ศูนย์ข่าวภูเก็ต - วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต มอบประกาศนียบัตร ประจำปีการศึกษา 2555 แก่นักศึกษาผู้จบหลักสูตรประกาศนียบัตร และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (10 มี.ค.) ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ดร.จำรัส นองมาก อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร ประจำปีการศึกษา 2555 ให้แก่นักศึกษาผู้จบหลักสูตรประกาศนียบัตร และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต โดยมีคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา แขกผู้มีเกียรติ และผู้ปกครองเข้าร่วม โดยในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับ ปวช. จำนวน 232 คน และ ปวส. จำนวน 153 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 385 คน
สำหรับวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต เปิดสอนระดับ ปวช. ประเภทวิชาชีพพาณิชยกรรม และประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และระดับ ปวส. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี การตลาด การโรงแรม คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาษาต่างประเทศ และการท่องเที่ยว ปัจจุบัน มีนักเรียน นักศึกษา 1,011 คน ครู อาจารย์ 57 คน วิทยาลัยมีนโยบายสำคัญที่จะอบรมสั่งสอน และฝึกเยาวชนของชาติให้มีสติปัญญา และความสามารถ สำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพ พัฒนาตน และสังคมได้เป็นอย่างดี ดังปรัชญาของวิทยาลัย คือ “ปัญญามี ดีต่อสังคม”
ดร.จำรัส นองมาก อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมยินดีแก่นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร และได้รับประกาศนียบัตร ว่า “ประสบการณ์ และวิทยาการต่างๆ ที่นักศึกษาทุกคนได้รับถือเป็นต้นทุนสำคัญในการประกอบอาชีพ ผู้ที่จะเรียนจบสายอาชีพจะเป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงาน แต่ในความเป็นจริงสถานประกอบการยังขาดแรงงานที่มีคุณภาพอยู่อีกมาก ปัจจัยหนึ่งอาจจะเป็นเพราะความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมของผู้ที่จบการศึกษายังไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
“คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในการทำงาน ในสถานประกอบการแต่ละแห่ง ย่อมแตกต่างไปตามลักษณะงาน แต่คุณลักษณะทั่วไปที่ทุกแห่งต้องการ และถือเป็นพฤติกรรมที่ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ความรู้ ความสามารถในด้านที่ตนเองศึกษาเล่าเรียนมาอย่างถูกต้อง รวมทั้งศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนั้นๆ อยู่ตลอดเวลา การฝึกนิสัยการทำงานมุ่งผลสำเร็จ โดยการกำหนดภาพความสำเร็จของงานในอนาคตให้ชัดเจน มีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมถึงการดำรงตำแหน่งอย่างพอเพียงตามควรแก่ฐานะ ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว สังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนอยู่ในกรอบศาสนาที่ตนนับถือ” ดร.จำรัส กล่าวและว่า
หากนักศึกษาตระหนัก และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ก็คงจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์เกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนจบสายอาชีวศึกษาในตลาดแรงงานได้ในระดับหนึ่ง
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (10 มี.ค.) ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต ดร.จำรัส นองมาก อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร ประจำปีการศึกษา 2555 ให้แก่นักศึกษาผู้จบหลักสูตรประกาศนียบัตร และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต โดยมีคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษา แขกผู้มีเกียรติ และผู้ปกครองเข้าร่วม โดยในปีการศึกษา 2555 วิทยาลัยได้จัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ในระดับ ปวช. จำนวน 232 คน และ ปวส. จำนวน 153 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 385 คน
สำหรับวิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต เปิดสอนระดับ ปวช. ประเภทวิชาชีพพาณิชยกรรม และประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และระดับ ปวส. ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี การตลาด การโรงแรม คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาษาต่างประเทศ และการท่องเที่ยว ปัจจุบัน มีนักเรียน นักศึกษา 1,011 คน ครู อาจารย์ 57 คน วิทยาลัยมีนโยบายสำคัญที่จะอบรมสั่งสอน และฝึกเยาวชนของชาติให้มีสติปัญญา และความสามารถ สำเร็จการศึกษาออกไปประกอบอาชีพ พัฒนาตน และสังคมได้เป็นอย่างดี ดังปรัชญาของวิทยาลัย คือ “ปัญญามี ดีต่อสังคม”
ดร.จำรัส นองมาก อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมยินดีแก่นักศึกษาที่เรียนจบหลักสูตร และได้รับประกาศนียบัตร ว่า “ประสบการณ์ และวิทยาการต่างๆ ที่นักศึกษาทุกคนได้รับถือเป็นต้นทุนสำคัญในการประกอบอาชีพ ผู้ที่จะเรียนจบสายอาชีพจะเป็นกำลังสำคัญในตลาดแรงงาน แต่ในความเป็นจริงสถานประกอบการยังขาดแรงงานที่มีคุณภาพอยู่อีกมาก ปัจจัยหนึ่งอาจจะเป็นเพราะความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมของผู้ที่จบการศึกษายังไม่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ
“คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งในการทำงาน ในสถานประกอบการแต่ละแห่ง ย่อมแตกต่างไปตามลักษณะงาน แต่คุณลักษณะทั่วไปที่ทุกแห่งต้องการ และถือเป็นพฤติกรรมที่ช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ความรู้ ความสามารถในด้านที่ตนเองศึกษาเล่าเรียนมาอย่างถูกต้อง รวมทั้งศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องนั้นๆ อยู่ตลอดเวลา การฝึกนิสัยการทำงานมุ่งผลสำเร็จ โดยการกำหนดภาพความสำเร็จของงานในอนาคตให้ชัดเจน มีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง รวมถึงการดำรงตำแหน่งอย่างพอเพียงตามควรแก่ฐานะ ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว สังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนอยู่ในกรอบศาสนาที่ตนนับถือ” ดร.จำรัส กล่าวและว่า
หากนักศึกษาตระหนัก และยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ก็คงจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์เกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนจบสายอาชีวศึกษาในตลาดแรงงานได้ในระดับหนึ่ง