พัทลุง - สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง รายงานสถานการณ์ไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-28 พ.ย.55 พบมีผู้ป่วยแล้ว 666 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
นายแพทย์สาธิต ไผ่ประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุงว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 นี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 666 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 130.81 ต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยเพศหญิง 335 ราย เพศชาย 331 ราย โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
นายแพทย์สาธิต กล่าวอีกว่า สำหรับการพบผู้ป่วยสูงสุด พบในเดือนพฤศจิกายน จำนวน 150 ราย ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกมีสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนี้เป็นหน้าฝน และมีน้ำท่วมขัง เป็นเหตุให้เกิดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 187 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 174 ราย โดยอาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียนเท่ากับ 402 ราย
นายแพทย์สาธิต กล่าวอีกว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด และไม่ให้ยุงเกิด และต้องทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย จึงขอให้ทุกคนตระหนัก และให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง เริ่มที่ตัวเองก่อน ระวังอย่าให้ยุงกัด ทาโลชันกันยุงทุกครั้ง ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกที่ดีที่สุด สำหรับมาตรา 3 ร พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นพิเศษ ได้แก่ โรงเรียน โรงเรือน หรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และโรงพยาบาล
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุงกล่าวด้วยว่า หากมีอาการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก หรือมีอาการไข้สูงเกิน 2 วัน อย่าได้นิ่งนอนใจให้รีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที อีกทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทุก 7 วัน ต่อเนื่องตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวนยางพารา โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ที่พักอาศัยในชุมชนหนาแน่น และที่สำคัญคือ ทุกคนต้องร่วมมือกันป้องกันอย่างจริงจัง สำหรับการพ่นหมอกควันเพื่อฆ่ายุงลายตัวแก่นั้น เท่าที่ผ่านมา การควบคุมยังได้ผลไม่ดี การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืนควรจะเน้นที่การกำจัดลูกน้ำยุงลาย และไม่ให้ยุงกัด
นายแพทย์สาธิต ไผ่ประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุง กล่าวถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดพัทลุงว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2555 นี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว จำนวน 666 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 130.81 ต่อประชากรแสนคน โดยพบผู้ป่วยเพศหญิง 335 ราย เพศชาย 331 ราย โดยไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต
นายแพทย์สาธิต กล่าวอีกว่า สำหรับการพบผู้ป่วยสูงสุด พบในเดือนพฤศจิกายน จำนวน 150 ราย ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าแนวโน้มการเกิดโรคไข้เลือดออกมีสูงขึ้น เนื่องจากช่วงนี้เป็นหน้าฝน และมีน้ำท่วมขัง เป็นเหตุให้เกิดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพิ่มขึ้น สำหรับกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 187 ราย รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 174 ราย โดยอาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด คือ นักเรียนเท่ากับ 402 ราย
นายแพทย์สาธิต กล่าวอีกว่า การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด และไม่ให้ยุงเกิด และต้องทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย จึงขอให้ทุกคนตระหนัก และให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจัง เริ่มที่ตัวเองก่อน ระวังอย่าให้ยุงกัด ทาโลชันกันยุงทุกครั้ง ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นไข้เลือดออกที่ดีที่สุด สำหรับมาตรา 3 ร พื้นที่เสี่ยงที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นพิเศษ ได้แก่ โรงเรียน โรงเรือน หรือบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และโรงพยาบาล
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุงกล่าวด้วยว่า หากมีอาการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก หรือมีอาการไข้สูงเกิน 2 วัน อย่าได้นิ่งนอนใจให้รีบไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านทันที อีกทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทุก 7 วัน ต่อเนื่องตลอดปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวนยางพารา โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ที่พักอาศัยในชุมชนหนาแน่น และที่สำคัญคือ ทุกคนต้องร่วมมือกันป้องกันอย่างจริงจัง สำหรับการพ่นหมอกควันเพื่อฆ่ายุงลายตัวแก่นั้น เท่าที่ผ่านมา การควบคุมยังได้ผลไม่ดี การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืนควรจะเน้นที่การกำจัดลูกน้ำยุงลาย และไม่ให้ยุงกัด