ศูนย์ข่าวภูเก็ต - มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินในภูเก็ต พบหลายพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ดินถล่ม
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่ห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รองศาสตราจารย์นิศา ชัชกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พร้อมด้วย ผศ.นิติญา สังขนันท์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อรับทราบผลการศึกษาจัดทำแผนในการกำหนดประเด็นและแนวทางการประเมินความเปราะบาง โครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติ ในระดับเมือง เทศบาล และท้องถิ่นรวมทั้ง เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินโครงการอย่างยั่งยืนต่อไป
ผศ.นิติญา สังขนันท์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ทีมวิจัยโครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดโครงการดังกล่าวว่า สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ภายใต้โครงการเสริมสร้าง การรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้คัดเลือกเมืองนำร่อง 2 เมือง ได้แก่ เมืองอุดรธานี และเมืองภูเก็ต ในการศึกษาจัดทำแผนในการกำหนดประเด็น และแนวทางการประเมินความเปราะบาง โครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง
สำหรับภูเก็ต ได้ผ่านพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างการรับมือ ตามเกณฑ์กระบวนการคัดเลือกตามความเหมาะสม หากปราศจากการวางแผน และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ย่อมส่งผลกระทบต่อความเปราะบางของเมืองที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทาง ม.ราชภัฏภูเก็ต ในฐานะตัวแทนภาคการศึกษา จึงกำหนดแนวทาง และหัวข้อแผนงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความเปราะบางของเมืองภูเก็ตขึ้น
เพื่อพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต โดยการวิเคราะห์เพิ่มเติมประเด็นด้านการท่องเที่ยวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน ภายใต้หัวข้อโครงการวิจัย ชื่อ “โครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต” โดยบูรณาการร่วมกับการบริหารจัดการน้ำ และผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ กระบวนการวิจัยในขั้นต่อไป
ดังนั้น ทีมวิจัยเห็นว่า การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรมีความชัดเจนในขอบเขตของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการประเมินวางแผน และจัดการสิ่งแวดล้อม และรักษาระบบนิเวศของเมืองภูเก็ตให้สมบูรณ์ และยั่งยืน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผลศึกษาวิจัยเบื้องต้นของการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต พบว่า มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 6 หมื่นตารางเมตร ในพื้นที่เทศบาลตำบลรัษฎา เทศบาลนครภูเก็ต และก่อสร้างเพิ่มกว่า 3 หมื่นตารางเมตร ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลวิชิต ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ก่อเกิดผลกระทบปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม
ผศ.นิติญา กล่าวว่าต่อไปว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า โอกาสที่จะเกิดดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณสำนักสงฆ์ข้างเขาโต๊ะแซะ หมู่บ้านเขารังด้านสามกอง บริเวณวัดเกาะสิเหร่ บ้านแหลมตุ๊กแก เขาเกาะสิเหร่ ส่วนพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดน้ำท่วมจะอยู่บริเวณใจกลางชุมชนเมืองเก่า เทศบาลนครภูเก็ต ได้แก่ บริเวณถนนเยาวราช ถนนโป๋กุ่ย ถนนสุรินทร์ ซอย 3 ถนนโกมารภัจน์ ถึง ถนนถลาง
ผศ.นิติญา กล่าวต่อไปว่า คณะวิจัยฯ จึงเชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมรับทราบผลการศึกษาจัดทำแผนในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ขึ้นดังกล่าว เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติในระดับเมือง เทศบาล และท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสนับสนุน การดำเนินโครงการอย่างยั่งยืนต่อไป
วันนี้ (21 พ.ย.) ที่ห้องประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต รองศาสตราจารย์นิศา ชัชกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต พร้อมด้วย ผศ.นิติญา สังขนันท์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และหน่วยงานจากภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อรับทราบผลการศึกษาจัดทำแผนในการกำหนดประเด็นและแนวทางการประเมินความเปราะบาง โครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติ ในระดับเมือง เทศบาล และท้องถิ่นรวมทั้ง เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินโครงการอย่างยั่งยืนต่อไป
ผศ.นิติญา สังขนันท์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ทีมวิจัยโครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดโครงการดังกล่าวว่า สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ภายใต้โครงการเสริมสร้าง การรับมือของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้คัดเลือกเมืองนำร่อง 2 เมือง ได้แก่ เมืองอุดรธานี และเมืองภูเก็ต ในการศึกษาจัดทำแผนในการกำหนดประเด็น และแนวทางการประเมินความเปราะบาง โครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง
สำหรับภูเก็ต ได้ผ่านพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างการรับมือ ตามเกณฑ์กระบวนการคัดเลือกตามความเหมาะสม หากปราศจากการวางแผน และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ย่อมส่งผลกระทบต่อความเปราะบางของเมืองที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทาง ม.ราชภัฏภูเก็ต ในฐานะตัวแทนภาคการศึกษา จึงกำหนดแนวทาง และหัวข้อแผนงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความเปราะบางของเมืองภูเก็ตขึ้น
เพื่อพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต ตั้งแต่ อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต โดยการวิเคราะห์เพิ่มเติมประเด็นด้านการท่องเที่ยวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิน ภายใต้หัวข้อโครงการวิจัย ชื่อ “โครงการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองภูเก็ต” โดยบูรณาการร่วมกับการบริหารจัดการน้ำ และผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ กระบวนการวิจัยในขั้นต่อไป
ดังนั้น ทีมวิจัยเห็นว่า การกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรมีความชัดเจนในขอบเขตของแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการประเมินวางแผน และจัดการสิ่งแวดล้อม และรักษาระบบนิเวศของเมืองภูเก็ตให้สมบูรณ์ และยั่งยืน ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งผลศึกษาวิจัยเบื้องต้นของการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดภูเก็ต พบว่า มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 6 หมื่นตารางเมตร ในพื้นที่เทศบาลตำบลรัษฎา เทศบาลนครภูเก็ต และก่อสร้างเพิ่มกว่า 3 หมื่นตารางเมตร ในพื้นที่ของเทศบาลตำบลวิชิต ซึ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ก่อเกิดผลกระทบปัญหาน้ำท่วม ดินถล่ม
ผศ.นิติญา กล่าวว่าต่อไปว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า โอกาสที่จะเกิดดินถล่มในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีหลายพื้นที่ ได้แก่ บริเวณสำนักสงฆ์ข้างเขาโต๊ะแซะ หมู่บ้านเขารังด้านสามกอง บริเวณวัดเกาะสิเหร่ บ้านแหลมตุ๊กแก เขาเกาะสิเหร่ ส่วนพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดน้ำท่วมจะอยู่บริเวณใจกลางชุมชนเมืองเก่า เทศบาลนครภูเก็ต ได้แก่ บริเวณถนนเยาวราช ถนนโป๋กุ่ย ถนนสุรินทร์ ซอย 3 ถนนโกมารภัจน์ ถึง ถนนถลาง
ผศ.นิติญา กล่าวต่อไปว่า คณะวิจัยฯ จึงเชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องร่วมรับทราบผลการศึกษาจัดทำแผนในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ขึ้นดังกล่าว เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติในระดับเมือง เทศบาล และท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการสนับสนุน การดำเนินโครงการอย่างยั่งยืนต่อไป