ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กลุ่มชาวบ้าน อ.จะนะ 2 หมู่บ้าน ปิดโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ยอมสลายตัวแล้ว หลังเคลียร์ปัญหาเงินชดเชยผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมลงตัว รถบรรทุกก๊าซเร่งขนถ่ายก๊าซทันที หลังจากประสบปัญหาก๊าซหมด ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ฯ ลงมา
ความคืบหน้ากรณีชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ 2 และหมู่ 8 .ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา รวมตัวปิดถนนทางเข้าออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ของบริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียกร้องเงินชดเชยผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) ส่งผลให้ขณะนี้ ก๊าซเอ็นจีวีตามสถานีบริการทั้งใน จ.สงขลา นครศรีธรรม และสุราษฎร์ธานี ที่รับก๊าซจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ทุกแห่งเกิดปัญหาก๊าซหมด เนื่องจากไม่สามารถนำก๊าซไปส่งให้ได้
ล่าสุด เมื่อช่วงเที่ยงของวันนี้ (8 พ.ค.) ชาวบ้านได้ยอมสลายตัว และยุติการปิดถนนทางเข้าออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะแล้ว หลังจากที่ นายณรงค์พร ณ พัทลุง นายอำเภอจะนะ ได้เข้าเจรจากับแกนนำชาวบ้านจนได้ข้อสรุปร่วมกัน โดยเงินค่าชดเชยปีละ 4 ล้านบาท ที่จะจ่ายให้ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน ประมาณ 900 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 4,499 บาทต่อปีนั้น เฉพาะในปีนี้ จะนำมาถัวเฉลี่ยให้แก่ทั้งครัวเรือนที่มีอยู่เดิม และครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอีก 50 ครัวเรือน ซึ่งส่วนต่างที่แต่ละครอบครัวจะได้รับลดลง 200 บาท ส่วนในปีถัดไปจะจ่ายเท่าเดิมทุกครัวเรือน ซึ่งชาวบ้านพอใจในข้อเสนอดังกล่าว และยอมสลายตัว
และทันทีที่ชาวบ้านยอมเปิดถนน ทางโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ได้เร่งนำรถบรรทุกก๊าซเอ็นจีวีไปรับก๊าซ เพื่อไปส่งตามสถานีบริการต่างๆ ทั้งใน จ.สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ที่ประสบปัญหาขาดแคลนและก๊าซหมด และมีรถบรรทุกขนส่งสินค้าติดค้างรอเติมก๊าซอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงรถโดยสารบางส่วนที่ต้องหยุดให้บริการเพราะไม่มีก๊าซเติม
ทั้งนี้ ทางบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จากัด ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 กรณีชาวบ้านชุมนุมปิดถนนทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ความว่า
สืบเนื่องจากกรณีที่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง จากหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 8 ตาบลตลิ่งชัน อาเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประมาณ 30 คน ร่วมกันปิดถนนทางเข้า-ออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องให้ทางบริษัทฯ เข้ามาแก้ปัญหาการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษา และสุขภาพสาหรับชุมชนรอบโรงแยกก๊าซฯ
บริษัทฯ ขอชี้แจงให้ทราบข้อเท็จจริงโดยสรุปดังนี้ ย้อนหลังไปเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ผลสืบเนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าว ร่วมกันปิดถนนทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องขอเงินชดเชย โดยอ้างได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดาเนินธุรกิจของโรงแยกก๊าซฯ และต่อมา ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนของคณะกรรมการไตรภาคีโรงแยกก๊าซฯ และตัวแทนของชุมชน ขึ้นมาตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งผลการตรวจสอบในทางวิทยาศาสตร์สรุปได้ว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของกฎหมายทุกประการ
อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดสงขลา ขอให้ทางบริษัทฯ จัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมการศึกษา และสุขภาพให้แก่ชุมชนรอบโรงแยกก๊าซฯ ภายในระยะรัศมี 1 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 7 เป็นจำนวนเงินรวม 5 ล้านบาทต่อปี นอกเหนือจากกองทุนหมู่บ้าน (หมู่บ้านละ 1 แสนบาทต่อปี ครอบคลุมทั้ง 5 อำเภอที่แนวท่อก๊าซธรรมชาติพาดผ่าน รวมเป็นเงิน 10 ล้านบาทต่อปี) กองทุนส่งเสริมอาชีพประมงสำหรับพื้นที่อำเภอจะนะ และเทพา ปีละ 1 ล้านบาท และกองทุนส่งเสริมอาชีพนกเขาชวาเสียงอำเภอจะนะปีละ 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้ชุมชนไปจัดทำเป็นโครงการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์สาธารณะ เพื่ออนาคตของลูกหลาน และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ทางบริษัทฯ ได้มอบเงินกองทุนดังกล่าวผ่านทางจังหวัดสงขลา และการบริหารจัดการกองทุนก็ให้ดำเนินการกันเอง โดยคณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้าน แต่ในทางปฏิบัติชาวบ้านของแต่ละหมู่บ้านได้จัดสรรเงินกองทุนดังกล่าว โดยวิธีการหารแบ่งเป็นรายครัวเรือนหรือรายหัว
สำหรับเงินกองทุนของปี 2556 ทางบริษัทฯ ได้มอบเงินจำนวน 5 ล้านบาทดังกล่าว เข้าบัญชีของกองทุนผ่านทางจังหวัดสงขลาตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2556 เพื่อให้ทางจังหวัดสงขลา และคณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้านไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกองทุนต่อไป ซึ่งหากคงเหมือนปีที่ผ่านมา จะดำเนินการจ่ายเงินกองทุนเข้าหมู่บ้านภายในเดือนมิถุนายน
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง จากหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 8 ประมาณ 30 คน ดังที่กล่าวมาข้างต้น รวมตัวกันปิดถนนทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ เพื่อร้องเรียนให้บริษัทจ่ายเงินเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่ามีจำนวนครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 65 ครัวเรือน ทำให้เงินที่ได้รับจากการหารแบ่งของแต่ละรายครัวเรือนลดน้อยลงจากปีที่ผ่านมา
บริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่สอดคล้องและไม่เป็นไปตามข้อตกลง และเจตนารมณ์ของกองทุน และหากยังคงเลือกวิธีการหารแบ่งเป็นรายครัวเรือน ก็จะเกิดปัญหาเช่นนี้ซ้ำๆ ทุกๆ ปี เมื่อการหารแบ่งไม่ลงตัว ก็ใช้วิธีการปิดโรงแยกก๊าซฯ มาโดยตลอด และการกระทำดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงได้แจ้งไปยังทางจังหวัดสงขลา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากได้ส่งผลกระทบต่อการผลิต และขนส่งก๊าซธรรมชาติ และหากยังคงยืดเยื้อต่อไป ทางบริษัทฯ จำเป็นจะต้องลดการผลิตลง หรือหยุดการผลิตในท้ายที่สุด เนื่องจากไม่สามารถขนถ่ายก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ออกไปได้ รวมถึงสถานีบริการก๊าซ NGV ของบริษัท ปตท. ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ให้บริการจากจังหวัดสงขลาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย
ความคืบหน้ากรณีชาวบ้านในพื้นที่ หมู่ 2 และหมู่ 8 .ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา รวมตัวปิดถนนทางเข้าออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ของบริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียกร้องเงินชดเชยผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (7 พ.ค.) ส่งผลให้ขณะนี้ ก๊าซเอ็นจีวีตามสถานีบริการทั้งใน จ.สงขลา นครศรีธรรม และสุราษฎร์ธานี ที่รับก๊าซจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ทุกแห่งเกิดปัญหาก๊าซหมด เนื่องจากไม่สามารถนำก๊าซไปส่งให้ได้
ล่าสุด เมื่อช่วงเที่ยงของวันนี้ (8 พ.ค.) ชาวบ้านได้ยอมสลายตัว และยุติการปิดถนนทางเข้าออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะแล้ว หลังจากที่ นายณรงค์พร ณ พัทลุง นายอำเภอจะนะ ได้เข้าเจรจากับแกนนำชาวบ้านจนได้ข้อสรุปร่วมกัน โดยเงินค่าชดเชยปีละ 4 ล้านบาท ที่จะจ่ายให้ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน ประมาณ 900 ครัวเรือน ครัวเรือนละ 4,499 บาทต่อปีนั้น เฉพาะในปีนี้ จะนำมาถัวเฉลี่ยให้แก่ทั้งครัวเรือนที่มีอยู่เดิม และครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอีก 50 ครัวเรือน ซึ่งส่วนต่างที่แต่ละครอบครัวจะได้รับลดลง 200 บาท ส่วนในปีถัดไปจะจ่ายเท่าเดิมทุกครัวเรือน ซึ่งชาวบ้านพอใจในข้อเสนอดังกล่าว และยอมสลายตัว
และทันทีที่ชาวบ้านยอมเปิดถนน ทางโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ได้เร่งนำรถบรรทุกก๊าซเอ็นจีวีไปรับก๊าซ เพื่อไปส่งตามสถานีบริการต่างๆ ทั้งใน จ.สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ที่ประสบปัญหาขาดแคลนและก๊าซหมด และมีรถบรรทุกขนส่งสินค้าติดค้างรอเติมก๊าซอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงรถโดยสารบางส่วนที่ต้องหยุดให้บริการเพราะไม่มีก๊าซเติม
ทั้งนี้ ทางบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จากัด ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 กรณีชาวบ้านชุมนุมปิดถนนทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ ความว่า
สืบเนื่องจากกรณีที่ชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง จากหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 8 ตาบลตลิ่งชัน อาเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประมาณ 30 คน ร่วมกันปิดถนนทางเข้า-ออกโรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 เป็นต้นมา เพื่อเรียกร้องให้ทางบริษัทฯ เข้ามาแก้ปัญหาการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษา และสุขภาพสาหรับชุมชนรอบโรงแยกก๊าซฯ
บริษัทฯ ขอชี้แจงให้ทราบข้อเท็จจริงโดยสรุปดังนี้ ย้อนหลังไปเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2555 ที่ผ่านมา ผลสืบเนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าว ร่วมกันปิดถนนทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ เพื่อยื่นข้อเรียกร้องขอเงินชดเชย โดยอ้างได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการดาเนินธุรกิจของโรงแยกก๊าซฯ และต่อมา ทางผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนของคณะกรรมการไตรภาคีโรงแยกก๊าซฯ และตัวแทนของชุมชน ขึ้นมาตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงดังกล่าว ซึ่งผลการตรวจสอบในทางวิทยาศาสตร์สรุปได้ว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของกฎหมายทุกประการ
อย่างไรก็ตาม ทางจังหวัดสงขลา ขอให้ทางบริษัทฯ จัดตั้งเป็นกองทุนพิเศษเพื่อส่งเสริมการศึกษา และสุขภาพให้แก่ชุมชนรอบโรงแยกก๊าซฯ ภายในระยะรัศมี 1 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 7 เป็นจำนวนเงินรวม 5 ล้านบาทต่อปี นอกเหนือจากกองทุนหมู่บ้าน (หมู่บ้านละ 1 แสนบาทต่อปี ครอบคลุมทั้ง 5 อำเภอที่แนวท่อก๊าซธรรมชาติพาดผ่าน รวมเป็นเงิน 10 ล้านบาทต่อปี) กองทุนส่งเสริมอาชีพประมงสำหรับพื้นที่อำเภอจะนะ และเทพา ปีละ 1 ล้านบาท และกองทุนส่งเสริมอาชีพนกเขาชวาเสียงอำเภอจะนะปีละ 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ การจัดตั้งกองทุนดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้ชุมชนไปจัดทำเป็นโครงการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์สาธารณะ เพื่ออนาคตของลูกหลาน และการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ทางบริษัทฯ ได้มอบเงินกองทุนดังกล่าวผ่านทางจังหวัดสงขลา และการบริหารจัดการกองทุนก็ให้ดำเนินการกันเอง โดยคณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้าน แต่ในทางปฏิบัติชาวบ้านของแต่ละหมู่บ้านได้จัดสรรเงินกองทุนดังกล่าว โดยวิธีการหารแบ่งเป็นรายครัวเรือนหรือรายหัว
สำหรับเงินกองทุนของปี 2556 ทางบริษัทฯ ได้มอบเงินจำนวน 5 ล้านบาทดังกล่าว เข้าบัญชีของกองทุนผ่านทางจังหวัดสงขลาตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2556 เพื่อให้ทางจังหวัดสงขลา และคณะกรรมการของแต่ละหมู่บ้านไปดำเนินการตามเจตนารมณ์ของกองทุนต่อไป ซึ่งหากคงเหมือนปีที่ผ่านมา จะดำเนินการจ่ายเงินกองทุนเข้าหมู่บ้านภายในเดือนมิถุนายน
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง จากหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 8 ประมาณ 30 คน ดังที่กล่าวมาข้างต้น รวมตัวกันปิดถนนทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะ เพื่อร้องเรียนให้บริษัทจ่ายเงินเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่ามีจำนวนครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ประมาณ 65 ครัวเรือน ทำให้เงินที่ได้รับจากการหารแบ่งของแต่ละรายครัวเรือนลดน้อยลงจากปีที่ผ่านมา
บริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่สอดคล้องและไม่เป็นไปตามข้อตกลง และเจตนารมณ์ของกองทุน และหากยังคงเลือกวิธีการหารแบ่งเป็นรายครัวเรือน ก็จะเกิดปัญหาเช่นนี้ซ้ำๆ ทุกๆ ปี เมื่อการหารแบ่งไม่ลงตัว ก็ใช้วิธีการปิดโรงแยกก๊าซฯ มาโดยตลอด และการกระทำดังกล่าวน่าจะเข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมาย จึงได้แจ้งไปยังทางจังหวัดสงขลา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เนื่องจากได้ส่งผลกระทบต่อการผลิต และขนส่งก๊าซธรรมชาติ และหากยังคงยืดเยื้อต่อไป ทางบริษัทฯ จำเป็นจะต้องลดการผลิตลง หรือหยุดการผลิตในท้ายที่สุด เนื่องจากไม่สามารถขนถ่ายก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ออกไปได้ รวมถึงสถานีบริการก๊าซ NGV ของบริษัท ปตท. ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ให้บริการจากจังหวัดสงขลาถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย