ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คณะอนุกรรมาธิการฯ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ภูเก็ตติดตามการทำงานของอำเภอกะทู้ ย้ำเป็นห่วงความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน พร้อมชี้การจับกุมผู้กระทำความผิดที่ผ่านมาทำได้เพียงแค่จับปลาซิวปลาสร้อย ยังสาวไม่ถึงตัวผู้บงการ แนะดึงทหารเข้าร่วมทำงานเพิ่มประสิทธิภาพ
วันนี้ (21 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมการะเกด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต คณะอนุกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ และติดตามการบริหารงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ และติดตามการบริหารงบประมาณของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา นำโดย พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ประชุมร่วมกับ นายวีระ เกิดศิริมงคล นายอำเภอกะทู้ นายศิริพงษ์ หลีประสิทธิ์ ปลัดอำเภอกะทู้ นายณฐวรรณ จำลองกาศ ตัวแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต พ.ต.ท.บริบูรณ์ อยู่สุขสมบูรณ์ รอง ผกก.สส.สภ.ทุ่งทอง พ.ต.ท.ณรงค์ ลักษณะวิมล รอง ผกก.ป.สภ.กมลา พ.ต.ท.นิกร ชูทอง สว.ป.สภ.กะทู้ นายนพพร กรุณา รองนายก อบต.กมลา นายชาตรี หลิมพัฒนวงศ์ รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลเมืองกะทู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงาน และปัญหาอุปสรรคในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ อ.กะทู้
นายวีระ เกิดศิริมงคล นายอำเภอกะทู้ กล่าวถึงการทำงานการปราบปรามบุกรุกที่ดิน ป่าไม้ในช่วงที่ผ่านมาว่า ตนมารับตำแหน่งนายอำเภอกะทู้มา 3 เดือน พบว่าแม้จะเป็นอำเภอเล็กๆ มีเพียง 3 ตำบล คือ กะทู้ ป่าตอง และกมลา มีประชากรตามทะเบียนราษฎรรวม 51,422 คน มีประชากรแฝงอีกประมาณ 300,000 คน และเชื่อว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาภูเก็ตปีละประมาณ 9 ล้านคน ประมาณ 99% จะต้องเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของ อ.กะทู้ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าตอง ส่งผลให้มีความเจริญอย่างรวดเร็ว และก้าวกระโดด ขณะเดียวกัน ก็มีปัญหาต่างๆ ตามมาเช่นกัน โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อนำมาสร้างที่พัก หรือรีสอร์ตหรู
ส่วนการปฏิบัติงานด้านป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจ ป่าไม้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ มาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีทั้งการตรวจยึดไม้แปรรูป ตรวจสอบพื้นที่การบุกรุกที่ป่าสงวน ซึ่งในพื้นที่มี 2 ป่าใหญ่ คือ ป่าควนเขากมลา กับป่าควนเขานาคเกิด จับกุมผู้ต้องหาในความผิด พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่ หมู่ที่ 6 ต.กะทู้ หมู่ที่ 4 ป่าเทือกเขานาคเกิด รวมถึงการตรวจสอบการขุดตักหน้าดินด้วย โดยบางรายก็มีการนำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน และใบอนุญาตมาแสดง ซึ่งทุกคดีอยู่ระหว่างการสอบสวน นายวีระกล่าว
ขณะที่ พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การเดินทางมาประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เนื่องจากได้ติดตามข่าวการตรวจสอบ สืบสวน และจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนายอำเภอกะทู้ และเจ้าหน้าที่มาอย่างต่อเนื่อง จึงมาขอรับทราบข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการทำงาน รวมทั้งมาให้กำลังใจแก่ทางนายอำเภอกะทู้ และทีมงาน เพราะเรื่องการบุกรุพื้นที่ป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะนำข้อมูลที่ได้รับไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา เพื่อช่วยดูแล และผลักดันงบประมาณในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ รู้สึกเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และการจับกุมที่ผ่านมาก็ได้เพียงปลาซิวปลาสร้อย โดยไม่สามารถสาวไปถึงนายทุนผู้อยู่เบื้องหลังได้ ดังนั้น น่าจะมีการดึงหน่วยของทหาร หรือ กอ.รมน. เข้ามาช่วยอีกแรงเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรจะมีการผลักดันให้การแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติเป็นวาระของจังหวัด เพราะเป็นเรื่องใหญ่ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
วันนี้ (21 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมการะเกด อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต คณะอนุกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ และติดตามการบริหารงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และคณะอนุกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบ และติดตามการบริหารงบประมาณของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา นำโดย พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ประชุมร่วมกับ นายวีระ เกิดศิริมงคล นายอำเภอกะทู้ นายศิริพงษ์ หลีประสิทธิ์ ปลัดอำเภอกะทู้ นายณฐวรรณ จำลองกาศ ตัวแทนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดภูเก็ต พ.ต.ท.บริบูรณ์ อยู่สุขสมบูรณ์ รอง ผกก.สส.สภ.ทุ่งทอง พ.ต.ท.ณรงค์ ลักษณะวิมล รอง ผกก.ป.สภ.กมลา พ.ต.ท.นิกร ชูทอง สว.ป.สภ.กะทู้ นายนพพร กรุณา รองนายก อบต.กมลา นายชาตรี หลิมพัฒนวงศ์ รักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลเมืองกะทู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงาน และปัญหาอุปสรรคในการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ อ.กะทู้
นายวีระ เกิดศิริมงคล นายอำเภอกะทู้ กล่าวถึงการทำงานการปราบปรามบุกรุกที่ดิน ป่าไม้ในช่วงที่ผ่านมาว่า ตนมารับตำแหน่งนายอำเภอกะทู้มา 3 เดือน พบว่าแม้จะเป็นอำเภอเล็กๆ มีเพียง 3 ตำบล คือ กะทู้ ป่าตอง และกมลา มีประชากรตามทะเบียนราษฎรรวม 51,422 คน มีประชากรแฝงอีกประมาณ 300,000 คน และเชื่อว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาภูเก็ตปีละประมาณ 9 ล้านคน ประมาณ 99% จะต้องเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวของ อ.กะทู้ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าตอง ส่งผลให้มีความเจริญอย่างรวดเร็ว และก้าวกระโดด ขณะเดียวกัน ก็มีปัญหาต่างๆ ตามมาเช่นกัน โดยเฉพาะการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อนำมาสร้างที่พัก หรือรีสอร์ตหรู
ส่วนการปฏิบัติงานด้านป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ตำรวจ ป่าไม้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ มาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี มีทั้งการตรวจยึดไม้แปรรูป ตรวจสอบพื้นที่การบุกรุกที่ป่าสงวน ซึ่งในพื้นที่มี 2 ป่าใหญ่ คือ ป่าควนเขากมลา กับป่าควนเขานาคเกิด จับกุมผู้ต้องหาในความผิด พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติในท้องที่ หมู่ที่ 6 ต.กะทู้ หมู่ที่ 4 ป่าเทือกเขานาคเกิด รวมถึงการตรวจสอบการขุดตักหน้าดินด้วย โดยบางรายก็มีการนำเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน และใบอนุญาตมาแสดง ซึ่งทุกคดีอยู่ระหว่างการสอบสวน นายวีระกล่าว
ขณะที่ พ.ต.อ.สนธยา แสงเภา ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ กล่าวว่า การเดินทางมาประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เนื่องจากได้ติดตามข่าวการตรวจสอบ สืบสวน และจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของนายอำเภอกะทู้ และเจ้าหน้าที่มาอย่างต่อเนื่อง จึงมาขอรับทราบข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการทำงาน รวมทั้งมาให้กำลังใจแก่ทางนายอำเภอกะทู้ และทีมงาน เพราะเรื่องการบุกรุพื้นที่ป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มงวด และต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะนำข้อมูลที่ได้รับไปเสนอต่อคณะกรรมาธิการฯ วุฒิสภา เพื่อช่วยดูแล และผลักดันงบประมาณในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ทางคณะอนุกรรมาธิการฯ รู้สึกเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และการจับกุมที่ผ่านมาก็ได้เพียงปลาซิวปลาสร้อย โดยไม่สามารถสาวไปถึงนายทุนผู้อยู่เบื้องหลังได้ ดังนั้น น่าจะมีการดึงหน่วยของทหาร หรือ กอ.รมน. เข้ามาช่วยอีกแรงเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรจะมีการผลักดันให้การแก้ปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติเป็นวาระของจังหวัด เพราะเป็นเรื่องใหญ่ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน