่มผู้ชุมนุมนั้น เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (27 ส.ค.) ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีคำสั่งยกคำร้องของผู้รับมอบอำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช หลังจากที่ยื่นคำร้องไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อขออำนาจศาลให้มีคำสั่งบังคับคืนพื้นที่สาธารณะ โดยเฉพาะเส้นทางเดินรถไฟ และถนนในบริเวณแยกบ้านตูล เนื่องจากส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถใช้ถนนในวงกว้าง โดยศาลระบุว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช มีอำนาจเต็มในการบังคับใช้กฎหมาย
ในส่วนของการดำเนินการกับตัวบุคคลนั้น พล.ต.ต.รณพงศ์ ทรายแก้ว ผบก.ภ.นครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.เจียร ชูหนู หัวหน้าพนักงานสอบสวน สภ.หัวไทร พ.ต.ท.อนันต์ เปาะทองคำ หัวหน้าพนักงานสอบสวน สภ.ชะอวด เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และสรุปสำนวนเพื่อเสนอศาลขออนุมัติหมายจับกลุ่มแกนนำในการชุมนุมประท้วง โดยชุดแรก จำนวน 6 คน เป็นความผิดที่เกิดขึ้นในวันที่ 23 ส.ค.ที่ผ่านมาในช่วงการชุลมุนกับเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมฝูงชน คือ
1.นางชญานิน คงสง
2.นายก้องเกียรติ หรือประจวบ ชูทอง
3.นายสมภาษณ์ ขวัญทอง
4.นายสัมมิตร จุ้ยปลอด
5.นายประภาศ ภักดีรัตน์
และ 6.นางวนิดา แก้วมณี
โดยทั้งหมดจะถูกแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันชุมมุนตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ส่วนในชุดที่ 2 จำนวน 5 รายนั้น เป็นความผิดที่เกิดขึ้นในการปิดทางสาธารณะ และทางเดินรถไฟเมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา คือ นายเหลื่อม รัตนสุวรรณ ชาว ต.เขาพระทอง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช และอีก 4 รายนั้นเป็นการอนุมัติหมายจับตามภาพถ่าย หรือตามรูปพรรณ โดยมีข้อกล่าวหาคือ กระทำการใดๆ ให้ทางสาธารณะอยู่ในลักษณะเป็นเหตุให้เกิดเป็นอันตรายแก่การจราจร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 229