“เที่ยวท่องล่องใต้” พาไปมุดถ้ำกันอีกสักครั้ง ที่ จ.ตรัง “ถ้ำเขาโพธิ์โทน” มีเรื่องราวหลักฐานสำคัญทางโบราณคดี คาดว่าอายุประมาณ 3,000-4,000 ปี รวมเนื้อที่กว่า 75 ไร่ ปีนบันได 88 ขั้น ไปดูมีหินงอก หินย้อยที่สวยงาม ทั้งใน “ถ้ำสูง” และ “ถ้ำต่ำ”
“ถ้ำเขาโพธิ์โทน” ถือเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีที่สามารถอธิบายเรื่องราวทางโบราณคดี ในพื้นที่ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด ได้ว่า เคยมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัย โดยคาดว่าจะมีอายุประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อการอธิบายเรื่องราวทางโบราณคดีของจังหวัดตรัง รวมทั้งในภาพรวมระดับประเทศอีกด้วย เนื่องจากทำให้เราสามารถทราบถึงการกระจายตัวของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีการกระจายตัว หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่โดยทั่วไปของประเทศไทย
พื้นที่แห่งนี้เดิมจะเรียกกันว่า “เขาสำเภาเทิน” เนื่องจากเป็นจุดที่พบโครงเรือ หรือเสากระโดงเรือสำเภาโบราณตรงสระน้ำบริเวณติดกับเขา รวมเนื้อที่ประมาณ 75 ไร่ เพราะอยู่ห่างจากแม่น้ำตรัง เส้นทางคมนาคมที่สำคัญในยุดนั้นแค่เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น ก่อนที่จะเรียกกันต่อๆ มาจนเพี้ยนไปเป็นคำว่า “เขาโพธิ์โทน” ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์โทน (บ้านป่ากอ) ตำบลนาวง ภายในมีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักกันดี คือ “ถ้ำต่ำ” และ “ถ้ำสูง” ซึ่งแต่ละถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
โดย “ถ้ำสูง” เป็นถ้ำหินปูนที่มีความสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 150 เมตร ภายในเป็นลานกว้างกินเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ซึ่งเมื่อปี 2547 ทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นาวง ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยการก่อสร้างศาลาแบบ 6 เหลี่ยม เพื่อให้นั่งพักผ่อน จำนวน 1 หลัง รวมทั้งสร้างบันไดคอนกรีต จำนวน 88 ขั้น เพื่อให้การเดินขึ้นไปชมความงามเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น
ส่วน “ถ้ำต่ำ” เป็นถ้ำหินปูนที่มีความสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 50 เมตร ขนาดกว้างประมาณ 40 เมตร และลึกเข้าไปประมาณ 50 เมตร ที่ผนัง และพื้นถ้ำพบร่องรอยของการขุดหาขี้ค้างคาว จนลึกประมาณ 10 เมตร ทำให้พื้นที่ถ้ำที่แท้จริงถูกทำลาย แต่พอที่จะตรวจหลักฐานทางโบราณคดีได้ ขณะที่พื้นถ้ำจะมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ภายในถ้ำนี้เคยมีการขุดพบเศษภาชนะดินเผา เนื้อดินธรรมดา ลายเชือกทาบ
นอกจากนั้น ยังพบเศษกระดูกสัตว์ต่างๆ เช่น กระดูกกวาง ส่วนที่ผนังถ้ำ พบหอยโข่งภูเขา เกาะตัวกับคราบหินปูนอย่างแน่นหนา ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นระดับพื้นเดิมที่อยู่ต่ำกว่าปัจจุบันประมาณ 1 เมตร สำหรับตรงปากทางเข้าถ้ำนั้น ทาง อบต.นาวง ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยการสร้างทำบันไดคอนกรีต จำนวน 10 ขั้น และพัฒนาสถานที่โดยรอบ จนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้รับรางวัลตำบลพัฒนาดีเด่น ระดับจังหวัดตรัง ประจำปี 2544
บริเวณใกล้ๆ กับ “ถ้ำเขาโพธิ์โทน” ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คน และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในตำบลนาวง มาอย่างยาวนานแล้ว โดยเฉพาะการมีน้ำกิน-น้ำใช้ตลอดทั้งปี และยังเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งก็คือ “หนองโพธิ์โทน” ที่กินเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ได้มีการขุดคลองล้อมรอบเขาเพื่อให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำตรัง พร้อมทั้งยังมีการสร้างถนนไว้ล้อมรอบด้วย เพื่อป้องกันการลักลอบบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงทำให้ทั้งที่บริเวณเขา และหนองน้ำยังคงความอุดมสมบูรณ์
กรมศิลปากร ได้ประกาศจัดตั้งเขาแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดี เมื่อปี 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และถือเป็น 1 ใน 20 แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดตรัง เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานต่างๆ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก จึงได้สนับสนุน และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ที่มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางไปเยี่ยมเยือนกันอย่างต่อเนื่อง
ผู้สนใจจะไปเที่ยวชมติดต่อได้ที่ อบต.นาวง หมายเลขโทรศัพท์ 0-7526-4140
ภาพ/เรื่อง - เมธี เมืองแก้ว
“ถ้ำเขาโพธิ์โทน” ถือเป็นหลักฐานสำคัญทางโบราณคดีที่สามารถอธิบายเรื่องราวทางโบราณคดี ในพื้นที่ตำบลนาวง อำเภอห้วยยอด ได้ว่า เคยมีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัย โดยคาดว่าจะมีอายุประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อการอธิบายเรื่องราวทางโบราณคดีของจังหวัดตรัง รวมทั้งในภาพรวมระดับประเทศอีกด้วย เนื่องจากทำให้เราสามารถทราบถึงการกระจายตัวของกลุ่มคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่า กลุ่มคนเหล่านี้มีการกระจายตัว หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่โดยทั่วไปของประเทศไทย
พื้นที่แห่งนี้เดิมจะเรียกกันว่า “เขาสำเภาเทิน” เนื่องจากเป็นจุดที่พบโครงเรือ หรือเสากระโดงเรือสำเภาโบราณตรงสระน้ำบริเวณติดกับเขา รวมเนื้อที่ประมาณ 75 ไร่ เพราะอยู่ห่างจากแม่น้ำตรัง เส้นทางคมนาคมที่สำคัญในยุดนั้นแค่เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น ก่อนที่จะเรียกกันต่อๆ มาจนเพี้ยนไปเป็นคำว่า “เขาโพธิ์โทน” ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านโพธิ์โทน (บ้านป่ากอ) ตำบลนาวง ภายในมีถ้ำที่ชาวบ้านรู้จักกันดี คือ “ถ้ำต่ำ” และ “ถ้ำสูง” ซึ่งแต่ละถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม
โดย “ถ้ำสูง” เป็นถ้ำหินปูนที่มีความสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 150 เมตร ภายในเป็นลานกว้างกินเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ ซึ่งเมื่อปี 2547 ทางองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นาวง ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยการก่อสร้างศาลาแบบ 6 เหลี่ยม เพื่อให้นั่งพักผ่อน จำนวน 1 หลัง รวมทั้งสร้างบันไดคอนกรีต จำนวน 88 ขั้น เพื่อให้การเดินขึ้นไปชมความงามเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น
ส่วน “ถ้ำต่ำ” เป็นถ้ำหินปูนที่มีความสูงขึ้นจากพื้นดินประมาณ 50 เมตร ขนาดกว้างประมาณ 40 เมตร และลึกเข้าไปประมาณ 50 เมตร ที่ผนัง และพื้นถ้ำพบร่องรอยของการขุดหาขี้ค้างคาว จนลึกประมาณ 10 เมตร ทำให้พื้นที่ถ้ำที่แท้จริงถูกทำลาย แต่พอที่จะตรวจหลักฐานทางโบราณคดีได้ ขณะที่พื้นถ้ำจะมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ภายในถ้ำนี้เคยมีการขุดพบเศษภาชนะดินเผา เนื้อดินธรรมดา ลายเชือกทาบ
นอกจากนั้น ยังพบเศษกระดูกสัตว์ต่างๆ เช่น กระดูกกวาง ส่วนที่ผนังถ้ำ พบหอยโข่งภูเขา เกาะตัวกับคราบหินปูนอย่างแน่นหนา ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นระดับพื้นเดิมที่อยู่ต่ำกว่าปัจจุบันประมาณ 1 เมตร สำหรับตรงปากทางเข้าถ้ำนั้น ทาง อบต.นาวง ได้ร่วมกับชาวบ้านทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ ด้วยการสร้างทำบันไดคอนกรีต จำนวน 10 ขั้น และพัฒนาสถานที่โดยรอบ จนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้รับรางวัลตำบลพัฒนาดีเด่น ระดับจังหวัดตรัง ประจำปี 2544
บริเวณใกล้ๆ กับ “ถ้ำเขาโพธิ์โทน” ยังมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้หล่อเลี้ยงผู้คน และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในตำบลนาวง มาอย่างยาวนานแล้ว โดยเฉพาะการมีน้ำกิน-น้ำใช้ตลอดทั้งปี และยังเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์สัตว์น้ำนานาชนิด ซึ่งก็คือ “หนองโพธิ์โทน” ที่กินเนื้อที่ประมาณ 60 ไร่ ได้มีการขุดคลองล้อมรอบเขาเพื่อให้น้ำไหลลงสู่แม่น้ำตรัง พร้อมทั้งยังมีการสร้างถนนไว้ล้อมรอบด้วย เพื่อป้องกันการลักลอบบุกรุกเข้าไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงทำให้ทั้งที่บริเวณเขา และหนองน้ำยังคงความอุดมสมบูรณ์
กรมศิลปากร ได้ประกาศจัดตั้งเขาแห่งนี้เป็นแหล่งโบราณคดี เมื่อปี 2547 หรือเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และถือเป็น 1 ใน 20 แหล่งโบราณคดีที่สำคัญของจังหวัดตรัง เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานต่างๆ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก จึงได้สนับสนุน และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ที่มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศเดินทางไปเยี่ยมเยือนกันอย่างต่อเนื่อง
ผู้สนใจจะไปเที่ยวชมติดต่อได้ที่ อบต.นาวง หมายเลขโทรศัพท์ 0-7526-4140
ภาพ/เรื่อง - เมธี เมืองแก้ว