ปัตตานี - ม.อ.ปัตตานี มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย และวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปัตตานี ลงนามความร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อการส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ
วันนี้ (13 มี.ค.) รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน และสังคมภายนอกในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา อบรมทางวิชาการ การรับเชิญเป็นวิทยากร การบรรยายพิเศษ การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ การให้บริการด้านวิเคราะห์ตัวอย่าง การบริการเครื่องมือและอุปกรณ์ และการบริการเกี่ยวกับสุขภาพแก่บุคคลทั่วไป
โดยการบริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบให้เปล่า พร้อมทั้งมีความพร้อมในการให้คำปรึกษา และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลแก่สถานประกอบการผลิตอาหาร โดยได้ให้บริการวิชาการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ใน 4 ภารกิจหลัก ได้แก่ งานให้คำปรึกษาและตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ งานถ่ายทอดเทคโนโลยี งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และงานวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร
ดังนั้น เพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาในพื้นที่ องค์กรทางสังคม และชุมชนมีลักษณะเป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้จัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 7 กลุ่ม เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลูกหยีสะดาวา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านป่าหวังนอก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านมุสลิมเกษตรกรบางหวาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีทำขนมบ้านดาโต๊ะ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนอกค่ายพัฒนา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาเจ๊ะเหม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวเกรียบบ้านปาตาบาระ เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตามที่มีการวิเคราะห์วินิจฉัย และตกลงร่วมกันและสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศได้
รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อแสดงเจตจำนงในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย และวิสาหกิจชุมชนทั้ง 7 กลุ่ม
เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ ตามที่มีการวิเคราะห์วินิจฉัยและตกลงร่วมกัน และสามารถวางออกสู่ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งมียอดจำหน่ายปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญของความร่วมมือ ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รับผิดชอบทางด้านการให้คำปรึกษาการด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ เช่น อย. ฮาลาล มอก. เป็นต้น พร้อมพัฒนาความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อสามารถใช้จิ้มผลิตภัณฑ์อื่นนอกจากข้าวเกรียบได้ รวมทั้งการวิเคราะห์ทดสอบตามความเหมาะสมจากการวิเคราะห์วินิจฉัย มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย รับผิดชอบทางด้านพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด และการสร้างเครือข่าย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 7 กลุ่ม รับผิดชอบทางด้านการเป็นผู้ผลิต และยินยอมให้ใช้เป็นพื้นที่สำหรับการวิจัย การศึกษาดูงาน เป็นต้น
รศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ประธานมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่ามูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย เป็นองค์กรของสังคมมุสลิมที่ได้รับการยอมรับ หลังจากทำงานมากว่า 5 ปี ตั้งแต่ปลายปี 2551 ด้วยเจตนาที่ต้องการสร้างเสริมสุขภาวะในสังคมมุสลิมให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน จำนวนประชากรมุสลิมทั่วประเทศที่มีประมาณ 6.5 ล้านคน แต่ด้วยความเป็นกลุ่มประชากรที่มีลักษณะเฉพาะหลายประการ แม้ปัญหาสุขภาวะส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างไปจากคนไทยทั่วไปนัก แต่หลายปัญหาเป็นปัญหาเฉพาะ ประกอบดับมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการทำงานไว้ 5 ยุทธศาสตร์
ได้แก่ ด้านสิ่งเสพติด ยาสูบและสุรา ด้านครอบครัว แม่และเด็ก ด้านเศรษฐกิจยั่งยืน ประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนและมัสยิด ด้านการศึกษา โรงเรียนผู้นำสุขภาวะโรงเรียนปอเนอะสร้างสุข และด้านการเปลี่ยนโฉมหน้าสื่อมุสลิม เป็นต้น
วันนี้ (13 มี.ค.) รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน และสังคมภายนอกในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา อบรมทางวิชาการ การรับเชิญเป็นวิทยากร การบรรยายพิเศษ การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ การให้บริการด้านวิเคราะห์ตัวอย่าง การบริการเครื่องมือและอุปกรณ์ และการบริการเกี่ยวกับสุขภาพแก่บุคคลทั่วไป
โดยการบริการจัดฝึกอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบให้เปล่า พร้อมทั้งมีความพร้อมในการให้คำปรึกษา และพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลแก่สถานประกอบการผลิตอาหาร โดยได้ให้บริการวิชาการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 ใน 4 ภารกิจหลัก ได้แก่ งานให้คำปรึกษาและตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ งานถ่ายทอดเทคโนโลยี งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และงานวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร
ดังนั้น เพื่อให้การทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาในพื้นที่ องค์กรทางสังคม และชุมชนมีลักษณะเป็นรูปธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้จัดทำบันทึกความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดปัตตานี จำนวน 7 กลุ่ม เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปลูกหยีสะดาวา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านป่าหวังนอก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านมุสลิมเกษตรกรบางหวาน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีทำขนมบ้านดาโต๊ะ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนอกค่ายพัฒนา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มชาเจ๊ะเหม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตข้าวเกรียบบ้านปาตาบาระ เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตามที่มีการวิเคราะห์วินิจฉัย และตกลงร่วมกันและสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดต่างประเทศได้
รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เพื่อแสดงเจตจำนงในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย และวิสาหกิจชุมชนทั้ง 7 กลุ่ม
เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ ตามที่มีการวิเคราะห์วินิจฉัยและตกลงร่วมกัน และสามารถวางออกสู่ตลาดต่างประเทศ รวมทั้งมียอดจำหน่ายปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญของความร่วมมือ ประกอบด้วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รับผิดชอบทางด้านการให้คำปรึกษาการด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานต่างๆ เช่น อย. ฮาลาล มอก. เป็นต้น พร้อมพัฒนาความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อสามารถใช้จิ้มผลิตภัณฑ์อื่นนอกจากข้าวเกรียบได้ รวมทั้งการวิเคราะห์ทดสอบตามความเหมาะสมจากการวิเคราะห์วินิจฉัย มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย รับผิดชอบทางด้านพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด และการสร้างเครือข่าย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทั้ง 7 กลุ่ม รับผิดชอบทางด้านการเป็นผู้ผลิต และยินยอมให้ใช้เป็นพื้นที่สำหรับการวิจัย การศึกษาดูงาน เป็นต้น
รศ.ดร.อิศรา ศานติศาสน์ ประธานมูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย กล่าวเพิ่มเติมว่ามูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย เป็นองค์กรของสังคมมุสลิมที่ได้รับการยอมรับ หลังจากทำงานมากว่า 5 ปี ตั้งแต่ปลายปี 2551 ด้วยเจตนาที่ต้องการสร้างเสริมสุขภาวะในสังคมมุสลิมให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน จำนวนประชากรมุสลิมทั่วประเทศที่มีประมาณ 6.5 ล้านคน แต่ด้วยความเป็นกลุ่มประชากรที่มีลักษณะเฉพาะหลายประการ แม้ปัญหาสุขภาวะส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างไปจากคนไทยทั่วไปนัก แต่หลายปัญหาเป็นปัญหาเฉพาะ ประกอบดับมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการทำงานไว้ 5 ยุทธศาสตร์
ได้แก่ ด้านสิ่งเสพติด ยาสูบและสุรา ด้านครอบครัว แม่และเด็ก ด้านเศรษฐกิจยั่งยืน ประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนและมัสยิด ด้านการศึกษา โรงเรียนผู้นำสุขภาวะโรงเรียนปอเนอะสร้างสุข และด้านการเปลี่ยนโฉมหน้าสื่อมุสลิม เป็นต้น