นราธิวาส - มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โชว์ผลงานผลิตแพทย์รุ่นแรกป้ายแดงสำเร็จ จำนวน 13 คน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (3 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส พ.ท.นายแพทย์อเนก ยมจินดา รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เป็นประธานในพิธีปัจฉิมนิเทศบัณฑิตแพทย์ รุ่นที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 13 คน ที่จบคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นบุตรหลานของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภูมิลำเนาเกิดของแต่ละคน ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ที่ปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน
โดยปัจจุบัน คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 คน ต้องรักษาดูแลสุขภาพประชาชน 2,745 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ต้นปี 2547 ถึงปัจจุบัน แพทย์ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจดูแลรักษาชีวิตของประชาชน และเจ้าหน้าที่กองกำลังที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งเป้าเมื่อมหาวิทยาลัยฯ มีขีดความสามารถผลิตแพทย์ได้ปีละ 24 คน ในอีก 10 ปีข้างหน้า การขาดแคลนแพทย์ที่ลงมาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะประสบปัญหาการขาดแคลนแพทย์น้อยลงตามลำดับ
เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (3 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง จ.นราธิวาส พ.ท.นายแพทย์อเนก ยมจินดา รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เป็นประธานในพิธีปัจฉิมนิเทศบัณฑิตแพทย์ รุ่นที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555 จำนวน 13 คน ที่จบคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นบุตรหลานของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภูมิลำเนาเกิดของแต่ละคน ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ ที่ปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน
โดยปัจจุบัน คิดเป็นอัตราส่วนแพทย์ 1 คน ต้องรักษาดูแลสุขภาพประชาชน 2,745 คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ต้นปี 2547 ถึงปัจจุบัน แพทย์ยิ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการตรวจดูแลรักษาชีวิตของประชาชน และเจ้าหน้าที่กองกำลังที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งเป้าเมื่อมหาวิทยาลัยฯ มีขีดความสามารถผลิตแพทย์ได้ปีละ 24 คน ในอีก 10 ปีข้างหน้า การขาดแคลนแพทย์ที่ลงมาปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะประสบปัญหาการขาดแคลนแพทย์น้อยลงตามลำดับ