พังงา - ทหารเรือนำดีเอสไอลงพื้นที่ตรวจสอบเขาหน้ายักษ์ หลังทัพเรือภาคที่ 3 ยื่นให้ตรวจสอบการครอบครองที่ดินของนายทุน ไม่พบร่องรอยการทำประโยชน์ในที่ดิน
เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร ผบ.สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค กำลังเจ้าหน้าที่ทหารเรือกองเรือภาค 3 โดยได้ประสานกับทาง พล.ร.ท.ธราธร ขจิตสุวรรณ ผบ.กองเรือภาค 3 เข้าตรวจสอบพื้นที่เขาหน้ายักษ์ บริเวณฝั่งตรงข้ามกับฐานทัพเรือพังงา บ้านทับละมุ หมู่ที่ 5 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเตรียมการ และกองทัพเรือได้ขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ ใช้เป็นพื้นที่ฝึก และเป็นพื้นที่ความมั่นคง (เขตปลอดภัยทหาร) ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
จากการตรวจสอบพบว่า ในพื้นที่มีลักษณะเป็นชายหาด บางจุดมีหลักโฉนด และมีป่าสน ป่าโกงกาง ในเบื้องต้นไม่พบว่ามีการบุกรุก หรือสิ่งปลูกสร้างถาวรแต่อย่างใด มีเพียงป้ายของทหารเรือติดไว้ว่า “เป็นเขตอันตรายไว้ซ้อมอาวุธของทางฐานทัพเรือพังงา” อีกทั้งมีป้ายประกาศว่า “ทางทหารมีการเช่าพื้นที่จากป่าไม้แล้ว”
พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กล่าวภายหลังการตรวจสอบพื้นที่ว่า ทางดีเอสไอได้รับการร้องขอจากกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ให้เข้าตรวจสอบที่ดินพื้นที่เขาหน้ายักษ์ บ้านทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งพบว่าเดิมมีการแจ้งหลักฐาน ส.ค.1 ไว้เป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ โดยแจ้งว่า เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว และต่อมา ได้มีบุคคลนำหลักฐานดังกล่าวมาออกเป็น น.ส.3 (ครุฑดำ) เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่เศษ
ซึ่งจากการอ่านแปลวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ.2510, 2519, 2542, 2545 พบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกมะพร้าวบริเวณชายหาดเพียง 1-3-88 ไร่ และในพื้นที่เขา หรือภูเขาไม่มีการปลูกพืชผลอาสินแต่อย่างใด และที่สำคัญการอ่านแปลวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศปี 2552 ไม่พบร่องรอยการปลูกพืชผลอาสินแล้ว แสดงให้เห็นว่า มีการปล่อยพื้นที่ทิ้งร้าง สภาพปัจจุบันเป็นป่ารกทึบเต็มพื้นที่ และพบเห็นซากต้นมะพร้าวเพียงประมาณ 4-5ต้นเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 มีความพยายามของกลุ่มนายทุนในพื้นที่ที่จะออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ชายหาด และบนภูเขา เป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งโดยสภาพของพื้นที่เกิดเหตุที่พบว่า ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์แล้ว มีสภาพเป็นป่ารกทึบ และยังมีสภาพเป็นที่เขา หรือภูเขา ซึ่งเป็นข้อห้ามหลักในการออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป
เมื่อวานนี้ (27 ก.พ.) พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร ผบ.สำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค กำลังเจ้าหน้าที่ทหารเรือกองเรือภาค 3 โดยได้ประสานกับทาง พล.ร.ท.ธราธร ขจิตสุวรรณ ผบ.กองเรือภาค 3 เข้าตรวจสอบพื้นที่เขาหน้ายักษ์ บริเวณฝั่งตรงข้ามกับฐานทัพเรือพังงา บ้านทับละมุ หมู่ที่ 5 ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าเตรียมการ และกองทัพเรือได้ขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมป่าไม้ ใช้เป็นพื้นที่ฝึก และเป็นพื้นที่ความมั่นคง (เขตปลอดภัยทหาร) ควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
จากการตรวจสอบพบว่า ในพื้นที่มีลักษณะเป็นชายหาด บางจุดมีหลักโฉนด และมีป่าสน ป่าโกงกาง ในเบื้องต้นไม่พบว่ามีการบุกรุก หรือสิ่งปลูกสร้างถาวรแต่อย่างใด มีเพียงป้ายของทหารเรือติดไว้ว่า “เป็นเขตอันตรายไว้ซ้อมอาวุธของทางฐานทัพเรือพังงา” อีกทั้งมีป้ายประกาศว่า “ทางทหารมีการเช่าพื้นที่จากป่าไม้แล้ว”
พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล ผบ.สำนักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กล่าวภายหลังการตรวจสอบพื้นที่ว่า ทางดีเอสไอได้รับการร้องขอจากกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ให้เข้าตรวจสอบที่ดินพื้นที่เขาหน้ายักษ์ บ้านทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ซึ่งพบว่าเดิมมีการแจ้งหลักฐาน ส.ค.1 ไว้เป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ โดยแจ้งว่า เป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าว และต่อมา ได้มีบุคคลนำหลักฐานดังกล่าวมาออกเป็น น.ส.3 (ครุฑดำ) เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่เศษ
ซึ่งจากการอ่านแปลวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศในอดีตตั้งแต่ปี พ.ศ.2510, 2519, 2542, 2545 พบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกมะพร้าวบริเวณชายหาดเพียง 1-3-88 ไร่ และในพื้นที่เขา หรือภูเขาไม่มีการปลูกพืชผลอาสินแต่อย่างใด และที่สำคัญการอ่านแปลวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศปี 2552 ไม่พบร่องรอยการปลูกพืชผลอาสินแล้ว แสดงให้เห็นว่า มีการปล่อยพื้นที่ทิ้งร้าง สภาพปัจจุบันเป็นป่ารกทึบเต็มพื้นที่ และพบเห็นซากต้นมะพร้าวเพียงประมาณ 4-5ต้นเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 มีความพยายามของกลุ่มนายทุนในพื้นที่ที่จะออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ชายหาด และบนภูเขา เป็นเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ซึ่งโดยสภาพของพื้นที่เกิดเหตุที่พบว่า ไม่มีร่องรอยการทำประโยชน์แล้ว มีสภาพเป็นป่ารกทึบ และยังมีสภาพเป็นที่เขา หรือภูเขา ซึ่งเป็นข้อห้ามหลักในการออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง โดยทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอจะเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป