ระนอง - นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง คิดค้นพลังงานทางเลือกจากมูลสัตว์และเศษอาหาร ทำให้เกิดแก๊สมีเทนสามารถนำไปปรับใช้เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีทื่ 4 โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง โดย นายวชิรวิททย์ สังวรกาญจน์ และ น.ส.ฐานิศา ปติพงศ์สุนทร ได้นำเสนอการศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก สามารถนำไปปรับใช้เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือนได้อย่างง่ายดาย โดยขั้นตอนการผลิตแก๊สชีวภาพก็จะจำลองถังหมัก จากถังใส่น้ำดื่ม นำมูลวัว หรือมูลสุกรมาหมักผสมกับเศษอาหารเพื่อให้เกิดการย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไร้ออกซิเจน จะได้แก๊สมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแก๊สมีเทน มีการเจาะช่องเพื่อระบายทั้งของเสีย และแก๊สมีเทนที่ได้ก็ไหลผ่านท่อเข้าไปแทนที่น้ำในถังเก็บแก๊สซึ่งมีขนาดเล็ก และสามารถใช้เป็นพลังงานที่ให้ความร้อน และแสงสว่างได้
น.ส.ฐานิศา ปติพงศ์สุนทร กล่าวว่า วิธีหมักนำน้ำผสมมูลสัตว์ เทใส่ถังหมักนาน 10 วัน จากนั้นเติมเศษอาหารลงถังหมักแล้วกวนให้เข้ากันกับปฏิกูลเพื่อเพิ่มคุณภาพของจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดแก๊สมีเทน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานทางเลือก นำไปใช้ในการหุงต้ม เป็นพลังงานทดแทน ใช้ในการประกอบอาหาร หรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ นับเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยของเสียเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก
นายวชิรวิททย์ สังวรกาญจน์ กล่าวว่า ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพลังงานเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมัน ปิโตรเลียม แก๊สหุงต้ม กำลังลดน้อยลง และกำลังจะหมดไป เราจึงควรตระหนักถึงคุณค่าของพลังงาน โดยเฉพาะแก๊สหุงต้มซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงควรศึกษา และหาแหล่งพลังงานทดแทนให้เพียงพอต่อการใช้ของมนุษย์
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีทื่ 4 โรงเรียนพิชัยรัตนาคาร จังหวัดระนอง โดย นายวชิรวิททย์ สังวรกาญจน์ และ น.ส.ฐานิศา ปติพงศ์สุนทร ได้นำเสนอการศึกษาการผลิตแก๊สชีวภาพจากเศษอาหาร เพื่อเป็นพลังงานทางเลือก สามารถนำไปปรับใช้เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือนได้อย่างง่ายดาย โดยขั้นตอนการผลิตแก๊สชีวภาพก็จะจำลองถังหมัก จากถังใส่น้ำดื่ม นำมูลวัว หรือมูลสุกรมาหมักผสมกับเศษอาหารเพื่อให้เกิดการย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ในสภาพไร้ออกซิเจน จะได้แก๊สมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแก๊สมีเทน มีการเจาะช่องเพื่อระบายทั้งของเสีย และแก๊สมีเทนที่ได้ก็ไหลผ่านท่อเข้าไปแทนที่น้ำในถังเก็บแก๊สซึ่งมีขนาดเล็ก และสามารถใช้เป็นพลังงานที่ให้ความร้อน และแสงสว่างได้
น.ส.ฐานิศา ปติพงศ์สุนทร กล่าวว่า วิธีหมักนำน้ำผสมมูลสัตว์ เทใส่ถังหมักนาน 10 วัน จากนั้นเติมเศษอาหารลงถังหมักแล้วกวนให้เข้ากันกับปฏิกูลเพื่อเพิ่มคุณภาพของจุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดแก๊สมีเทน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานทางเลือก นำไปใช้ในการหุงต้ม เป็นพลังงานทดแทน ใช้ในการประกอบอาหาร หรือนำไปใช้เป็นประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไปได้ นับเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า โดยของเสียเหล่านั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้อีก
นายวชิรวิททย์ สังวรกาญจน์ กล่าวว่า ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะพลังงานเชื้อเพลิง ทั้งน้ำมัน ปิโตรเลียม แก๊สหุงต้ม กำลังลดน้อยลง และกำลังจะหมดไป เราจึงควรตระหนักถึงคุณค่าของพลังงาน โดยเฉพาะแก๊สหุงต้มซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้น เราจึงควรศึกษา และหาแหล่งพลังงานทดแทนให้เพียงพอต่อการใช้ของมนุษย์