คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ เกิดขึ้นในที่ประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบจากการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมจาก 3 จังหวัด คือ สงขลา ลำปาง และประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีผู้แทนส่วนราชการต่างๆ และบริษัทที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงด้วยวาจา และเอกสาร
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้านจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ร้องว่า พวกตนได้รับผลกระทบจากการลากสายอะไรก็ไม่รู้ (ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นสายเคเบิลสำรวจน้ำมัน) ของเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่เท่าตึก 3 ชั้น โดยไม่ได้มีการชี้แจง หรือบอกเล่าให้ทราบล่วงหน้า
สายเคเบิลดังกล่าว ทำให้น้ำทะเลขุ่น ปลาหนี ทำให้พวกตนจับปลาไม่ได้ นอกจากนี้ เรือประมงของพวกเขาก็ถูกตัดอวนทิ้ง ปะการังเทียม (หรือซั้ง) ที่ชาวบ้านร่วมกันวางไว้เพื่อเป็นเขตอนุรักษ์ให้เป็นที่อยู่ของปลาก็ถูกทำลาย เมื่อพวกตนเข้าขัดขวางเรือสำรวจดังกล่าวก็ล่าถอยไป แล้วก็เป็นไปตามที่ชาวประมงพื้นบ้านคาดหมาย คือ เรือสำรวจดังกล่าวก็กลับเข้ามาดำเนินการอีกในช่วงฤดูมรสุมซึ่งพวกเขาไม่สามารถออกไปขัดขวางได้เพราะคลื่นใหญ่ลมแรง
ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ที่ได้มาชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ทางกรมฯ ได้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว ส่วนขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน (ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ) นั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่ทำการสำรวจ
ผู้แทนส่วนราชการ และบริษัทได้ชี้แจงตามบทบาทหน้าที่ของตน แต่ประเด็นที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษ และนำมาเป็นชื่อบทความก็คือ ส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน
ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติชี้แจงว่า การสำรวจปิโตรเลียมนั้นไม่ต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (หรืออีไอเอ) เพราะถือว่าเป็นผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น
ผมเล่ามาค่อนข้างมากก็เพราะรอจังหวะประโยคที่ว่า ผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งผมมองว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะจะทำให้ที่ประชุม หรือสาธารณะเข้าใจว่า การสำรวจปิโตรเลียมมีผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น เมื่อมีการขุดเจาะ หรือผลิตจริงจะไม่มีผลกระทบเพราะได้มีมาตรการป้องกันผลกระทบตามการศึกษาอีไอเอเรียบร้อยแล้ว
ผมขออนุญาตท่านประธานที่ประชุมเพื่อฉายภาพ และเล่าเรื่องผลกระทบจากการขุดเจาะปิโตรเลียมโดยเฉพาะในบริเวณใกล้ๆ ชายฝั่ง
และไหนๆ ต้องลุกขึ้นไปฉายภาพที่คอมพิวเตอร์ทั้งที ผมเลยขออนุญาตทีเดียว 3 ประเด็นรวด จนเป็นที่มาของชื่อบทความคือ ผู้แทนกระทรวงพลังงานไม่เชื่อข้อมูลของตนเองซึ่งผมขอเล่าต่อไปดังนี้
หนึ่ง ผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมัน
ผมนำเสนอภาพวัตถุที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันดิบที่พัดขึ้นมาชายหาดอำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งได้มีการขุดเจาะน้ำมันห่างจากชายฝั่งประมาณ 15-30 กิโลเมตรเท่านั้น
ผมเล่าว่า “นี่เป็นภาพเมื่อ 2 วันก่อน ผู้ถ่ายภาพบอกว่า เมื่อนำก้อนดำๆ นี้มาบี้แล้วดมจะได้กลิ่นคล้ายน้ำมัน”
ผมได้เล่าต่อไปว่า “ผมได้เจอชาวประมงจากสะทิงพระที่ผมรู้จักมานานแล้วโดยบังเอิญ เราพบกันที่ชายทะเลจังหวัดสตูล เขาได้เล่าให้ผมฟังว่า ที่สะทิงพระไม่มีปลาให้จับมานานแล้ว หลังจากมีการขุดน้ำมันในทะเลได้สัก 1-2 ปี เพราะพื้นดินที่ท้องทะเลเต็มไปด้วยโคลนมีลักษณะเหนียว มีกลิ่นเหม็น หนาประมาณตาตุ่ม ทำให้ปลาอยู่ไม่ได้ อวนที่วางเมื่อก่อนล้างน้ำแล้วสะบัด สิ่งสกปรกจะหลุดจากตาอวน แต่เดียวนี้ไม่เป็นเช่นนั้น สะบัดไม่หลุด คล้ายไขมันเกาะที่อวน”
ดังนั้น ผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณใกล้ชายฝั่งจึงมีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวประมงชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพวกเขา
ผมได้เรียนต่อไปว่า “เท่าที่ผมทราบ เช่น ออสเตรเลีย จะไม่อนุญาตให้มีการขุดเจาะน้ำมันชายฝั่งทะเลเด็ดขาด เพราะระบบนิเวศชายฝั่งมีลักษณะซับซ้อน ทั้งอิทธิพลคลื่น ลมน้ำขึ้น น้ำลง แต่จะใกล้ขนาดไหนผมจำไม่ได้แน่นอน”
สอง น้ำมันดิบที่ขุดได้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปต่างประเทศ
ผมได้ตั้งคำถามว่า ในเมื่อผลกระทบจากการขุดน้ำมันดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณใกล้ชายฝั่งใกล้ทะเล แล้วเราจะขุดไปทำไม ประกอบกับจากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเองพบว่า มีการส่งออกน้ำมันดิบไปต่างไประเทศเป็นจำนวนมาก
“ตารางข้างล่างนี้เป็นข้อมูลของกรมฯ เอง ผมนำมาเปรียบเปรียบให้เห็นชัดเจน พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่แปลงยูงทอง ทานตะวัน ชบา และบัวหลวงมีการส่งออกทั้ง 100% ของที่ขุดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แหล่งสงขลา มีการส่งออกถึง 66-92%
ผมกล่าวต่อไปว่า “เวลากระทรวงจะให้สัมปทานปิโตรเลียม ก็อ้างเหตุผลต่อประชาชนว่า เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเองมันกลับตรงกันข้าม ราคาน้ำมันที่คนไทยใช้ก็มีราคาแพง ถ้ามันเป็นอย่างนี้ และมีผลกระทบอีกต่างหาก แล้วเราเก็บแหล่งน้ำมันดิบเอาไว้ก่อนไม่ดีกว่าหรือ”
สาม ผลประโยชน์ที่ประเทศได้รับก็น้อย
ผมฉวยโอกาสนำเสนอข้อมูลแผ่นที่ 3 ทันที เป็นข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอีกนั่นแหละ ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง 2554
ผมบอกว่า กล่าวเฉพาะในปี 2554 บริษัทที่รับสัมปทานลงทุน 1.45 แสนล้านบาท แต่ได้กำไรสุทธิถึง 1.40 แสนล้านบาท
“คิดเป็นร้อยละของกำไรสุทธิต่อเงินลงทุนก็ปาเข้าไปถึง 97% มีธุรกิจใดบ้างที่ได้กำไรสูงถึงขนาดนี้” (ท่านผู้อ่านโปรดอดทนดูตารางประกอบ)
หลังจากผมพูดจบ ปรากฏว่า ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแย้งผมทุกประเด็น ทั้ง 3 ประเด็นที่ผมว่าปลาในทะเลสะทิงพระ ท่านบอกว่า “ที่แท่นเจาะกลายเป็นที่พักพิงของปลาจำนวนมาก” พร้อมกับพยายามฉายวิดีโอให้ที่ประชุมดู แต่ขัดข้องทางเทคนิค ผมจึงถือโอกาสไปเข้าห้องน้ำ
ผมนั่งฟังคำชี้แจงของผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติด้วยความตั้งใจ ท่านบอกว่า
“การส่งออกน้ำมันดิบมีจริง แต่ไม่ได้มากเท่ากับตัวเลขของอาจารย์ประสาท เราส่งออกแค่วันละ 3-4 หมื่นบาร์เรลเท่านั้น”
“เอาอีกแล้ว เขาทำลายความน่าเชื่อถือของข้อมูลผมอีกแล้ว” ผมนึกในใจ
ผมได้เรียนต่อที่ประชุมว่า “ข้อมูลทั้งหมดเป็นของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติล้วนๆ ผมเพียงแต่นำมาวิเคราะห์เป็นร้อยละเท่านั้น”
ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวัน ผมเปิดอินเทอร์เน็ตให้ดูเว็บไซต์ของกรมฯ ทีละรายการ สิ่งที่ผมคาดไม่ถึงก็คือ ผู้แทนกรมฯ พูดออกมาว่า
“ผมไม่เคยเห็นข้อมูลนี้ น่าจะผิดอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะหน่วยผมจะกลับไปเช็กดู”
ก่อนปิดการประชุมในช่วงบ่าย ผมได้เรียนให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อตอนพักกลางวันผมกับผู้แทนกรมฯ ได้พูดอะไรกัน กลับมาถึงบ้านผมจัดการเซฟข้อมูลของกรมฯ ไว้เป็นหลักฐาน
ในประเด็นเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐบาลได้รับ ผู้แทนกรมฯ ได้เรียนต่อที่ประชุมว่า รัฐบาลได้รับผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าบริษัทรับสัมปทาน คือ รัฐบาลได้รับประมาณ 55%
ผมขอเรียนต่อท่านผู้อ่าน (ที่ส่วนหนึ่งไม่ค่อยมีความอดทน ทำความเข้าใจให้ละเอียด) ว่า ตัวเลขของผู้แทนกรมฯ นั้น เป็นการคิดผลประโยชน์หลักจากมีการหักต้นทุนทุกอย่างหมดแล้ว
ประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การหักต้นทุนเป็นอย่างไร
ปรากฏว่า ทางรัฐบาล (โดยพระราชบัญญัติเงินได้ปิโตรเลียม 2514) อนุญาตให้หักต้นทุนได้โดยไม่จำกัดจำนวน ไม่ว่าจะเป็นหนี้เสีย เงินรับรอง
ขอย้ำว่า ไม่มีการจำกัดจำนวน
ความจริงมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เรียกว่า Thailand II (ประมาณปี 2528-2532) ได้มีกฎหมายระบุว่า ค่าใช้จ่ายสามารถหักได้ไม่เกิน 20% ของมูลค่าปิโตรเลียม ส่วนที่เกินให้นำไปหักในปีต่อไปได้ (ซึ่งประเทศมาเลเซียกำลังใช้วิธีการนี้อยู่) แต่ต่อมาขีดจำกัดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป
ส่งผลให้บริษัทรับสัมปทานสามารถหักค่าใช้จ่ายในการลงทุนในปี 2554 ได้ถึง 144,878 ล้านบาท หรือ 34.4% ของมูลค่าปิโตรเลียม
หากเรายังใช้เกณฑ์ไม่เกิน 20% จะมีเงินเข้ารัฐอีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งมากกว่าค่าภาคหลวงที่เราได้รับเสียอีก
ท่านผู้อ่านที่เป็นข้าราชการคงทราบดีว่า สิทธิในการเบิกค่าเดินทาง ค่าที่พักของข้าราชการที่เดินทางไปราชการเขาจะมีกำหนดไว้ละเอียดยิบ เช่น ซี 5 นั่งเครื่องบินไม่ได้ ค่าที่พักคืนละกี่ร้อย เป็นต้น
แต่กับบริษัทรับสัมปทานปิโตรเลียมที่ร่ำรวยมหาศาล กระทรวงการคลังไม่มีการกำหนดเพดาน (โว้ย)
ตัวเลขกำไรสุทธิของผู้รับสัมปทานก็เห็นกันอยู่โทนโท่ว่าสูงถึง 97% ต่อปี เงินลงทุนที่ว่านี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการลงทุนถาวรที่มีอายุการใช้งานนานกว่านี้อีก
แต่ส่วนราชการของไทยกลับมองไม่เห็น กลับเกรงว่าบริษัทจะขาดทุน โดยไม่ดูข้อเท็จของทางราชการเอง
เขียนมาถึงตอนนี้ ผมนึกถึงบทกวีของใครไม่ทราบที่ว่า
“เจ้าซื่อต่อคนคด เจ้าทรยศต่อคนไทย ลูกหลานจะอายใจ ….”
โดย...ประสาท มีแต้ม
เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้ เกิดขึ้นในที่ประชุมเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของคณะอนุกรรมการสิทธิชุมชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามคำร้องเรียนของผู้ได้รับผลกระทบจากการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมจาก 3 จังหวัด คือ สงขลา ลำปาง และประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีผู้แทนส่วนราชการต่างๆ และบริษัทที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงด้วยวาจา และเอกสาร
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบซึ่งเป็นชาวประมงพื้นบ้านจากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ร้องว่า พวกตนได้รับผลกระทบจากการลากสายอะไรก็ไม่รู้ (ซึ่งต่อมาทราบว่าเป็นสายเคเบิลสำรวจน้ำมัน) ของเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่เท่าตึก 3 ชั้น โดยไม่ได้มีการชี้แจง หรือบอกเล่าให้ทราบล่วงหน้า
สายเคเบิลดังกล่าว ทำให้น้ำทะเลขุ่น ปลาหนี ทำให้พวกตนจับปลาไม่ได้ นอกจากนี้ เรือประมงของพวกเขาก็ถูกตัดอวนทิ้ง ปะการังเทียม (หรือซั้ง) ที่ชาวบ้านร่วมกันวางไว้เพื่อเป็นเขตอนุรักษ์ให้เป็นที่อยู่ของปลาก็ถูกทำลาย เมื่อพวกตนเข้าขัดขวางเรือสำรวจดังกล่าวก็ล่าถอยไป แล้วก็เป็นไปตามที่ชาวประมงพื้นบ้านคาดหมาย คือ เรือสำรวจดังกล่าวก็กลับเข้ามาดำเนินการอีกในช่วงฤดูมรสุมซึ่งพวกเขาไม่สามารถออกไปขัดขวางได้เพราะคลื่นใหญ่ลมแรง
ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ที่ได้มาชี้แจงต่อที่ประชุมว่า ทางกรมฯ ได้ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านแล้ว ส่วนขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน (ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ) นั้น เป็นหน้าที่ของบริษัทที่ทำการสำรวจ
ผู้แทนส่วนราชการ และบริษัทได้ชี้แจงตามบทบาทหน้าที่ของตน แต่ประเด็นที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษ และนำมาเป็นชื่อบทความก็คือ ส่วนที่เกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน
ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติชี้แจงว่า การสำรวจปิโตรเลียมนั้นไม่ต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (หรืออีไอเอ) เพราะถือว่าเป็นผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น
ผมเล่ามาค่อนข้างมากก็เพราะรอจังหวะประโยคที่ว่า ผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งผมมองว่าเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพราะจะทำให้ที่ประชุม หรือสาธารณะเข้าใจว่า การสำรวจปิโตรเลียมมีผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น เมื่อมีการขุดเจาะ หรือผลิตจริงจะไม่มีผลกระทบเพราะได้มีมาตรการป้องกันผลกระทบตามการศึกษาอีไอเอเรียบร้อยแล้ว
ผมขออนุญาตท่านประธานที่ประชุมเพื่อฉายภาพ และเล่าเรื่องผลกระทบจากการขุดเจาะปิโตรเลียมโดยเฉพาะในบริเวณใกล้ๆ ชายฝั่ง
และไหนๆ ต้องลุกขึ้นไปฉายภาพที่คอมพิวเตอร์ทั้งที ผมเลยขออนุญาตทีเดียว 3 ประเด็นรวด จนเป็นที่มาของชื่อบทความคือ ผู้แทนกระทรวงพลังงานไม่เชื่อข้อมูลของตนเองซึ่งผมขอเล่าต่อไปดังนี้
หนึ่ง ผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมัน
ผมนำเสนอภาพวัตถุที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันดิบที่พัดขึ้นมาชายหาดอำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา ซึ่งได้มีการขุดเจาะน้ำมันห่างจากชายฝั่งประมาณ 15-30 กิโลเมตรเท่านั้น
ผมเล่าว่า “นี่เป็นภาพเมื่อ 2 วันก่อน ผู้ถ่ายภาพบอกว่า เมื่อนำก้อนดำๆ นี้มาบี้แล้วดมจะได้กลิ่นคล้ายน้ำมัน”
ผมได้เล่าต่อไปว่า “ผมได้เจอชาวประมงจากสะทิงพระที่ผมรู้จักมานานแล้วโดยบังเอิญ เราพบกันที่ชายทะเลจังหวัดสตูล เขาได้เล่าให้ผมฟังว่า ที่สะทิงพระไม่มีปลาให้จับมานานแล้ว หลังจากมีการขุดน้ำมันในทะเลได้สัก 1-2 ปี เพราะพื้นดินที่ท้องทะเลเต็มไปด้วยโคลนมีลักษณะเหนียว มีกลิ่นเหม็น หนาประมาณตาตุ่ม ทำให้ปลาอยู่ไม่ได้ อวนที่วางเมื่อก่อนล้างน้ำแล้วสะบัด สิ่งสกปรกจะหลุดจากตาอวน แต่เดียวนี้ไม่เป็นเช่นนั้น สะบัดไม่หลุด คล้ายไขมันเกาะที่อวน”
ดังนั้น ผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณใกล้ชายฝั่งจึงมีมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวประมงชายฝั่งซึ่งเป็นแหล่งอาหารของพวกเขา
ผมได้เรียนต่อไปว่า “เท่าที่ผมทราบ เช่น ออสเตรเลีย จะไม่อนุญาตให้มีการขุดเจาะน้ำมันชายฝั่งทะเลเด็ดขาด เพราะระบบนิเวศชายฝั่งมีลักษณะซับซ้อน ทั้งอิทธิพลคลื่น ลมน้ำขึ้น น้ำลง แต่จะใกล้ขนาดไหนผมจำไม่ได้แน่นอน”
สอง น้ำมันดิบที่ขุดได้ส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปต่างประเทศ
ผมได้ตั้งคำถามว่า ในเมื่อผลกระทบจากการขุดน้ำมันดิบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณใกล้ชายฝั่งใกล้ทะเล แล้วเราจะขุดไปทำไม ประกอบกับจากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเองพบว่า มีการส่งออกน้ำมันดิบไปต่างไประเทศเป็นจำนวนมาก
“ตารางข้างล่างนี้เป็นข้อมูลของกรมฯ เอง ผมนำมาเปรียบเปรียบให้เห็นชัดเจน พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2555 ที่แปลงยูงทอง ทานตะวัน ชบา และบัวหลวงมีการส่งออกทั้ง 100% ของที่ขุดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แหล่งสงขลา มีการส่งออกถึง 66-92%
ผมกล่าวต่อไปว่า “เวลากระทรวงจะให้สัมปทานปิโตรเลียม ก็อ้างเหตุผลต่อประชาชนว่า เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ แต่จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานเองมันกลับตรงกันข้าม ราคาน้ำมันที่คนไทยใช้ก็มีราคาแพง ถ้ามันเป็นอย่างนี้ และมีผลกระทบอีกต่างหาก แล้วเราเก็บแหล่งน้ำมันดิบเอาไว้ก่อนไม่ดีกว่าหรือ”
สาม ผลประโยชน์ที่ประเทศได้รับก็น้อย
ผมฉวยโอกาสนำเสนอข้อมูลแผ่นที่ 3 ทันที เป็นข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติอีกนั่นแหละ ตั้งแต่ปี 2514 จนถึง 2554
ผมบอกว่า กล่าวเฉพาะในปี 2554 บริษัทที่รับสัมปทานลงทุน 1.45 แสนล้านบาท แต่ได้กำไรสุทธิถึง 1.40 แสนล้านบาท
“คิดเป็นร้อยละของกำไรสุทธิต่อเงินลงทุนก็ปาเข้าไปถึง 97% มีธุรกิจใดบ้างที่ได้กำไรสูงถึงขนาดนี้” (ท่านผู้อ่านโปรดอดทนดูตารางประกอบ)
หลังจากผมพูดจบ ปรากฏว่า ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแย้งผมทุกประเด็น ทั้ง 3 ประเด็นที่ผมว่าปลาในทะเลสะทิงพระ ท่านบอกว่า “ที่แท่นเจาะกลายเป็นที่พักพิงของปลาจำนวนมาก” พร้อมกับพยายามฉายวิดีโอให้ที่ประชุมดู แต่ขัดข้องทางเทคนิค ผมจึงถือโอกาสไปเข้าห้องน้ำ
ผมนั่งฟังคำชี้แจงของผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติด้วยความตั้งใจ ท่านบอกว่า
“การส่งออกน้ำมันดิบมีจริง แต่ไม่ได้มากเท่ากับตัวเลขของอาจารย์ประสาท เราส่งออกแค่วันละ 3-4 หมื่นบาร์เรลเท่านั้น”
“เอาอีกแล้ว เขาทำลายความน่าเชื่อถือของข้อมูลผมอีกแล้ว” ผมนึกในใจ
ผมได้เรียนต่อที่ประชุมว่า “ข้อมูลทั้งหมดเป็นของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติล้วนๆ ผมเพียงแต่นำมาวิเคราะห์เป็นร้อยละเท่านั้น”
ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวัน ผมเปิดอินเทอร์เน็ตให้ดูเว็บไซต์ของกรมฯ ทีละรายการ สิ่งที่ผมคาดไม่ถึงก็คือ ผู้แทนกรมฯ พูดออกมาว่า
“ผมไม่เคยเห็นข้อมูลนี้ น่าจะผิดอะไรสักอย่าง โดยเฉพาะหน่วยผมจะกลับไปเช็กดู”
ก่อนปิดการประชุมในช่วงบ่าย ผมได้เรียนให้ที่ประชุมทราบว่า เมื่อตอนพักกลางวันผมกับผู้แทนกรมฯ ได้พูดอะไรกัน กลับมาถึงบ้านผมจัดการเซฟข้อมูลของกรมฯ ไว้เป็นหลักฐาน
ในประเด็นเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนที่รัฐบาลได้รับ ผู้แทนกรมฯ ได้เรียนต่อที่ประชุมว่า รัฐบาลได้รับผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าบริษัทรับสัมปทาน คือ รัฐบาลได้รับประมาณ 55%
ผมขอเรียนต่อท่านผู้อ่าน (ที่ส่วนหนึ่งไม่ค่อยมีความอดทน ทำความเข้าใจให้ละเอียด) ว่า ตัวเลขของผู้แทนกรมฯ นั้น เป็นการคิดผลประโยชน์หลักจากมีการหักต้นทุนทุกอย่างหมดแล้ว
ประเด็นที่เป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การหักต้นทุนเป็นอย่างไร
ปรากฏว่า ทางรัฐบาล (โดยพระราชบัญญัติเงินได้ปิโตรเลียม 2514) อนุญาตให้หักต้นทุนได้โดยไม่จำกัดจำนวน ไม่ว่าจะเป็นหนี้เสีย เงินรับรอง
ขอย้ำว่า ไม่มีการจำกัดจำนวน
ความจริงมีอยู่ช่วงหนึ่งที่เรียกว่า Thailand II (ประมาณปี 2528-2532) ได้มีกฎหมายระบุว่า ค่าใช้จ่ายสามารถหักได้ไม่เกิน 20% ของมูลค่าปิโตรเลียม ส่วนที่เกินให้นำไปหักในปีต่อไปได้ (ซึ่งประเทศมาเลเซียกำลังใช้วิธีการนี้อยู่) แต่ต่อมาขีดจำกัดดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป
ส่งผลให้บริษัทรับสัมปทานสามารถหักค่าใช้จ่ายในการลงทุนในปี 2554 ได้ถึง 144,878 ล้านบาท หรือ 34.4% ของมูลค่าปิโตรเลียม
หากเรายังใช้เกณฑ์ไม่เกิน 20% จะมีเงินเข้ารัฐอีกประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งมากกว่าค่าภาคหลวงที่เราได้รับเสียอีก
ท่านผู้อ่านที่เป็นข้าราชการคงทราบดีว่า สิทธิในการเบิกค่าเดินทาง ค่าที่พักของข้าราชการที่เดินทางไปราชการเขาจะมีกำหนดไว้ละเอียดยิบ เช่น ซี 5 นั่งเครื่องบินไม่ได้ ค่าที่พักคืนละกี่ร้อย เป็นต้น
แต่กับบริษัทรับสัมปทานปิโตรเลียมที่ร่ำรวยมหาศาล กระทรวงการคลังไม่มีการกำหนดเพดาน (โว้ย)
ตัวเลขกำไรสุทธิของผู้รับสัมปทานก็เห็นกันอยู่โทนโท่ว่าสูงถึง 97% ต่อปี เงินลงทุนที่ว่านี้ส่วนใหญ่ก็เป็นการลงทุนถาวรที่มีอายุการใช้งานนานกว่านี้อีก
แต่ส่วนราชการของไทยกลับมองไม่เห็น กลับเกรงว่าบริษัทจะขาดทุน โดยไม่ดูข้อเท็จของทางราชการเอง
เขียนมาถึงตอนนี้ ผมนึกถึงบทกวีของใครไม่ทราบที่ว่า
“เจ้าซื่อต่อคนคด เจ้าทรยศต่อคนไทย ลูกหลานจะอายใจ ….”