ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือพิจารณาหลักเกณฑ์ในการยื่นเอกสารขอพิสูจน์สิทธิความเป็นคนไทยพลัดถิ่น
เมื่อวานนี้ (22 พ.ย.) ที่หน้าศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัดระนอง มีชาวไทยพลัดถิ่น จำนวน 50 คน ได้ถือแผ่นป้าผ้าข้อความต่างๆ เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพื่อร้องขอความช่วยเหลือพิจารณาหลักเกณฑ์ในการยื่นเอกสารขอพิสูจน์สิทธิความเป็นคนไทยพลัดถิ่น โดยมี นายสุรนันท์ เจริญศรี อยู่บ้านเลขที่ 51/15 ม.4 ต.บางริ้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ประธานกลุ่มออมทรัพย์คนไทยพลัดถิ่น กลุ่มนายสุรนันท์ เจริญศรี เป็นตัวแทนในการเรียกร้องและยื่นหนังสือต่อ ว่าที่ ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง แต่เนื่องจากติดภารกิจ นายไพโรจน์ นาแก้ว ผู้ช่วยป้องกันจังหวัดระนอง มารับหนังสือขอความช่วยเหลือแทน
นายสุรนันท์ เจริญศรี กล่าวว่า การมายื่นหนังสือในครั้งนี้เพื่อให้รัฐพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในเรื่องการพิสูจน์ และรับรองความเป็นชาวไทยพลัดถิ่น โดยมีข้อเรียกร้อง และสอบถาม 6 ข้อ ประกอบด้วย
1.หนังสือสั่งการที่สำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนองส่งถึงกำนัน และผู้ใหญ่บ้านว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะไม่มีเลขที่หนังสือออก และไม่มีการลงชื่อกำกับ
2.ตามคำสั่งในหนังสือของสำนักงานทะเบียนไม่ปรากฏว่าต้องใช้ แบบ ทร.38 แต่อย่างใด ซึ่งในการปฎิบัติ คนไทยพลัดถิ่นต้องแนบเอกสาร แบบ ทร.38 ด้วยทุกครั้ง
3.เรื่องการใช้ใบมรณบัตรเพื่อประกอบผังเครือญาติที่ต้องส่งให้ทางอำเภอขณะยื่นเอกสารประกอบ คนไทยพลัดถิ่นเวลาตายส่วนใหญ่ไม่ได้แจ้ง จึงไม่สามารถหาใบมรณบัตรมาประกอบได้
4.ในการยื่นเอกสารต้องมีข้าราชการจำนวน 2 คน เซ็นรับรอง คนไทยพลัดถิ่นจะหาใครมารับรองให้ ถ้ามีคนรับรองก็ต้องเสียเงินให้คนรับรอง
5.เรื่องใบขับขี่ เมื่อปี พ.ศ.2553-2554 ขนส่งจังหวัดประกาศให้คนไทยพลัดถิ่นทำใบขับขี่ได้แต่ต้องจ่ายเงินคนละ1,500 บาท ซึ่งมีคนไทยพลัดถิ่นจำนวน 250-300 คน แห่ไปทำใบขับขี่ สุดท้าย 1 เดือนให้หลัง หัวหน้าขนส่งจังหวัดระนองขอใบขับขี่คืน อ้างดูกฎหมายผิด แต่เงิน 1,500 บาทไม่ให้คืน อ้างส่งเข้ากองคลังหมดแล้ว เอาคืนไม่ได้
6.เรื่องการพิสูจน์ดีเอ็นเอ ขอให้ขยายเวลาออกไปก่อน แล้วจึงค่อยยื่นหลักฐานต่อทางอำเภอในการพิสูจน์ พร้อมขอให้หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชนช่วยเหลืองบประมาณในการขอพิสูจน์ดีเอ็นเอ
ซึ่งภายหลังจากยื่นหนังสือเรียกร้องต่อทางจังหวัดระนองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตัวแทนจังหวัดระนองจะทำหนังสือส่งต่อให้แก่กระทรวงมหาดไทยทราบ เมื่อได้ผลประการใดก็จะแจ้งให้แก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้ทราบ ซึ่งผู้เรียกร้องต่างพอใจ และเดินทางแยกย้ายกันกลับ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดระนองที่มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิในการขอเป็นบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียน หรือขอสิทธิเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์มีอยู่สองกลุ่มด้วยกัน และบางกลุ่มจะมีคนเชื้อสายพม่าเข้ามาแสดงตัวและขอใช้สิทธินี้ด้วย จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเมืองระนอง
เมื่อวานนี้ (22 พ.ย.) ที่หน้าศูนย์ราชการ ศาลากลางจังหวัดระนอง มีชาวไทยพลัดถิ่น จำนวน 50 คน ได้ถือแผ่นป้าผ้าข้อความต่างๆ เดินทางเข้ายื่นหนังสือเพื่อร้องขอความช่วยเหลือพิจารณาหลักเกณฑ์ในการยื่นเอกสารขอพิสูจน์สิทธิความเป็นคนไทยพลัดถิ่น โดยมี นายสุรนันท์ เจริญศรี อยู่บ้านเลขที่ 51/15 ม.4 ต.บางริ้น อ.เมืองระนอง จ.ระนอง ประธานกลุ่มออมทรัพย์คนไทยพลัดถิ่น กลุ่มนายสุรนันท์ เจริญศรี เป็นตัวแทนในการเรียกร้องและยื่นหนังสือต่อ ว่าที่ ร.ต.เชิดศักดิ์ จำปาเทศ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง แต่เนื่องจากติดภารกิจ นายไพโรจน์ นาแก้ว ผู้ช่วยป้องกันจังหวัดระนอง มารับหนังสือขอความช่วยเหลือแทน
นายสุรนันท์ เจริญศรี กล่าวว่า การมายื่นหนังสือในครั้งนี้เพื่อให้รัฐพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ในเรื่องการพิสูจน์ และรับรองความเป็นชาวไทยพลัดถิ่น โดยมีข้อเรียกร้อง และสอบถาม 6 ข้อ ประกอบด้วย
1.หนังสือสั่งการที่สำนักทะเบียนอำเภอเมืองระนองส่งถึงกำนัน และผู้ใหญ่บ้านว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะไม่มีเลขที่หนังสือออก และไม่มีการลงชื่อกำกับ
2.ตามคำสั่งในหนังสือของสำนักงานทะเบียนไม่ปรากฏว่าต้องใช้ แบบ ทร.38 แต่อย่างใด ซึ่งในการปฎิบัติ คนไทยพลัดถิ่นต้องแนบเอกสาร แบบ ทร.38 ด้วยทุกครั้ง
3.เรื่องการใช้ใบมรณบัตรเพื่อประกอบผังเครือญาติที่ต้องส่งให้ทางอำเภอขณะยื่นเอกสารประกอบ คนไทยพลัดถิ่นเวลาตายส่วนใหญ่ไม่ได้แจ้ง จึงไม่สามารถหาใบมรณบัตรมาประกอบได้
4.ในการยื่นเอกสารต้องมีข้าราชการจำนวน 2 คน เซ็นรับรอง คนไทยพลัดถิ่นจะหาใครมารับรองให้ ถ้ามีคนรับรองก็ต้องเสียเงินให้คนรับรอง
5.เรื่องใบขับขี่ เมื่อปี พ.ศ.2553-2554 ขนส่งจังหวัดประกาศให้คนไทยพลัดถิ่นทำใบขับขี่ได้แต่ต้องจ่ายเงินคนละ1,500 บาท ซึ่งมีคนไทยพลัดถิ่นจำนวน 250-300 คน แห่ไปทำใบขับขี่ สุดท้าย 1 เดือนให้หลัง หัวหน้าขนส่งจังหวัดระนองขอใบขับขี่คืน อ้างดูกฎหมายผิด แต่เงิน 1,500 บาทไม่ให้คืน อ้างส่งเข้ากองคลังหมดแล้ว เอาคืนไม่ได้
6.เรื่องการพิสูจน์ดีเอ็นเอ ขอให้ขยายเวลาออกไปก่อน แล้วจึงค่อยยื่นหลักฐานต่อทางอำเภอในการพิสูจน์ พร้อมขอให้หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชนช่วยเหลืองบประมาณในการขอพิสูจน์ดีเอ็นเอ
ซึ่งภายหลังจากยื่นหนังสือเรียกร้องต่อทางจังหวัดระนองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยตัวแทนจังหวัดระนองจะทำหนังสือส่งต่อให้แก่กระทรวงมหาดไทยทราบ เมื่อได้ผลประการใดก็จะแจ้งให้แก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นกลุ่มนี้ทราบ ซึ่งผู้เรียกร้องต่างพอใจ และเดินทางแยกย้ายกันกลับ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดระนองที่มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิในการขอเป็นบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียน หรือขอสิทธิเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์มีอยู่สองกลุ่มด้วยกัน และบางกลุ่มจะมีคนเชื้อสายพม่าเข้ามาแสดงตัวและขอใช้สิทธินี้ด้วย จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างรัดกุมจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง อำเภอเมืองระนอง