ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สปต.เผยครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกฆ่า ประกบยิง ไล่ยิงแบบอาชญากรรมธรรมดา และฆ่าอย่างโหดเหี้ยม 157 ศพ บาดเจ็บ-พิการ 145 ราย “นิพนธ์” ชี้เป็นการเขย่าอำนาจรัฐ รัฐบาลหามาตรการคุ้มครองครูครบวงจร
วันนี้ (13 ธ.ค.) นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล กรรมการสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2555 มีครูที่ตกเป็นเหยื่อของสงครามประชาชน 5 ราย คือ นางนันทนา แก้วจันทร์ ผอ.โรงเรียนท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี นางฉัตรสุดา นิลสุวรรณ ครูโรงเรียนบ้านตาโงะ ต.มะรือบือออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นางตติยารัตน์ ช่วยแก้ว ผอ.โรงเรียนบ้านบาโง นายสมศักดิ์ ขวัญมา ครูโรงเรียนบ้านบาโง อ.มายอ จ.ปัตตานี และนายธีรพล ชูส่งแสง ครูโรงเรียนบ้านบอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส
“ข้อเท็จจริงครูไม่ได้เป็นเหยื่อสถานการณ์ในการสู้รบระหว่างขบวนการแบ่งแยกดินแดนกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างที่เป็นอยู่ใน 9 ปี แต่ครูคือเหยื่อตลอดกาลนับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งทางความคิดจนถึงการจับอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มคนที่เห็นต่างจากรัฐตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ ครูคือเหยื่อที่ขบวนการใช้ในการต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การจับตัวครูฟอง บุญเพ็ชร เพื่อต่อรองให้เจ้าหน้าที่ปล่อยแนวร่วมที่ จ.ยะลา จับตัวครูปรีชา แซ่ลิ้ม และฆ่าทิ้งบนเทือกเขาบูโด จ.นราธิวาส เพื่อแก้แค้นเจ้าหน้าที่ที่ฆ่าคนของขบวนการ และอีกหลายต่อหลายคนที่ต้องนำชีวิตมาเซ่นสังเวยโดยที่ไม่มีความผิด”
นายไชยยงค์ เปิดเผยว่า เวลา 9 ปี ที่การคุ้มครองครูเป็นหน้าที่ของทหารภายใต้ยุทธการของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า มีการประชุมร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ตำรวจ และฝ่ายปกครอง และที่สำคัญที่สุดคือ สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสมาพันธ์ครูในแต่ละจังหวัด เพื่อหาแนวทางรักษาความปลอดภัยให้cdjครู ทุกเช้าครูจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ ในแต่ละพื้นที่เพื่อรอกำลังของทหารในการคุ้มกันส่งไปส่งยังโรงเรียนต่างๆ ตามที่ได้ตกลงและกำหนดจุดนัดหมาย ในช่วงบ่ายจะมีทหารในชุดคุ้มครองครูไปรับครูกลับจากโรงเรียนเพื่อส่งที่พัก
นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรค ปชป.เปิดเผยว่า ประเทศที่มีศึกสงครามเขาไม่มีการฆ่าครู หรือมีครูตายมากเท่ากับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกได้ว่า ขบวนการทำอะไรก็ได้ให้มีผลทางจิตวิทยาขบวนการจะทำ ขณะนี้ ขบวนการฯ จึงเล็งเป้ามายังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการบั่นทอนกำลังใจครู และเขย่าอำนาจรัฐ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐไม่สามารถคุ้มครองชีวิต และทรัพย์สินประชาชนได้ ตนยอมรับว่า กลุ่มครูฯ เป็นกลุ่มคนที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ห่างไกล และไปกลับไม่เป็นเวลา รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกัน และคุ้มครองครูให้ครบวงจร
นายนิพนธ์ บุญญามณี กล่าวต่ออีกว่า โจทย์ที่นำมาสู่การสูญเสียของครูเกือบทุกครั้งคือ ถ้าฝ่ายของบีอาร์เอ็นฯ สูญเสียบุคคลระดับแกนนำ ครูจะต้องสูญเสียเพื่อเป็นการเอาคืน และในการเปิดยุทธการกวาดล้างตรวจค้นในพื้นที่ของทหารตำรวจจนฝ่ายตรงข้ามมีความสูญเสียกลุ่มครูในพื้นที่นั้น ต้องเป็นผู้รับเคราะห์ภายในไม่เกิน 3 วัน การโยกย้ายครูไทยพุทธออกจากโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงเป็นช่องทางหนึ่งในการลดความสูญเสียที่เกิดแก่ครูไทยพุทธ พบว่า ตั้งแต่ปี 2545 มีครูต้องการย้ายออก 6,176 ราย แต่ย้ายได้ 1,843 ราย
วันนี้ (13 ธ.ค.) นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล กรรมการสภาที่ปรึกษาการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สปต.) เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.-ธ.ค. 2555 มีครูที่ตกเป็นเหยื่อของสงครามประชาชน 5 ราย คือ นางนันทนา แก้วจันทร์ ผอ.โรงเรียนท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี นางฉัตรสุดา นิลสุวรรณ ครูโรงเรียนบ้านตาโงะ ต.มะรือบือออก อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส นางตติยารัตน์ ช่วยแก้ว ผอ.โรงเรียนบ้านบาโง นายสมศักดิ์ ขวัญมา ครูโรงเรียนบ้านบาโง อ.มายอ จ.ปัตตานี และนายธีรพล ชูส่งแสง ครูโรงเรียนบ้านบอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส
“ข้อเท็จจริงครูไม่ได้เป็นเหยื่อสถานการณ์ในการสู้รบระหว่างขบวนการแบ่งแยกดินแดนกับเจ้าหน้าที่รัฐอย่างที่เป็นอยู่ใน 9 ปี แต่ครูคือเหยื่อตลอดกาลนับตั้งแต่เกิดความขัดแย้งทางความคิดจนถึงการจับอาวุธ เพื่อแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มคนที่เห็นต่างจากรัฐตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ ครูคือเหยื่อที่ขบวนการใช้ในการต่อรองกับเจ้าหน้าที่รัฐ เช่น การจับตัวครูฟอง บุญเพ็ชร เพื่อต่อรองให้เจ้าหน้าที่ปล่อยแนวร่วมที่ จ.ยะลา จับตัวครูปรีชา แซ่ลิ้ม และฆ่าทิ้งบนเทือกเขาบูโด จ.นราธิวาส เพื่อแก้แค้นเจ้าหน้าที่ที่ฆ่าคนของขบวนการ และอีกหลายต่อหลายคนที่ต้องนำชีวิตมาเซ่นสังเวยโดยที่ไม่มีความผิด”
นายไชยยงค์ เปิดเผยว่า เวลา 9 ปี ที่การคุ้มครองครูเป็นหน้าที่ของทหารภายใต้ยุทธการของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า มีการประชุมร่วมกันกับหน่วยงานในพื้นที่ เช่น ตำรวจ และฝ่ายปกครอง และที่สำคัญที่สุดคือ สมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสมาพันธ์ครูในแต่ละจังหวัด เพื่อหาแนวทางรักษาความปลอดภัยให้cdjครู ทุกเช้าครูจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆ ในแต่ละพื้นที่เพื่อรอกำลังของทหารในการคุ้มกันส่งไปส่งยังโรงเรียนต่างๆ ตามที่ได้ตกลงและกำหนดจุดนัดหมาย ในช่วงบ่ายจะมีทหารในชุดคุ้มครองครูไปรับครูกลับจากโรงเรียนเพื่อส่งที่พัก
นายนิพนธ์ บุญญามณี รองเลขาธิการพรรค ปชป.เปิดเผยว่า ประเทศที่มีศึกสงครามเขาไม่มีการฆ่าครู หรือมีครูตายมากเท่ากับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกได้ว่า ขบวนการทำอะไรก็ได้ให้มีผลทางจิตวิทยาขบวนการจะทำ ขณะนี้ ขบวนการฯ จึงเล็งเป้ามายังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นการบั่นทอนกำลังใจครู และเขย่าอำนาจรัฐ สะท้อนให้เห็นว่ารัฐไม่สามารถคุ้มครองชีวิต และทรัพย์สินประชาชนได้ ตนยอมรับว่า กลุ่มครูฯ เป็นกลุ่มคนที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ห่างไกล และไปกลับไม่เป็นเวลา รัฐบาลต้องมีมาตรการป้องกัน และคุ้มครองครูให้ครบวงจร
นายนิพนธ์ บุญญามณี กล่าวต่ออีกว่า โจทย์ที่นำมาสู่การสูญเสียของครูเกือบทุกครั้งคือ ถ้าฝ่ายของบีอาร์เอ็นฯ สูญเสียบุคคลระดับแกนนำ ครูจะต้องสูญเสียเพื่อเป็นการเอาคืน และในการเปิดยุทธการกวาดล้างตรวจค้นในพื้นที่ของทหารตำรวจจนฝ่ายตรงข้ามมีความสูญเสียกลุ่มครูในพื้นที่นั้น ต้องเป็นผู้รับเคราะห์ภายในไม่เกิน 3 วัน การโยกย้ายครูไทยพุทธออกจากโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงเป็นช่องทางหนึ่งในการลดความสูญเสียที่เกิดแก่ครูไทยพุทธ พบว่า ตั้งแต่ปี 2545 มีครูต้องการย้ายออก 6,176 ราย แต่ย้ายได้ 1,843 ราย