ยะลา - ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ตั้งศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ เพื่อระดมความคิดทุกภาคส่วน เชื่อส่งเสริมกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ เผย ประเด็นพูดคุยครั้งที่ 2 วันที่ 29 เมษายนนี้ มุ่งเรื่องการอำนวยความยุติธรรม
วันนี้ (25 เม.ย.) ผศ.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DeepSouthWatch/DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในการเดินทางมายื่นหนังสือให้แก่ท่านนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการพิจารณาว่า ต้องการจะช่วยนโยบายการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพื้นที่ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีองค์กรเช่นสถาบันสันติศึกษา สถาบันวิจัยความขัดแย้ง และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ จึงจะขอให้รัฐบาลจัดตั้งเป็นศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสนับสนุนโครงการเพื่อสันติภาพ ที่จะมีการรวมการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ปัญหาภาคใต้ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม นักวิชาการในพื้นที่ เพื่อที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพ เช่น เป็นที่รวมขององค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย เกี่ยวกับการบริหารในสถานการณ์ความขัดแย้ง กระบวนการสันติภาพ และจะมีการช่วยเหลือจากต่างประเทศในเรื่องของข้อมูลทางวิชาการ และจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเปิดพื้นที่ในการพูดคุยในพื้นที่ เป็นการส่งเสริมกระบวนการสันติภาพที่ทางรัฐบาลดำเนินการอยู่ แต่จะเป็นการทำในระดับล่าง โดยมีภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ดำเนินการผ่านศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ ที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เชื่อว่าน่าจะมีบทบาทในด้านนี้
“ถ้าศูนย์ทรัพยากรสันติภาพเกิดขึ้นได้นั้นก็จะเป็นพื้นที่กลาง เมื่อทางรัฐบาลกับฝ่ายขบวนการที่มีการพูดคุยกันอยู่ในขณะนี้ เกิดความไม่ไว้วางใจกัน หรือเกิดปัญหาวิกฤต หาทางออกไม่ได้ในระหว่างพูดคุย ศูนย์แห่งนี้ก็จะเป็นพื้นที่กลางที่จะระดมฝ่ายต่างๆ มาช่วยเพื่อส่งเสริม สร้างความมั่นคงให้แก่กระบวนการพูดคุยให้มีความยั่งยืน” ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าว
ผศ.ศรีสมภพ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับในการเดินทางไปพูดคุยเพื่อสันติภาพกับฝ่ายขบวนการในวันที่ 29 เมษายน 2556 นี้ ขณะนี้ก็กำลังรอดูอยู่ว่าทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังดำเนินการอะไรอยู่ แต่คาดว่าปัญหาหลักที่จะไปพูดคุยก็คือเรื่องกระบวนการยุติธรรม หมายจับคดีอาญา คดีความมั่นคง การยกเลิกกฎหมายพิเศษ ว่าขั้นตอนจะเป็นอย่างไร รวมทั้งกระบวนการของศาลว่าเป็นอย่างไร ที่เป็นประเด็นเรื่องความยุติธรรม ที่เชื่อว่าจะเป็นประเด็นหลักในการพูดคุยรอบนี้
วันนี้ (25 เม.ย.) ผศ.ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DeepSouthWatch/DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ในการเดินทางมายื่นหนังสือให้แก่ท่านนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีการพิจารณาว่า ต้องการจะช่วยนโยบายการพูดคุยเพื่อสันติภาพในพื้นที่ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีองค์กรเช่นสถาบันสันติศึกษา สถาบันวิจัยความขัดแย้ง และศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ จึงจะขอให้รัฐบาลจัดตั้งเป็นศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ ในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อสนับสนุนโครงการเพื่อสันติภาพ ที่จะมีการรวมการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ปัญหาภาคใต้ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม นักวิชาการในพื้นที่ เพื่อที่สนับสนุนกระบวนการสันติภาพ เช่น เป็นที่รวมขององค์ความรู้ทางวิชาการ งานวิจัย เกี่ยวกับการบริหารในสถานการณ์ความขัดแย้ง กระบวนการสันติภาพ และจะมีการช่วยเหลือจากต่างประเทศในเรื่องของข้อมูลทางวิชาการ และจะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาเปิดพื้นที่ในการพูดคุยในพื้นที่ เป็นการส่งเสริมกระบวนการสันติภาพที่ทางรัฐบาลดำเนินการอยู่ แต่จะเป็นการทำในระดับล่าง โดยมีภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ดำเนินการผ่านศูนย์ทรัพยากรสันติภาพ ที่ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เชื่อว่าน่าจะมีบทบาทในด้านนี้
“ถ้าศูนย์ทรัพยากรสันติภาพเกิดขึ้นได้นั้นก็จะเป็นพื้นที่กลาง เมื่อทางรัฐบาลกับฝ่ายขบวนการที่มีการพูดคุยกันอยู่ในขณะนี้ เกิดความไม่ไว้วางใจกัน หรือเกิดปัญหาวิกฤต หาทางออกไม่ได้ในระหว่างพูดคุย ศูนย์แห่งนี้ก็จะเป็นพื้นที่กลางที่จะระดมฝ่ายต่างๆ มาช่วยเพื่อส่งเสริม สร้างความมั่นคงให้แก่กระบวนการพูดคุยให้มีความยั่งยืน” ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ กล่าว
ผศ.ศรีสมภพ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับในการเดินทางไปพูดคุยเพื่อสันติภาพกับฝ่ายขบวนการในวันที่ 29 เมษายน 2556 นี้ ขณะนี้ก็กำลังรอดูอยู่ว่าทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำลังดำเนินการอะไรอยู่ แต่คาดว่าปัญหาหลักที่จะไปพูดคุยก็คือเรื่องกระบวนการยุติธรรม หมายจับคดีอาญา คดีความมั่นคง การยกเลิกกฎหมายพิเศษ ว่าขั้นตอนจะเป็นอย่างไร รวมทั้งกระบวนการของศาลว่าเป็นอย่างไร ที่เป็นประเด็นเรื่องความยุติธรรม ที่เชื่อว่าจะเป็นประเด็นหลักในการพูดคุยรอบนี้