สุราษฎร์ธานี - มรส.จับมือ “ยูซี” (USEA) แห่งประเทศกัมพูชา มอบทุนศึกษาหลักสูตรธุรกิจการบิน (อินเตอร์) หวังสร้างเครือข่าย หรือการมีพันธมิตรในการขับเคลื่อนเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องผดุงชาติ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มรส. กับมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (University of South-East Asia) หรือ “ยูซี” (USEA) แห่งประเทศกัมพูชา โดย ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มรส. และ Mr.Sein Sovanna อธิการบดียูซีเป็นผู้ลงนาม เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและพัฒนานักศึกษา อาจารย์ งานวิจัย ซึ่งได้ประเดิมความร่วมมือแรกโดยการที่ มรส.มอบทุนการศึกษาให้นักศึกษากัมพูชา จำนวน 4 คน มาศึกษาในหลักสูตรธุรกิจการบิน (อินเตอร์) ที่วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เกาะสมุย
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มรส.กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจับมือกันเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนไปพร้อมๆ กันอย่างมั่นคง พร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันบนเส้นทางสู่อาเซียน ทั้งนี้ การสร้างเครือข่าย หรือการมีพันธมิตรในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายกลายเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน ไทย และกัมพูชาเองก็ถือเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิด มีอาณาเขตติดกัน มีประวัติศาสตร์ร่วมยุคร่วมสมัย เคียงบ่าเคียงไหล่มาด้วยกัน
“อย่างไรก็ตาม ภูมิศาสตร์เป็นเพียงเรื่องรอง เรื่องที่สำคัญกว่า ยิ่งใหญ่กว่าก็คือ เราต่างมีจิตเจตนาที่จะร่วมมือกัน โดยมองข้ามว่าเป็นมหาวิทยาลัยไทย หรือกัมพูชา มหาวิทยาลัยเก่า หรือใหม่ มหาวิทยาลัยใหญ่ หรือเล็ก เพราะเมื่อมีจิตเจตนาที่ดีร่วมกันแล้วต่างก็เสมอภาคเท่าเทียมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน”
ด้าน Mr.Sein Sovanna อธิการบดียูซี กล่าวว่า ประทับใจมากที่ได้รับการต้อนรับจากชาวราชภัฏสุราษฎร์ฯ อย่างอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองของนักศึกษาที่ร่วมเดินทางมาด้วย บอกว่าเห็นการต้อนรับ น้ำใจไมตรี อาคารสถานที่และความพร้อมแล้ว ก็ยิ่งรู้สึกมั่นใจที่จะให้บุตรหลานมาศึกษาต่อที่นี่ รู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมาเป็นพันธมิตรทางวิชาการ และเราจะร่วมกันทำให้การลงนามความร่วมมือในวันนี้มีชีวิต ด้วยการเติมกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไป
“เรามีเครือข่ายในประเทศต่างๆ หลายประเทศ แต่ในประเทศไทยเรามีเครือข่ายมากที่สุดถึง 5 มหาวิทยาลัย ส่วนหนึ่งเพราะไทยกับกัมพูชามีวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน มีดินแดนติดต่อกัน ทำให้สะดวกในการแลกเปลี่ยนบุคลากร และองค์ความรู้ต่างๆ อีกทั้งยังได้รับการปฏิบัติที่ดี และให้เกียรติจากคนไทยเสมอมา”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องผดุงชาติ อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) ได้มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง มรส. กับมหาวิทยาลัยแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (University of South-East Asia) หรือ “ยูซี” (USEA) แห่งประเทศกัมพูชา โดย ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มรส. และ Mr.Sein Sovanna อธิการบดียูซีเป็นผู้ลงนาม เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและพัฒนานักศึกษา อาจารย์ งานวิจัย ซึ่งได้ประเดิมความร่วมมือแรกโดยการที่ มรส.มอบทุนการศึกษาให้นักศึกษากัมพูชา จำนวน 4 คน มาศึกษาในหลักสูตรธุรกิจการบิน (อินเตอร์) ที่วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว เกาะสมุย
ผศ.ดร.ณรงค์ พุทธิชีวิน อธิการบดี มรส.กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจับมือกันเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียนไปพร้อมๆ กันอย่างมั่นคง พร้อมช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันบนเส้นทางสู่อาเซียน ทั้งนี้ การสร้างเครือข่าย หรือการมีพันธมิตรในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายกลายเป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญยิ่งในยุคปัจจุบัน ไทย และกัมพูชาเองก็ถือเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิด มีอาณาเขตติดกัน มีประวัติศาสตร์ร่วมยุคร่วมสมัย เคียงบ่าเคียงไหล่มาด้วยกัน
“อย่างไรก็ตาม ภูมิศาสตร์เป็นเพียงเรื่องรอง เรื่องที่สำคัญกว่า ยิ่งใหญ่กว่าก็คือ เราต่างมีจิตเจตนาที่จะร่วมมือกัน โดยมองข้ามว่าเป็นมหาวิทยาลัยไทย หรือกัมพูชา มหาวิทยาลัยเก่า หรือใหม่ มหาวิทยาลัยใหญ่ หรือเล็ก เพราะเมื่อมีจิตเจตนาที่ดีร่วมกันแล้วต่างก็เสมอภาคเท่าเทียมกัน และเคารพซึ่งกันและกัน”
ด้าน Mr.Sein Sovanna อธิการบดียูซี กล่าวว่า ประทับใจมากที่ได้รับการต้อนรับจากชาวราชภัฏสุราษฎร์ฯ อย่างอบอุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปกครองของนักศึกษาที่ร่วมเดินทางมาด้วย บอกว่าเห็นการต้อนรับ น้ำใจไมตรี อาคารสถานที่และความพร้อมแล้ว ก็ยิ่งรู้สึกมั่นใจที่จะให้บุตรหลานมาศึกษาต่อที่นี่ รู้สึกว่าโชคดีมากที่ได้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมาเป็นพันธมิตรทางวิชาการ และเราจะร่วมกันทำให้การลงนามความร่วมมือในวันนี้มีชีวิต ด้วยการเติมกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไป
“เรามีเครือข่ายในประเทศต่างๆ หลายประเทศ แต่ในประเทศไทยเรามีเครือข่ายมากที่สุดถึง 5 มหาวิทยาลัย ส่วนหนึ่งเพราะไทยกับกัมพูชามีวัฒนธรรมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน มีดินแดนติดต่อกัน ทำให้สะดวกในการแลกเปลี่ยนบุคลากร และองค์ความรู้ต่างๆ อีกทั้งยังได้รับการปฏิบัติที่ดี และให้เกียรติจากคนไทยเสมอมา”