ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นครศรีธรรมราช เปิด 20 กลยุทธ์เชิงรุก เพิ่มรายได้ให้ประชาชน จากการท่องเที่ยว เกษตร และสินค้าโอทอป พร้อมดูแลเยาวชน
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ให้ทุกจังหวัดเร่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน จากการท่องเที่ยว การผลิตและจำหน่ายผลิตผลทางเกษตร และผลิตภัณฑ์โอทอปที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยใช้การตลาดเป็นตัวนำ อีกทั้งให้เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด และคุ้มครองดูแล เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำหนดแผนกลยุทธ์เชิงรุก เพื่อดำเนินการดังกล่าวในลักษณะบูรณาการภายใต้โครงการ “นครศรีดี๊ดี เฟส 2” ประกอบด้วย 20 กลยุทธ์สำคัญ คือ
1.ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวตามแคมเปญ “นครศรีดี๊ดี” อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้จังหวัดเป็นเมืองท่องเที่ยวโดยสมบูรณ์ภายใน 2 ปี
2.ริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่โดนใจคนรุ่นใหม่โดยใช้ดนตรีเป็นตัวนำ เพื่อสร้างกระแส “คนทันสมัยต้องไปเมืองคอน” และนำเสนอกิจกรรมเด่นบรรจุในปฏิทินกิจกรรมท่องเที่ยวหลักของ ททท. เพิ่มเติมจากงานประเพณีต่างๆ ที่มีอยู่เดิม
3.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนพระธาตุสู่มรดกโลก ภายใต้แคมเปญ “เยือนเมืองคอน ตามรอยธรรม เพิ่มพลังชีวิต เสริมสิริมงคล”
4.เปิดแคมเปญ “ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพกายใจ ต้องไปเมืองคอน” เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรักสุขภาพ พักผ่อนหลังเกษียณ พักฟื้นหลังเจ็บป่วย เน้นแพทย์แผนไทย สปา อาหารเพื่อสุขภาพ ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และไหว้พระทำบุญ ปฏิบัติธรรม โดยในอนาคตจะผลักดันให้มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในระดับนานาชาติที่ศูนย์แพทย์วลัยลักษณ์ด้วย
5.จูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์เชื้อสายจีนที่มาสักการะพระธาตุ พักค้างคืนและเดินทางต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของจังหวัดเพิ่มขึ้น อีกทั้งเชิญชวนให้ผู้ที่มาแล้วเดินทางกลับมาอีก โดยชูคำขวัญ “กราบพระธาตุ 9 ครั้ง มั่งมีศรีสุข”
6.สร้างภาพลักษณ์การเป็น “ดินแดนสันติสุขบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม” โดยใช้ “ถนน 5 วัฒนธรรม” เป็นตัวนำ และใช้กลยุทธ์ “การท่องเที่ยวฮาลาล” เจาะตลาดจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนักท่องเที่ยวมุสลิมจากกลุ่มอาเซียน
7.รุกตลาด “ไมซ์” การประชุม สัมมนา เรียนรู้ ศึกษาดูงาน ภายใต้แคมเปญ “เที่ยวแบบกูรู : เรียนรู้ดูงาน @ เมืองคอน” และต่อเนื่องด้วยการท่องเที่ยวเชิงกีฬา สร้างสรรค์ บำเพ็ญประโยชน์ ตอบแทนสังคม
8.เจาะตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น ยุโรป/สแกนดินีเวีย ชวนมาเที่ยวขนอมซึ่งเป็นเมืองชายทะเลที่ยังเงียบสงบ นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเชื่อมโยงจากสายสัมพันธ์เรื่องยามาดะอดีตเจ้าเมืองนครฯ นักท่องเที่ยวชาวจีนเน้นเรื่องการไหว้พระทำบุญ อาหารและเที่ยวทะเล รวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจเรื่องมรดกโลก การผจญภัย เดินป่า ดูนกและพักผ่อนแบบลองสเตย์
9.ดึงนักเดินทางที่ผ่านถนนเอเชียให้แวะไหว้พระธาตุ และเที่ยวชิม ชอปในเมืองนครฯ ภายใต้แคมเปญ “นครน่าแวะ” และผลักดันให้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครฯ ได้รับบรรจุไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวต่างๆ
10.เปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ เช่น ถ้ำน้ำศรีธรรมโศกราชลานสกา ล่องเรือดูวิถีชีวิตชุมชนชะอวด พิพิธภัณฑ์รังนกปากพนัง อ่างเก็บน้ำกะทูนอำเภอพิปูน ชายทะเลทุ่งใส-หินงามอำเภอสิชล พิพิธภัณฑ์ลูกปัดหาดทรายแก้ว อาหารอร่อยที่จันดีนาบอน เป็นต้น
11.ปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โบราณสถานที่สำคัญ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งจัดให้มีลานวัฒนธรรม และกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด หรือเทศกาล
12.สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย ตามวาระ “นครปลอดภัย” แก้ไขปัญหาจราจร เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง และยกระดับสนามบินนครฯ เป็น “ท่าอากาศยานด่านศุลกากร” เพื่อพัฒนาสู่ “สนามบินนานาชาติ” ในอนาคต
13.ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร/ผู้ประกอบการท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างความตระหนักการเป็นเจ้าบ้านที่ดีภายใต้แนวคิด “เจ้าบ้านดี๊ดี” ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานที่พัก และบริการนำเที่ยวภายใต้โครงการ “บริการนครศรี ดี เด่น โดน” พัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นควบคู่กับมัคคุเทศก์อาชีพ และยุวมัคคุเทศก์ เพิ่มทักษะประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาสาขาท่องเที่ยวโดยการฝึกปฏิบัติจริงในกิจกรรมต่างๆ
14.บูรณาการการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับการส่งเสริมการตลาด ผลิตผลทางการเกษตร อาหารและสินค้าโอทอปอย่างเป็นระบบ
15.เปิดโครงการ “เกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรและแปรรูปการเกษตร ขยายฐานการผลิต เจาะตลาดพรีเมียม ขานรับตลาดสุขภาพ และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เรียนรู้ดูงาน
16.เปิดร้าน “กรีนชอป” เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร และผู้บริโภคที่รักสุขภาพ พัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตรที่หัวอิฐ สนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์นครผักผลไม้เพื่อรวบรวมสินค้าที่ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกทั้งใน และต่างประเทศ รวมทั้งผลักดันการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ที่อำเภอทุ่งสง
17.กำหนดแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และการตลาดสินค้าโอทอป และเอสเอ็มอี ในเชิงรุกภายใต้แคมเปญ “ผลิตภัณฑ์นครศรี ดี เด่น โดน” และเสริมด้วย การสร้าง “แบรนด์” สินค้าเกษตรและแปรรูปเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตเพื่อสร้างความจดจำ 90 รายการ เช่น ส้มโอ ทับทิมสยาม มังคุดภูเขาคีรีวง ฯลฯ นอกจากนี้ จะจัดให้มีงาน “นครหัตถศิลป์ : 1 ศตวรรษถมนคร” เพื่อเชื่อมโยงการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์/หัตถกรรมกับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมด้วย
18.รุกตลาดอาหารด้วยแคมเปญ “นคร หรอย-ดี” ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์อาหารเมืองคอนว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และใช้ร้านอาหารของคนนครฯ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เป็นช่องทางส่งเสริมการตลาดสินค้าโอทอปประเภทอาหาร เช่น ข้าวอินทรีย์ เครื่องแกง เครื่องเทศ ผลไม้ อาหารทะเลและแปรรูป ขนม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
19.รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำลำคลอง ตามวาระ “นครสีเขียว” โดยชี้ให้เห็นประโยชน์อย่างยั่งยืนที่จะได้จากการท่องเที่ยว
20.ผนึกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด เพื่อให้นครเป็นเมืองน่าอยู่น่าเที่ยว รณรงค์สร้างค่านิยมของคนนครให้ยึดมั่นในธรรมะ รักสันติตามคำขวัญ ประจำเมืองเพื่อลดภาพลักษณ์ “เมืองคนดุ” สร้างความภาคภูมิใจต่อรากเหง้าของตนเองให้แก่เด็กนคร ตามวาระ “ภูมิใจนคร” และเปิดพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ให้แก่เยาวชน เพื่อให้จังหวัดเป็น “นครแห่งการเรียนรู้” และ “เด็กนครศรีมีอนาคต” ตามแนวทางปฏิบัติราชการ “3 พันธะ 12 วาระเมืองนคร”
นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลที่ให้ทุกจังหวัดเร่งพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน จากการท่องเที่ยว การผลิตและจำหน่ายผลิตผลทางเกษตร และผลิตภัณฑ์โอทอปที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยใช้การตลาดเป็นตัวนำ อีกทั้งให้เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด และคุ้มครองดูแล เปิดพื้นที่ให้เด็ก เยาวชนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกำหนดแผนกลยุทธ์เชิงรุก เพื่อดำเนินการดังกล่าวในลักษณะบูรณาการภายใต้โครงการ “นครศรีดี๊ดี เฟส 2” ประกอบด้วย 20 กลยุทธ์สำคัญ คือ
1.ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยวตามแคมเปญ “นครศรีดี๊ดี” อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้จังหวัดเป็นเมืองท่องเที่ยวโดยสมบูรณ์ภายใน 2 ปี
2.ริเริ่มจัดกิจกรรมท่องเที่ยวที่โดนใจคนรุ่นใหม่โดยใช้ดนตรีเป็นตัวนำ เพื่อสร้างกระแส “คนทันสมัยต้องไปเมืองคอน” และนำเสนอกิจกรรมเด่นบรรจุในปฏิทินกิจกรรมท่องเที่ยวหลักของ ททท. เพิ่มเติมจากงานประเพณีต่างๆ ที่มีอยู่เดิม
3.ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนพระธาตุสู่มรดกโลก ภายใต้แคมเปญ “เยือนเมืองคอน ตามรอยธรรม เพิ่มพลังชีวิต เสริมสิริมงคล”
4.เปิดแคมเปญ “ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพกายใจ ต้องไปเมืองคอน” เจาะกลุ่มเป้าหมายคนรักสุขภาพ พักผ่อนหลังเกษียณ พักฟื้นหลังเจ็บป่วย เน้นแพทย์แผนไทย สปา อาหารเพื่อสุขภาพ ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และไหว้พระทำบุญ ปฏิบัติธรรม โดยในอนาคตจะผลักดันให้มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในระดับนานาชาติที่ศูนย์แพทย์วลัยลักษณ์ด้วย
5.จูงใจให้นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย และสิงคโปร์เชื้อสายจีนที่มาสักการะพระธาตุ พักค้างคืนและเดินทางต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ของจังหวัดเพิ่มขึ้น อีกทั้งเชิญชวนให้ผู้ที่มาแล้วเดินทางกลับมาอีก โดยชูคำขวัญ “กราบพระธาตุ 9 ครั้ง มั่งมีศรีสุข”
6.สร้างภาพลักษณ์การเป็น “ดินแดนสันติสุขบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม” โดยใช้ “ถนน 5 วัฒนธรรม” เป็นตัวนำ และใช้กลยุทธ์ “การท่องเที่ยวฮาลาล” เจาะตลาดจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนักท่องเที่ยวมุสลิมจากกลุ่มอาเซียน
7.รุกตลาด “ไมซ์” การประชุม สัมมนา เรียนรู้ ศึกษาดูงาน ภายใต้แคมเปญ “เที่ยวแบบกูรู : เรียนรู้ดูงาน @ เมืองคอน” และต่อเนื่องด้วยการท่องเที่ยวเชิงกีฬา สร้างสรรค์ บำเพ็ญประโยชน์ ตอบแทนสังคม
8.เจาะตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกลุ่มเฉพาะ เช่น ยุโรป/สแกนดินีเวีย ชวนมาเที่ยวขนอมซึ่งเป็นเมืองชายทะเลที่ยังเงียบสงบ นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเชื่อมโยงจากสายสัมพันธ์เรื่องยามาดะอดีตเจ้าเมืองนครฯ นักท่องเที่ยวชาวจีนเน้นเรื่องการไหว้พระทำบุญ อาหารและเที่ยวทะเล รวมทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สนใจเรื่องมรดกโลก การผจญภัย เดินป่า ดูนกและพักผ่อนแบบลองสเตย์
9.ดึงนักเดินทางที่ผ่านถนนเอเชียให้แวะไหว้พระธาตุ และเที่ยวชิม ชอปในเมืองนครฯ ภายใต้แคมเปญ “นครน่าแวะ” และผลักดันให้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครฯ ได้รับบรรจุไว้ในโปรแกรมท่องเที่ยวของบริษัทนำเที่ยวต่างๆ
10.เปิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ เช่น ถ้ำน้ำศรีธรรมโศกราชลานสกา ล่องเรือดูวิถีชีวิตชุมชนชะอวด พิพิธภัณฑ์รังนกปากพนัง อ่างเก็บน้ำกะทูนอำเภอพิปูน ชายทะเลทุ่งใส-หินงามอำเภอสิชล พิพิธภัณฑ์ลูกปัดหาดทรายแก้ว อาหารอร่อยที่จันดีนาบอน เป็นต้น
11.ปรับปรุงพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โบราณสถานที่สำคัญ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งจัดให้มีลานวัฒนธรรม และกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุด หรือเทศกาล
12.สร้างความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย ตามวาระ “นครปลอดภัย” แก้ไขปัญหาจราจร เพิ่มความสะดวกในการเดินทาง และยกระดับสนามบินนครฯ เป็น “ท่าอากาศยานด่านศุลกากร” เพื่อพัฒนาสู่ “สนามบินนานาชาติ” ในอนาคต
13.ส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร/ผู้ประกอบการท่องเที่ยว รวมทั้งสร้างความตระหนักการเป็นเจ้าบ้านที่ดีภายใต้แนวคิด “เจ้าบ้านดี๊ดี” ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานที่พัก และบริการนำเที่ยวภายใต้โครงการ “บริการนครศรี ดี เด่น โดน” พัฒนามัคคุเทศก์ท้องถิ่นควบคู่กับมัคคุเทศก์อาชีพ และยุวมัคคุเทศก์ เพิ่มทักษะประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาสาขาท่องเที่ยวโดยการฝึกปฏิบัติจริงในกิจกรรมต่างๆ
14.บูรณาการการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับการส่งเสริมการตลาด ผลิตผลทางการเกษตร อาหารและสินค้าโอทอปอย่างเป็นระบบ
15.เปิดโครงการ “เกษตรสุขภาพ เกษตรคุณภาพ” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อสินค้าเกษตรและแปรรูปการเกษตร ขยายฐานการผลิต เจาะตลาดพรีเมียม ขานรับตลาดสุขภาพ และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เรียนรู้ดูงาน
16.เปิดร้าน “กรีนชอป” เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกร และผู้บริโภคที่รักสุขภาพ พัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตรที่หัวอิฐ สนับสนุนการจัดตั้งสหกรณ์นครผักผลไม้เพื่อรวบรวมสินค้าที่ได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกทั้งใน และต่างประเทศ รวมทั้งผลักดันการจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าภาคใต้ที่อำเภอทุ่งสง
17.กำหนดแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และการตลาดสินค้าโอทอป และเอสเอ็มอี ในเชิงรุกภายใต้แคมเปญ “ผลิตภัณฑ์นครศรี ดี เด่น โดน” และเสริมด้วย การสร้าง “แบรนด์” สินค้าเกษตรและแปรรูปเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตเพื่อสร้างความจดจำ 90 รายการ เช่น ส้มโอ ทับทิมสยาม มังคุดภูเขาคีรีวง ฯลฯ นอกจากนี้ จะจัดให้มีงาน “นครหัตถศิลป์ : 1 ศตวรรษถมนคร” เพื่อเชื่อมโยงการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์หัตถศิลป์/หัตถกรรมกับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมด้วย
18.รุกตลาดอาหารด้วยแคมเปญ “นคร หรอย-ดี” ประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์อาหารเมืองคอนว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และใช้ร้านอาหารของคนนครฯ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ เป็นช่องทางส่งเสริมการตลาดสินค้าโอทอปประเภทอาหาร เช่น ข้าวอินทรีย์ เครื่องแกง เครื่องเทศ ผลไม้ อาหารทะเลและแปรรูป ขนม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
19.รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำลำคลอง ตามวาระ “นครสีเขียว” โดยชี้ให้เห็นประโยชน์อย่างยั่งยืนที่จะได้จากการท่องเที่ยว
20.ผนึกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด เพื่อให้นครเป็นเมืองน่าอยู่น่าเที่ยว รณรงค์สร้างค่านิยมของคนนครให้ยึดมั่นในธรรมะ รักสันติตามคำขวัญ ประจำเมืองเพื่อลดภาพลักษณ์ “เมืองคนดุ” สร้างความภาคภูมิใจต่อรากเหง้าของตนเองให้แก่เด็กนคร ตามวาระ “ภูมิใจนคร” และเปิดพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ให้แก่เยาวชน เพื่อให้จังหวัดเป็น “นครแห่งการเรียนรู้” และ “เด็กนครศรีมีอนาคต” ตามแนวทางปฏิบัติราชการ “3 พันธะ 12 วาระเมืองนคร”