ระนอง - หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในระนอง ปฏิเสธตั้งศูนย์ช่วยเหลือโรฮิงญาในระนอง เผยมีปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ต้องแบกรับหนักอยู่แล้ว ไม่มั่นใจความปลอดภัย เพราะชาวโรฮิงญาเป็นกลุ่มที่ฝึกฝนการใช้อาวุธมาเป็นอย่างดี
พ.อ.นรินทร์ พรรณรายน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จังหวัดระนองไม่พร้อมที่จะจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวให้แก่ชาวโรฮิงญา เนื่องจากปัจจุบันนี้ จังหวัดระนองต้องแบกรับภาระปัญหาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวชาวพม่า รวมถึงลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงาน และอาศัยอยู่ในจังหวัดระนองเป็นจำนวนมาก โดยปัญหาชาวโรฮิงญาควรจะให้ประเทศต้นทางเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
พ.อ.นรินทร์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการกับผู้อพยพชาวโรฮิงญา ทางจังหวัดระนองยึดหลักการปฏิเสธการเข้าเมือง โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นการสกัดกั้น ยับยั้ง และโน้มน้าว เป็นการดำเนินการเพื่อมิให้หลบหนีเข้ามาในประเทศ ขั้นที่ 2 ขั้นการควบคุมตรวจสอบ โดยจะให้การช่วยเหลือน้ำ อาหาร ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้อพยพตามหลักมนุษยธรรม ขั้นที่ 3 ขั้นการปฏิเสธการเข้าเมือง และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ส่วนชาวโรฮิงญาที่ทางด่าน ตม.ระนองดูแลรวม 22 คนในขณะนี้นั้น ทางจังหวัดระนองเตรียมหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อหาทางดำเนินการกับกลุ่มผู้อพยพกลุ่มนี้ต่อไป
ด้านนายสุชีพ พัฒน์ทอง แกนนำคัดค้านการจัดตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงญาที่จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยที่กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ผู้อพยพชาวโรฮิงญาขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนแนวฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญาก่อนที่จะถูกส่งตัวต่อไปยังประเทศที่สาม
แกนนำคัดค้านการจัดตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงญาที่จังหวัดระนอง กล่าวว่า เหตุที่ต้องคัดค้านการจัดตั้งศูนย์อพยพในพื้นที่จังหวัดระนอง เพราะหวั่นเกรงถึงปัญหาความปลอดภัยของชาวบ้านในจังหวัดระนอง เนื่องจากพบว่ากลุ่มชาวโรฮิงญาเกือบทุกคนได้รับการฝึกให้ใช้อาวุธในการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ดังนั้น หากไม่มีการควบคุมที่ดีพอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจก่อให้เกิดปัญหาที่เราไม่คาดคิดก็เป็นได้ สิ่งสำคัญคือกระทรวงการต่างประเทศของไทยต้องออกมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อหาทางออกชาวโรฮิงญา โดยเฉพาะการร่วมหารือกับประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว
พ.อ.นรินทร์ พรรณรายน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จังหวัดระนองไม่พร้อมที่จะจัดตั้งศูนย์อพยพชั่วคราวให้แก่ชาวโรฮิงญา เนื่องจากปัจจุบันนี้ จังหวัดระนองต้องแบกรับภาระปัญหาที่เกิดจากแรงงานต่างด้าวชาวพม่า รวมถึงลาว และกัมพูชาที่เข้ามาทำงาน และอาศัยอยู่ในจังหวัดระนองเป็นจำนวนมาก โดยปัญหาชาวโรฮิงญาควรจะให้ประเทศต้นทางเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
พ.อ.นรินทร์ กล่าวต่อว่า การดำเนินการกับผู้อพยพชาวโรฮิงญา ทางจังหวัดระนองยึดหลักการปฏิเสธการเข้าเมือง โดยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นการสกัดกั้น ยับยั้ง และโน้มน้าว เป็นการดำเนินการเพื่อมิให้หลบหนีเข้ามาในประเทศ ขั้นที่ 2 ขั้นการควบคุมตรวจสอบ โดยจะให้การช่วยเหลือน้ำ อาหาร ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้อพยพตามหลักมนุษยธรรม ขั้นที่ 3 ขั้นการปฏิเสธการเข้าเมือง และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ส่วนชาวโรฮิงญาที่ทางด่าน ตม.ระนองดูแลรวม 22 คนในขณะนี้นั้น ทางจังหวัดระนองเตรียมหารือหน่วยงานเกี่ยวข้องเพื่อหาทางดำเนินการกับกลุ่มผู้อพยพกลุ่มนี้ต่อไป
ด้านนายสุชีพ พัฒน์ทอง แกนนำคัดค้านการจัดตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงญาที่จังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยที่กลุ่มองค์กรสิทธิมนุษยชนบางกลุ่มเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ผู้อพยพชาวโรฮิงญาขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนแนวฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อให้ความช่วยเหลือชาวโรฮิงญาก่อนที่จะถูกส่งตัวต่อไปยังประเทศที่สาม
แกนนำคัดค้านการจัดตั้งศูนย์อพยพชาวโรฮิงญาที่จังหวัดระนอง กล่าวว่า เหตุที่ต้องคัดค้านการจัดตั้งศูนย์อพยพในพื้นที่จังหวัดระนอง เพราะหวั่นเกรงถึงปัญหาความปลอดภัยของชาวบ้านในจังหวัดระนอง เนื่องจากพบว่ากลุ่มชาวโรฮิงญาเกือบทุกคนได้รับการฝึกให้ใช้อาวุธในการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ดังนั้น หากไม่มีการควบคุมที่ดีพอจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจก่อให้เกิดปัญหาที่เราไม่คาดคิดก็เป็นได้ สิ่งสำคัญคือกระทรวงการต่างประเทศของไทยต้องออกมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อหาทางออกชาวโรฮิงญา โดยเฉพาะการร่วมหารือกับประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว