xs
xsm
sm
md
lg

กรมพลังงานเสริมความรู้ใช้ก๊าซชีวภาพที่กระบี่รองรับ AEC

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กระบี่ - กรมพัฒนาพลังงานฯ จัดสัมมนาโครงการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิต และใช้ก๊าซชีวภาพ “ไบโอแก๊สเซฟตี้” ที่ จ.กระบี่ เพื่อเตรียมพัฒนาออกแบบสื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และเข้าใจง่าย รองรับ AEC

เวลา 10.30 น. วันนี้ (10 มิ.ย.) ณ โรงแรมอนันตบุรินทร์ รีสอร์ท อ.เมือง จ.กระบี่ ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เป็นประธานเปิดการสัมนาโครงการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพ “ไบโอแก๊สเซฟตี้” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนา ออกแบบ จัดหาสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมในการรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิต และการใช้ก๊าซชีวภาพโดยเน้นให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การรับรู้ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีแก๊สชีวภาพที่ถูกต้องและปลอดภัย มี ผศ.ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ ผู้จัดการโครงการฯ เข้าร่วม

ผศ.ดร.ชัชวาลย์ ชัยชนะ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวว่า เทคโนโลยีพลังงานที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาพลังงาน 15 ปี ที่ประสบความสำเร็จ และได้รับความนิยมในการดำเนินการจริงมากที่สุดคือ เทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส และเทคโนโลยีนี้มีแนวโน้มเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยชาวบ้านในแต่ละชุมชนที่มีศักยภาพด้านของเสียจากมูลสัตว์ สามารถผลิต และใช้แก๊สชีวภาพได้ภายในครัวเรือน เพื่อทดแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม นอกจากนี้ การผลิต และการใช้ก๊าซชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม หรือฟาร์มขนาดใหญ่ก็มีการผลิตที่มากขึ้น

ในการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพที่ผ่านมา ยังขาดการให้ความรู้ด้านความปลอดภัย ซึ่งเมื่อภายหลังที่เกิดกระแสการใช้แก๊สชีวภาพเพื่อทดแทนก๊าซหุงต้มอย่างกว้างขวาง ชุมชนต่างๆ ที่มีศักยภาพต่างผลิตก๊าซชีวภาพโดยอาจจะขาดความรู้ ละเลยเรื่องความปลอดภัย จนมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย (Safety) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเสียหายของทรัพย์สินเนื่องจากการระเบิดของหลุมก๊าซชีวภาพ หรือการเสียชีวิตเนื่องจากการสูดเอาก๊าซชีวภาพเข้าไป เป็นต้น

จากการดำเนินการโครงการดังกล่าว พบว่า การให้ความรู้ความเข้าใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นยังไม่ครอบคลุม และเพียงพอ ทั้งนี้ เนื่องจากจานวนสถานประกอบการ และจำนวนชุมชนที่มีการดำเนินการด้านก๊าซชีวภาพนั้นมีจำนวนมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในแต่ละแห่งจำนวนบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบก๊าซชีวภาพนับตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างระบบ การผลิต และการใช้ก๊าซชีวภาพนั้นมีจำนวนมาก นอกจากนี้ การเข้าร่วมเป็น Asian Economy Community (AEC) ก็จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้งเข้า และออกจากประเทศไทยมากขึ้น ทำให้ความแตกต่างของบุคลากรทั้งในด้านพื้นความรู้ การใช้ภาษา และเชื้อชาติก็จะมีมากขึ้น

ดังนั้น การรณรงค์ความปลอดภัยจากการผลิต และการใช้แก๊สชีวภาพในชุมชนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของความปลอดภัย จะต้องใช้สื่อให้ตรงกับเป้าหมาย มีการใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความรับรู้ และนำไปปฏิบัติได้ พร้อมศึกษาดูงานระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ณ บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จากัด อ.เหนือคลอง จ.กระบี่
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น