ปัตตานี - ภาคธุรกิจเอกชนปลื้ม! ผู้ว่าฯ ปัตตานี เพิ่มเงินเยียวยาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟใต้ เบื้องต้นจาก 25% เป็น 50% พร้อมเผยไม่สนเปลี่ยนตัว BRN หนุนเจรจาต่อ ขอแค่เกิดผลเป็นรูปธรรมให้พื้นที่สงบสุข
วันนี้ (5 ส.ค.) นายศิริชัย ปิติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสข่าวจะปรับเปลี่ยนตัวบุคคลในขบวนการ BRN ที่พูดคุยกับทางการไทยว่า ในการพูดคุยเจรจาหารือระหว่าง BRN และฝ่ายไทยนั้น ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นใคร จะกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่ม หากทำให้เกิดความสงบสุข ยุติเหตุความไม่สงบได้ ทางภาคเอกชนมีความยินดี และพร้อมสนับสนุนทุกคนทุกฝ่าย เพราะไม่ได้มองที่ตัวบุคคล แต่สิ่งสำคัญคือ ผลการหารือต้องมีความชัดเจนเห็นผลเป็นรูปธรรม
“สถานการณ์ในขณะนี้หากการพูดคุยกันแต่ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม ทางภาคเอกชนก็ไม่ขอออกความเห็น แต่ก็ขอให้กำลังใจแก่ทุกฝ่ายให้พยายามแก้ปัญหากันต่อไป ส่วนภาคเอกชนก็จะมุ่งเน้นในการพยุงเศรษฐกิจในพื้นที่ให้อยู่รอดท่ามกลางสถานการณ์ต่อไป เพื่อช่วยเหลือปากท้องของคนในพื้นที่” ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าว
นอกจากนี้ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี เปิดเผยภายหลังร่วมหารือกับ นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพื่อหาแนวทางการชดเชยความเสียหายจากการก่อเหตุความไม่สงบ ลอบวางเพลิงภาคธุรกิจ โรงงาน ร้านค้า ใน จ.ปัตตานี ที่ผ่านมาว่า ในด้านภาพรวมวงเงินความเสียหายทั้งหมดนั้น ขณะนี้ทางจังหวัดอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลความเสียหายของทรัพย์สินที่แท้จริง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ แต่ในเบื้องต้น สำหรับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายในทรัพย์สิน ทางจังหวัดได้ยืนยันว่าจะเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเยียวยาการชดเชยทางการเงินเบื้องต้นในจำนวน 50% ของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย จากเดิมที่จะให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น จำนวน 25% ของการประเมินความเสียหาย
ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางภาคเอกชนถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่มีการเพิ่มอัตราวงเงินความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก 25% เป็น 50% ในครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับความสูญเสีย พยุงสถานะทางการเงินได้ระดับหนึ่งก่อนที่จะเปิดกิจการได้อีกครั้ง เพราะจากสถานการณ์รอบด้านในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ความสูญเสียของภาคธุรกิจครั้งนี้ถือว่ารุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบต้องแบกรับภาระจากความสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังต้องแบกรับภาระจากภาวะเศรษฐกิจ และจากการปรับอัตราค่าจ้าง 300 บาท ซึ่งทางธุรกิจต้องแบกรับภาระช่วยเหลือลูกจ้างแรงงานที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน
วันนี้ (5 ส.ค.) นายศิริชัย ปิติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี เปิดเผยถึงกรณีมีกระแสข่าวจะปรับเปลี่ยนตัวบุคคลในขบวนการ BRN ที่พูดคุยกับทางการไทยว่า ในการพูดคุยเจรจาหารือระหว่าง BRN และฝ่ายไทยนั้น ไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นใคร จะกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่ม หากทำให้เกิดความสงบสุข ยุติเหตุความไม่สงบได้ ทางภาคเอกชนมีความยินดี และพร้อมสนับสนุนทุกคนทุกฝ่าย เพราะไม่ได้มองที่ตัวบุคคล แต่สิ่งสำคัญคือ ผลการหารือต้องมีความชัดเจนเห็นผลเป็นรูปธรรม
“สถานการณ์ในขณะนี้หากการพูดคุยกันแต่ยังไม่มีผลเป็นรูปธรรม ทางภาคเอกชนก็ไม่ขอออกความเห็น แต่ก็ขอให้กำลังใจแก่ทุกฝ่ายให้พยายามแก้ปัญหากันต่อไป ส่วนภาคเอกชนก็จะมุ่งเน้นในการพยุงเศรษฐกิจในพื้นที่ให้อยู่รอดท่ามกลางสถานการณ์ต่อไป เพื่อช่วยเหลือปากท้องของคนในพื้นที่” ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าว
นอกจากนี้ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี เปิดเผยภายหลังร่วมหารือกับ นายประมุข ลมุล ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เพื่อหาแนวทางการชดเชยความเสียหายจากการก่อเหตุความไม่สงบ ลอบวางเพลิงภาคธุรกิจ โรงงาน ร้านค้า ใน จ.ปัตตานี ที่ผ่านมาว่า ในด้านภาพรวมวงเงินความเสียหายทั้งหมดนั้น ขณะนี้ทางจังหวัดอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลความเสียหายของทรัพย์สินที่แท้จริง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ แต่ในเบื้องต้น สำหรับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายในทรัพย์สิน ทางจังหวัดได้ยืนยันว่าจะเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเยียวยาการชดเชยทางการเงินเบื้องต้นในจำนวน 50% ของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย จากเดิมที่จะให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น จำนวน 25% ของการประเมินความเสียหาย
ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางภาคเอกชนถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่มีการเพิ่มอัตราวงเงินความช่วยเหลือเบื้องต้นจาก 25% เป็น 50% ในครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับความสูญเสีย พยุงสถานะทางการเงินได้ระดับหนึ่งก่อนที่จะเปิดกิจการได้อีกครั้ง เพราะจากสถานการณ์รอบด้านในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ความสูญเสียของภาคธุรกิจครั้งนี้ถือว่ารุนแรงกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบต้องแบกรับภาระจากความสูญเสียทรัพย์สินแล้ว ยังต้องแบกรับภาระจากภาวะเศรษฐกิจ และจากการปรับอัตราค่าจ้าง 300 บาท ซึ่งทางธุรกิจต้องแบกรับภาระช่วยเหลือลูกจ้างแรงงานที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน