ระนอง - ผู้ประกอบการ นายจ้างในระนอง ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท โดยกำหนดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2556 เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบทั้งผู้ประกอบการ และประชาชนที่ต้องรับภาระในผลกระทบนี้ โดยเฉพาะกิจการขนาดเล็กไม่ต่ำกว่า 20 ราย ที่ต้องปิดตัว อีกทั้งยังกระทบต่อการจ้างงาน ที่คาดว่าจะมีลูกจ้างกว่า 30% ที่อยู่ในระบบ และนอกระบบที่อาจจะต้องถูกเลิกจ้าง
นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อต้นทุนการผลิต คือ ในส่วนของค่าแรง แต่ก่อนอยู่ที่ 258 บาท ซึ่งในปัจจุบันนี้ ต้องจ่ายเพิ่มอีก 42 บาทต่อคน โดยที่มาตรการที่รัฐบาลกำหนดทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก อาจจะไม่สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ คาดว่าในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะมีผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กปิดกิจการไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่างด้าวชาวพม่าคือ การเคลื่อนย้ายแรงงานจากจังหวัดชายแดน เข้าสู่จังหวัดใหญ่ๆ มากขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ขณะนี้กำลังเร่งปรับโครงสร้างในองค์กรใหม่ โดยเน้นที่โครงสร้างของบุคลากร ในส่วนของแรงงาน มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งในปีนี้ยังไม่ปรับเปลี่ยนมากนัก เพราะกำลังการผลิตเหมาะสมกับออเดอร์สินค้าในปีนี้แล้ว แต่ในส่วนของโครงการในอนาคต จะพิจารณาหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน
นางนฤมล กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาพบว่า จากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อีกทั้งพิบัติภัยได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ดังนั้น หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเสมือนการซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ไปอีก เนื่องจากปัจจุบัน การแข่งขันของตลาดการค้าทั่วโลกเป็นไปอย่างรุนแรง นอกจากประเทศไทยยังประสบปัญหาภายในประเทศโดยเฉพาะกรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้น แม้ว่าระนองจะไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา แต่ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ระนองในปัจจุบันควรอยู่ที่ 220-230 บาท หากสูงกว่านั้นผู้ประกอบการคงจะไม่สามารถรับภาระที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะการปรับเพดานค่าจ้างแท้จริงไม่ใช่ว่าการปรับค่าจ้างในองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้วทุกอย่างจะจบ แต่จะเกี่ยวเนื่องไปยังทุกภาคส่วน วัตถุดิบ แพกเกจจิ้ง ค่าการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการขยับราคาตามค่าจ้างใหม่ ซึ่งทุกอย่างจะกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่
นางนฤมล ขรภูมิ ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อต้นทุนการผลิต คือ ในส่วนของค่าแรง แต่ก่อนอยู่ที่ 258 บาท ซึ่งในปัจจุบันนี้ ต้องจ่ายเพิ่มอีก 42 บาทต่อคน โดยที่มาตรการที่รัฐบาลกำหนดทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็ก อาจจะไม่สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ คาดว่าในช่วง 1-2 เดือนนี้ จะมีผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดเล็กปิดกิจการไม่ต่ำกว่า 20 ราย ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ลูกจ้างที่อยู่ในระบบถูกนายจ้างเลิกจ้างไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแรงงานต่างด้าวชาวพม่าคือ การเคลื่อนย้ายแรงงานจากจังหวัดชายแดน เข้าสู่จังหวัดใหญ่ๆ มากขึ้น
ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ขณะนี้กำลังเร่งปรับโครงสร้างในองค์กรใหม่ โดยเน้นที่โครงสร้างของบุคลากร ในส่วนของแรงงาน มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับงาน ซึ่งในปีนี้ยังไม่ปรับเปลี่ยนมากนัก เพราะกำลังการผลิตเหมาะสมกับออเดอร์สินค้าในปีนี้แล้ว แต่ในส่วนของโครงการในอนาคต จะพิจารณาหาเครื่องจักรมาทดแทนแรงงานคน
นางนฤมล กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาพบว่า จากวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก อีกทั้งพิบัติภัยได้ส่งผลให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว ดังนั้น หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเปรียบเสมือนการซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ไปอีก เนื่องจากปัจจุบัน การแข่งขันของตลาดการค้าทั่วโลกเป็นไปอย่างรุนแรง นอกจากประเทศไทยยังประสบปัญหาภายในประเทศโดยเฉพาะกรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้น แม้ว่าระนองจะไม่มีภัยพิบัติร้ายแรงในช่วงที่ผ่านมา แต่ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ระนองในปัจจุบันควรอยู่ที่ 220-230 บาท หากสูงกว่านั้นผู้ประกอบการคงจะไม่สามารถรับภาระที่เพิ่มขึ้นได้ เพราะการปรับเพดานค่าจ้างแท้จริงไม่ใช่ว่าการปรับค่าจ้างในองค์กรใดองค์กรหนึ่งแล้วทุกอย่างจะจบ แต่จะเกี่ยวเนื่องไปยังทุกภาคส่วน วัตถุดิบ แพกเกจจิ้ง ค่าการขนส่ง ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการขยับราคาตามค่าจ้างใหม่ ซึ่งทุกอย่างจะกระทบต่อเนื่องเป็นลูกโซ่