ศูนย์ข่าวภูเก็ต - คลื่นลมแรงซัดเต่าขาขาดขึ้นเกยหาดกมลา ชาวบ้านช่วยเหลือดูแล ก่อนแจ้งสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต รับไปดูแลรักษา ในเบื้องต้นเผยสภาพร่างกายอ่อนแรง
เมื่อเวลา 17.30 น. วันนี้ (28 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านบริเวณชายหาดกมลาว่า พบเต่าตะเลขนาดใหญ่ ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดกมลา ใกล้ สภ.กมลา ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบที่เกิดเหตุคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร มีฝนตกลงมาเล็กน้อย บริเวณชายหาดเงียบสงบ เห็นชาวบ้านที่ประกอบอาชีพร้านอาหารอยู่บริเวณดังกล่าวกำลังดูแลเต่าทะเลขนาดใหญ่ที่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง เพื่อรอเจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต มารับตัวไปรักษา
จากการตรวจสอบในเบื้องต้นคาดว่าเต่าตัวดังกล่าวน่าจะเป็นเต่ากระ น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม สภาพอิดโรย ขาด้านหน้าขาด จากการสอบถาม น.ส.เสาวภา สต๊อกโฮม ชาวบ้านที่พบเต่าตัวดังกล่าว ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุพื้นที่ตำบลกมลาฝนได้ตกลงมาอย่าหนักทำให้คลื่นลมในทะเลแรงมาก จากนั้นเวลาประมาณ 17.10 น. ผู้ประกอบการหน้าหาดได้เห็นเต่าขึ้นมาเกยหาด จึงเข้าไปตรวจสอบพบเต่าตัวดังกล่าวถูกคลื่นซัดมาสภาพขาด้านหน้าขาด และอยู่ในสภาพอิดโรย และไม่อยากจะนำไปปล่อยในทะเลเกรงว่าหากนำไปปล่อยจะทำให้เต่าตัวดังกล่าวไม่มีชีวิตรอด เพราะขาด้านหน้าขาดไม่สามารถว่ายน้ำได้ จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยฯ มาตรวจสอบ และนำไปอนุบาลเพื่อช่วยเหลือต่อไปแล้ว
เมื่อเวลา 17.30 น. วันนี้ (28 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านบริเวณชายหาดกมลาว่า พบเต่าตะเลขนาดใหญ่ ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้นที่บริเวณชายหาดกมลา ใกล้ สภ.กมลา ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบที่เกิดเหตุคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร มีฝนตกลงมาเล็กน้อย บริเวณชายหาดเงียบสงบ เห็นชาวบ้านที่ประกอบอาชีพร้านอาหารอยู่บริเวณดังกล่าวกำลังดูแลเต่าทะเลขนาดใหญ่ที่ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง เพื่อรอเจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต มารับตัวไปรักษา
จากการตรวจสอบในเบื้องต้นคาดว่าเต่าตัวดังกล่าวน่าจะเป็นเต่ากระ น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม สภาพอิดโรย ขาด้านหน้าขาด จากการสอบถาม น.ส.เสาวภา สต๊อกโฮม ชาวบ้านที่พบเต่าตัวดังกล่าว ทราบว่า ก่อนเกิดเหตุพื้นที่ตำบลกมลาฝนได้ตกลงมาอย่าหนักทำให้คลื่นลมในทะเลแรงมาก จากนั้นเวลาประมาณ 17.10 น. ผู้ประกอบการหน้าหาดได้เห็นเต่าขึ้นมาเกยหาด จึงเข้าไปตรวจสอบพบเต่าตัวดังกล่าวถูกคลื่นซัดมาสภาพขาด้านหน้าขาด และอยู่ในสภาพอิดโรย และไม่อยากจะนำไปปล่อยในทะเลเกรงว่าหากนำไปปล่อยจะทำให้เต่าตัวดังกล่าวไม่มีชีวิตรอด เพราะขาด้านหน้าขาดไม่สามารถว่ายน้ำได้ จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยฯ มาตรวจสอบ และนำไปอนุบาลเพื่อช่วยเหลือต่อไปแล้ว