ถ้าพูดถึงการต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรในท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง ชื่อ “พี่น้องชาวปากบารา” และ “พี่น้องชาวจะนะ” ดูเหมือนจะโดดเด่น และสะดุดหูมากกว่าพื้นที่อื่นๆ เพราะผ่านการเคี่ยวกรำ และยืนหยัดต่อสู้กับอำนาจที่ไม่ชอบธรรมในนาม “โครงการพัฒนาของรัฐ” มาอย่างต่อเนื่องแรมปี
ในขณะที่ชาวบ้านปากบารายืดหยัดคัดค้าน “ท่าเรือน้ำลึกปากบารา” ซึ่งจะก่อสร้างขึ้นที่ชายฝั่งอันดามันใน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ชาวจะนะ ซึ่งยังไม่หายบอบช้ำจากการคัดค้านโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และโรงไฟฟ้าจะนะ ก็ลุกฮือรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อต่อต้าน “ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (บ้านสวนกง)” ซึ่งถูกกำหนดให้สร้างขึ้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณชายหาดบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา
โครงการเหล่านี้ เป็นจิ๊กซอว์เล็กๆ 2 ชิ้นที่รัฐบาลหนุนให้สร้างขึ้น เพื่อจะเชื่อมชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของภาคใต้เข้าด้วยกัน รองรับการขนส่งของภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเลียม ก่อนจะประกอบเป็นภาพใหญ่ในนาม “เมกะโปรเจกต์” ที่ยังหาคำตอบแน่ชัดไม่ได้ว่า “ใครคือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง”
และเป็นไปเฉกเช่นทุกครั้งที่ประชาชนเจ้าของพื้นที่หาความ “โปร่งใส และจริงใจ” จากรัฐบาลไม่ได้เลย เมื่อจิ๊กซอว์เล็กๆ ในนาม “ท่าเรือน้ำลึก” ทั้ง 2 แห่งนี้ถูกสอดไส้เป็นโครงการย่อยไว้ใน “พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท” ซึ่งจะนำไปใช้ในระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2556-2563) โดยชี้แจงว่า เพื่อใช้ปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐาน แต่ผู้ติดตามสถานการณ์ท่าเรือน้ำลึกจะทราบทันที่ว่า นี่คือทางลัดอย่างดีที่จะผลักดันให้ท่าเรือทั้ง 2 แห่งเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความคาราคาซังของ “การดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย” ทั้งเรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) การทำประชาพิจารณ์สำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสำหรับท่าเรือน้ำลึกปากบารานั้นพ่วงปัญหา “การเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา” จำนวน 4,734 กว่าไร่ ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาด้วย
“ทะเลเป็นเรื่องของคนกินปลา” วาทกรรมห่วงโซ่อาหารจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์คัดค้านท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่ง เพื่อชี้ให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว ถ้าเกิดท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่งขึ้น ไม่เพียงชาวประมง และชาวบ้านในพื้นที่เท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่คนกินปลา คนที่รักการบริโภคอาหารทะเล เรื่อยไปจนถึงธุรกิจการแปรรูปอาหารทะเล ร้านอาหาร และธุรกิจส่งออกอาหารทะเลก็จะได้รับผลกระทบตามๆ กันไปด้วย
ความจริงข้อนี้ถูกยืนยันอย่างชัดเจนด้วยงาน “อะโบ๊ยหมะ! เลจะนะหรอยจ้าน” ซึ่งจัดเวทีเปิดข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของทะเลจะนะให้สาธารณชนทราบว่าไม่ได้เป็น “ทะเลร้าง” อย่างที่ผู้จ้องจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกบ้านสวนกงระบุ พร้อมจัดทำหนังสือ “ทะเลคือชีวิตของเรา” เป็นข้อมูลวิชาการจากชายฝั่งทะเลจะนะ ระบุว่า ทะเลจะนะมีพันธุ์สัตว์น้ำที่หลากหลาย และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจรวม 144 ชนิด มีสัตว์ที่ยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ คือ โลมา เต่า และสัตว์อื่นๆ กว่า 38 ชนิด มูลค่ารวมทางเศรษฐกิจเฉพาะกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์ทะเล (คำนวณจากรายได้ต่ำสุดต่อวัน) รวมวันละ 1,161,600 บาท
นอกจากนี้ การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของชาวประมงที่ใช้ทะเลจะนะหาเลี้ยงชีพ ยังยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ทะเลที่นั่นอุดมสมบูรณ์มากเกินกว่าจะปล่อยให้มีสิ่งรุกล้ำทำลายระบบนิเวศ ซึ่งรบกวนทั้งสัตว์ทะเล และเป็นปฏิปักษ์กับทุกอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรทางทะเล
และล่า สุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวประมงจะนะได้เฮลั่นอีกครั้ง เมื่อพบ “ปลาโรนัน” ที่รูปร่างคล้ายปลาฉลาม แต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน น้ำหนักกว่า 20 กก. ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่า ไม่ได้เห็นปลาชนิดนี้ในทะเลจะนะมากว่า 30 ปีแล้ว
ส่วนทางฝั่งทะเลสตูลนั้นก็เคยจัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน ในชื่องาน “แข่งขันตกปลานานาชาติ สตูลหัวโทง ฟิชชิ่งคัพ” ภายใต้สโลแกน “ทะเลสตูลยังมีปลา... อ่าวปากบารายังอุดมสมบูรณ์” เมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา และรณรงค์กิจกรรมคัดค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารามาโดยตลอด ซึ่งล่าสุด หลังจากมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะผลักดัน พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท พี่น้องชาวสตูลก็รวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านไปถึงนายกรัฐมนตรี โดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้รัฐบาลทบทวนถึงความคุ้มทุนในการก่อสร้าง และดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เห็นเห็นแก่ผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มากเสียจนละเลยที่จะฟังเสียงประชาชนเจ้าของพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโครงนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้
เมื่อพูดถึง “ความคุ้มทุน” แรงต้านของประชาชนอาจจะไม่เสียงดังพอ ที่จะต่อกรกับรัฐบาลว่าเมื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นมาทั้ง 2 แห่ง เป็นแพกเกจคู่นั้น สิ่งที่ได้ตามมาจะไม่คุ้มเสีย ในประเด็นนี้แม้กระทั่งผู้ประกอบการธุรกิจเดินเรือ หรือลอจิสติกส์เอง ก็ยังเห็นว่าไม่คุ้มทุน เนื่องจากต้องเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากทะเลฝั่งหนึ่งขึ้นมาพัก ก่อนจะส่งผ่านรถไฟรางคู่ไปยังอีกฝั่ง และเคลื่อนย้ายส่งลงเรืออีกรอบ โดยมองว่าเป็นการเคลื่อนย้ายที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ทั้งความเสียหายจากการเคลื่อนย้าย และระยะเวลาในการขนส่งแต่ละทอด
ในขณะที่เหล่าผู้ยืนยันผลักดันให้สร้างอ้าง “การเปิดประตูสู่อาเซียน” มาเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญในการเดินเครื่องสร้างท่าเรือน้ำลึกนี้เต็มสูบ โดยไม่ลืมตามอง และไม่คิดที่จะส่งเสริมศักยภาพด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับทรัพยากร และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น
“จะนะ” มีทะเลเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ และปัจจุบันส่งไปขายยังจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งส่งออกไปต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ก็ยังเป็น “เมืองหลวงของนกเขาชวาของภูมิภาคอาเซียน” โดยมีทั้งฟาร์มนกเขาชวา และอาชีพต่อเนื่อง ทั้งผลิตกรงนก และผลิตอาหารนก เป็นจุดแข็งที่สร้างรายได้ให้ อ.จะนะ ในแต่ละปีสูงไม่แพ้รายได้จากอาหารทะเล
ส่วน “ปากบารา” นอกจากอาหารทะเลซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนใน จ.สตูล และส่งออกไปขายยังต่างประเทศเช่นเดียวกันแล้ว ก็ยังเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของ จ.สตูล ซึ่งเป็นจุดขายที่สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้แก่พื้นที่เลยก็ว่าได้ นั่นคือ เป็นต้นทางในการลงเรือไปเที่ยวยังเกาะตะรุ เกาะไข่ เกาะหลีเป๊ะ เกาะหินงาม และดำน้ำดูปะการังเจ็ดสี และความอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเล
การสร้างท่าเรือน้ำลึกแบบแพกเกจคู่ สงขลา-สตูล จึงไม่เพียงทำลายอาชีพประมง และห่วงโซ่อาหารของคนกินปลาเท่านั้น แต่ยังทำลายแหล่งท่องเที่ยวด้วย “คนเมือง” ที่รักการเที่ยวทะเล รักการดำน้ำดูปะการัง และโปรดปรานกุ้ง หอย ปู ปลา จึงควรหันมาใส่ใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนผู้มีอำนาจบาตรใหญ่บ้านเมือง ก็ควรคิดทบทวนให้รอบคอบอีกหลายๆ ครั้ง ว่าจะดื้อดึงผลักดันให้เกิดการบ่อนทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่นับได้ว่าเป็นสมบัติของคนทั้งประเทศไปเพื่ออะไร
หากจริงใจกับประชาชนในพื้นที่ และต้องการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง ควรใช้จุดขายที่เป็นจุดแข็งของพื้นที่มาต่อยอดให้พัฒนายิ่งๆ ขึ้นไปไม่ดีกว่าหรือ?
ในขณะที่ชาวบ้านปากบารายืดหยัดคัดค้าน “ท่าเรือน้ำลึกปากบารา” ซึ่งจะก่อสร้างขึ้นที่ชายฝั่งอันดามันใน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ชาวจะนะ ซึ่งยังไม่หายบอบช้ำจากการคัดค้านโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และโรงไฟฟ้าจะนะ ก็ลุกฮือรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อต่อต้าน “ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 (บ้านสวนกง)” ซึ่งถูกกำหนดให้สร้างขึ้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณชายหาดบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา
โครงการเหล่านี้ เป็นจิ๊กซอว์เล็กๆ 2 ชิ้นที่รัฐบาลหนุนให้สร้างขึ้น เพื่อจะเชื่อมชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้านของภาคใต้เข้าด้วยกัน รองรับการขนส่งของภาคอุตสาหกรรมและปิโตรเลียม ก่อนจะประกอบเป็นภาพใหญ่ในนาม “เมกะโปรเจกต์” ที่ยังหาคำตอบแน่ชัดไม่ได้ว่า “ใครคือผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง”
และเป็นไปเฉกเช่นทุกครั้งที่ประชาชนเจ้าของพื้นที่หาความ “โปร่งใส และจริงใจ” จากรัฐบาลไม่ได้เลย เมื่อจิ๊กซอว์เล็กๆ ในนาม “ท่าเรือน้ำลึก” ทั้ง 2 แห่งนี้ถูกสอดไส้เป็นโครงการย่อยไว้ใน “พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท” ซึ่งจะนำไปใช้ในระยะเวลา 7 ปี (พ.ศ. 2556-2563) โดยชี้แจงว่า เพื่อใช้ปรับปรุงสาธารณูปโภคพื้นฐาน แต่ผู้ติดตามสถานการณ์ท่าเรือน้ำลึกจะทราบทันที่ว่า นี่คือทางลัดอย่างดีที่จะผลักดันให้ท่าเรือทั้ง 2 แห่งเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความคาราคาซังของ “การดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย” ทั้งเรื่องรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) รายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) การทำประชาพิจารณ์สำรวจความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสำหรับท่าเรือน้ำลึกปากบารานั้นพ่วงปัญหา “การเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา” จำนวน 4,734 กว่าไร่ ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาด้วย
“ทะเลเป็นเรื่องของคนกินปลา” วาทกรรมห่วงโซ่อาหารจึงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์คัดค้านท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่ง เพื่อชี้ให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว ถ้าเกิดท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่งขึ้น ไม่เพียงชาวประมง และชาวบ้านในพื้นที่เท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่คนกินปลา คนที่รักการบริโภคอาหารทะเล เรื่อยไปจนถึงธุรกิจการแปรรูปอาหารทะเล ร้านอาหาร และธุรกิจส่งออกอาหารทะเลก็จะได้รับผลกระทบตามๆ กันไปด้วย
ความจริงข้อนี้ถูกยืนยันอย่างชัดเจนด้วยงาน “อะโบ๊ยหมะ! เลจะนะหรอยจ้าน” ซึ่งจัดเวทีเปิดข้อมูลความอุดมสมบูรณ์ของทะเลจะนะให้สาธารณชนทราบว่าไม่ได้เป็น “ทะเลร้าง” อย่างที่ผู้จ้องจะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกบ้านสวนกงระบุ พร้อมจัดทำหนังสือ “ทะเลคือชีวิตของเรา” เป็นข้อมูลวิชาการจากชายฝั่งทะเลจะนะ ระบุว่า ทะเลจะนะมีพันธุ์สัตว์น้ำที่หลากหลาย และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจรวม 144 ชนิด มีสัตว์ที่ยืนยันความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ คือ โลมา เต่า และสัตว์อื่นๆ กว่า 38 ชนิด มูลค่ารวมทางเศรษฐกิจเฉพาะกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับสัตว์ทะเล (คำนวณจากรายได้ต่ำสุดต่อวัน) รวมวันละ 1,161,600 บาท
นอกจากนี้ การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของชาวประมงที่ใช้ทะเลจะนะหาเลี้ยงชีพ ยังยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ทะเลที่นั่นอุดมสมบูรณ์มากเกินกว่าจะปล่อยให้มีสิ่งรุกล้ำทำลายระบบนิเวศ ซึ่งรบกวนทั้งสัตว์ทะเล และเป็นปฏิปักษ์กับทุกอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรทางทะเล
และล่า สุดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวประมงจะนะได้เฮลั่นอีกครั้ง เมื่อพบ “ปลาโรนัน” ที่รูปร่างคล้ายปลาฉลาม แต่มีส่วนหัวแบนแหลมเหมือนปลากระเบน น้ำหนักกว่า 20 กก. ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่า ไม่ได้เห็นปลาชนิดนี้ในทะเลจะนะมากว่า 30 ปีแล้ว
ส่วนทางฝั่งทะเลสตูลนั้นก็เคยจัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกัน ในชื่องาน “แข่งขันตกปลานานาชาติ สตูลหัวโทง ฟิชชิ่งคัพ” ภายใต้สโลแกน “ทะเลสตูลยังมีปลา... อ่าวปากบารายังอุดมสมบูรณ์” เมื่อปลายปี 2555 ที่ผ่านมา และรณรงค์กิจกรรมคัดค้านท่าเรือน้ำลึกปากบารามาโดยตลอด ซึ่งล่าสุด หลังจากมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะผลักดัน พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท พี่น้องชาวสตูลก็รวมตัวกันยื่นหนังสือคัดค้านไปถึงนายกรัฐมนตรี โดยผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้รัฐบาลทบทวนถึงความคุ้มทุนในการก่อสร้าง และดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เห็นเห็นแก่ผลประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง มากเสียจนละเลยที่จะฟังเสียงประชาชนเจ้าของพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโครงนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้
เมื่อพูดถึง “ความคุ้มทุน” แรงต้านของประชาชนอาจจะไม่เสียงดังพอ ที่จะต่อกรกับรัฐบาลว่าเมื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นมาทั้ง 2 แห่ง เป็นแพกเกจคู่นั้น สิ่งที่ได้ตามมาจะไม่คุ้มเสีย ในประเด็นนี้แม้กระทั่งผู้ประกอบการธุรกิจเดินเรือ หรือลอจิสติกส์เอง ก็ยังเห็นว่าไม่คุ้มทุน เนื่องจากต้องเคลื่อนย้ายตู้คอนเทนเนอร์จากทะเลฝั่งหนึ่งขึ้นมาพัก ก่อนจะส่งผ่านรถไฟรางคู่ไปยังอีกฝั่ง และเคลื่อนย้ายส่งลงเรืออีกรอบ โดยมองว่าเป็นการเคลื่อนย้ายที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ทั้งความเสียหายจากการเคลื่อนย้าย และระยะเวลาในการขนส่งแต่ละทอด
ในขณะที่เหล่าผู้ยืนยันผลักดันให้สร้างอ้าง “การเปิดประตูสู่อาเซียน” มาเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญในการเดินเครื่องสร้างท่าเรือน้ำลึกนี้เต็มสูบ โดยไม่ลืมตามอง และไม่คิดที่จะส่งเสริมศักยภาพด้านอื่นๆ ที่สอดคล้องกับทรัพยากร และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น
“จะนะ” มีทะเลเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ และปัจจุบันส่งไปขายยังจังหวัดต่างๆ เกือบทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งส่งออกไปต่างประเทศ เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ก็ยังเป็น “เมืองหลวงของนกเขาชวาของภูมิภาคอาเซียน” โดยมีทั้งฟาร์มนกเขาชวา และอาชีพต่อเนื่อง ทั้งผลิตกรงนก และผลิตอาหารนก เป็นจุดแข็งที่สร้างรายได้ให้ อ.จะนะ ในแต่ละปีสูงไม่แพ้รายได้จากอาหารทะเล
ส่วน “ปากบารา” นอกจากอาหารทะเลซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนใน จ.สตูล และส่งออกไปขายยังต่างประเทศเช่นเดียวกันแล้ว ก็ยังเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่สำคัญของ จ.สตูล ซึ่งเป็นจุดขายที่สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้แก่พื้นที่เลยก็ว่าได้ นั่นคือ เป็นต้นทางในการลงเรือไปเที่ยวยังเกาะตะรุ เกาะไข่ เกาะหลีเป๊ะ เกาะหินงาม และดำน้ำดูปะการังเจ็ดสี และความอุดมสมบูรณ์ใต้ท้องทะเล
การสร้างท่าเรือน้ำลึกแบบแพกเกจคู่ สงขลา-สตูล จึงไม่เพียงทำลายอาชีพประมง และห่วงโซ่อาหารของคนกินปลาเท่านั้น แต่ยังทำลายแหล่งท่องเที่ยวด้วย “คนเมือง” ที่รักการเที่ยวทะเล รักการดำน้ำดูปะการัง และโปรดปรานกุ้ง หอย ปู ปลา จึงควรหันมาใส่ใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนผู้มีอำนาจบาตรใหญ่บ้านเมือง ก็ควรคิดทบทวนให้รอบคอบอีกหลายๆ ครั้ง ว่าจะดื้อดึงผลักดันให้เกิดการบ่อนทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่นับได้ว่าเป็นสมบัติของคนทั้งประเทศไปเพื่ออะไร
หากจริงใจกับประชาชนในพื้นที่ และต้องการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง ควรใช้จุดขายที่เป็นจุดแข็งของพื้นที่มาต่อยอดให้พัฒนายิ่งๆ ขึ้นไปไม่ดีกว่าหรือ?