ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ชาวไทยใหม่ บ้านแหลมตุ๊กแก จ.ภูเก็ต กว่า 200 คน ชุมนุมคัดค้านไม่ให้เจ้าหน้าที่ สนง.ที่ดิน เข้าทำการรังวัดที่ดินตามคำร้องของผู้แสดงเอกสารสิทธิ เนื่องจากเอกสารสิทธิทับบ้านเรือนของชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ฯ พยายามชี้แจงต่อชาวบ้านกว่า 1 ชั่วโมงแต่ไม่สำเร็จ จึงต้องยกเลิกการรังวัด
เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. วันนี้ (15 พ.ย.) ศาลากลางหมู่บ้านบ้านแหลมตุ๊กแก ชาวไทยใหม่บ้านแหลมตุ๊กแก หมู่ที่ 5 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประมาณ 200 คน ชุมนุมคัดค้านการเข้ารังวัดที่ดินของช่างรังวัด สำนักงานที่ดิน จ.ภูเก็ต ซึ่งจะเข้าทำการรังวัดที่ดินในหมู่บ้านเพื่อออกเอกสารสิทธิจำนวนเนื้อที 11 ไร่ ตามคำร้องของเจ้าของเอกสารสิทธิ โดยมีเจ้าหน้าทีตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 30 นาย ดูแลความปลอดภัย เนื่องจากชาวบ้านชาวไทยใหม่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และอาศัยอยู่ในที่ดินที่จะมีการรังวัดไม่ยินยอมให้มีการรังวัดแนวเขต เนื่องจากเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนประชาชนหลายหลังคาเรือน
โดยนายนิคม อุคติ นายช่างรังวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ได้ชี้แจงต่อชาวบ้านไทยใหม่ ว่า การเข้ามารักวัดที่ดินในครั้งนี้ เนื่องจากมีผู้แสดงเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ที่ออกในปี 2526 จำนวน 11 ไร่เศษ เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อทางเจ้าของเอกสารสิทธิส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ที่ดินมาทำการรังวัด เจ้าหน้าที่ก็ต้องทำการรังวัดตามหน้าที่ แต่ในส่วนชาวบ้านก็มีสิทธิที่จะคัดค้านหากเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่ในการรังวัดในครั้งนี้เป็นเพียงการมารังวัดจำนวนเนื้อที่ว่าตรงตามเอกสาร หรือไม่เท่านั้น ส่วนเอกสารสิทธิจะถูกต้องหรือไม่นั้นยังไม่ได้ลงลึกไปถึงจุดนั้น หากรังวัดแล้วเนื้อที่ไม่ตรงก็อาจเป็นได้ หรือตรงก็อาจเป็นได้
แต่ปรากฏว่า หลังการใช้เวลาชี้แจง และทำความเข้าใจต่อชาวบ้านนานกว่า 1 ชั่วโมง ทางชาวบ้านทั้งหมดก็ไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการรังวัดดินดังกล่าวแต่อย่างใด จนเจ้าหน้าที่เห็นว่าชาวบ้านไม่ยินยอมอย่างแน่นอน ได้ยกเลิกการรังวัด และแจ้งว่าจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการที่ดินจังหวัดภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านจึงยอมสลายตัวไป
ขณะที่นายสุทน ประมงกิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านแหลมตุ๊กแก กล่าวว่า ชาวบ้านได้อยู่อาศัยในที่ดินแปลงนี้มาตั้งแต่ปี 2470 สมัยก่อนยังเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า และมีการตั้งเป็นหมู่บ้านใน ปี 2501 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงเสด็จมาเยี่ยมเยียนชาวไทยใหม่ และทรงพระราชทานชื่อหมู่บ้านชาวไทยใหม่แหลมตุ๊กแก พร้อมทั้งพระราชทานนามสกุลประมงกิจให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งเดิมไม่มีนามสกุลอีกด้วย และนอกจากนี้ หมู่บ้านแหลมตุ๊กแกยังเป็นหมู่บ้านต้นแบบทางวัฒนธรรม มีการก่อสร้างศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรมอุรัก-ละโว้ย
และที่ผ่านมา ได้มีความพยายามของนายทุนที่จะให้มีการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงบ้านเรือน และที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้าน ตนเองและชาวบ้านก็ได้ร่วมกันต่อสู้มาโดยตลอด แต่เมื่อมีการต่อต้านจากชาวบ้านก็จะเงียบหายไปพักหนึ่ง หลังจากนั้น ก็เริ่มดำเนินการใหม่ จนล่าสุดที่มีการแสดงสิทธิดังกล่าว ซึ่งตนเอง และชาวบ้านจะไม่ยอม และจะขอต่อสู้ให้ถึงที่สุด
นายสุธน กล่าวต่อไปว่า สำหรับที่ดินแหลมตุ๊กแกมีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ ที่ชาวเล กว่า 300 ครัวเรือน ประมาณ 1,600 คนอยู่อาศัย โดยที่ชาวบ้านไม่รู้ว่ามีโฉนด จนกระทั่งมีการเข้ามารังวัด ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันคัดค้านดังกล่าว โดยชาวบ้านคิดว่าเขาอยู่มานานแล้ว และไม่อยากย้ายไปอยู่ที่อื่น
เมื่อเวลาประมาณ 10.30 น. วันนี้ (15 พ.ย.) ศาลากลางหมู่บ้านบ้านแหลมตุ๊กแก ชาวไทยใหม่บ้านแหลมตุ๊กแก หมู่ที่ 5 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต ประมาณ 200 คน ชุมนุมคัดค้านการเข้ารังวัดที่ดินของช่างรังวัด สำนักงานที่ดิน จ.ภูเก็ต ซึ่งจะเข้าทำการรังวัดที่ดินในหมู่บ้านเพื่อออกเอกสารสิทธิจำนวนเนื้อที 11 ไร่ ตามคำร้องของเจ้าของเอกสารสิทธิ โดยมีเจ้าหน้าทีตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จำนวน 30 นาย ดูแลความปลอดภัย เนื่องจากชาวบ้านชาวไทยใหม่ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน และอาศัยอยู่ในที่ดินที่จะมีการรังวัดไม่ยินยอมให้มีการรังวัดแนวเขต เนื่องจากเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนประชาชนหลายหลังคาเรือน
โดยนายนิคม อุคติ นายช่างรังวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต ได้ชี้แจงต่อชาวบ้านไทยใหม่ ว่า การเข้ามารักวัดที่ดินในครั้งนี้ เนื่องจากมีผู้แสดงเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก. ที่ออกในปี 2526 จำนวน 11 ไร่เศษ เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อทางเจ้าของเอกสารสิทธิส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ที่ดินมาทำการรังวัด เจ้าหน้าที่ก็ต้องทำการรังวัดตามหน้าที่ แต่ในส่วนชาวบ้านก็มีสิทธิที่จะคัดค้านหากเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่ในการรังวัดในครั้งนี้เป็นเพียงการมารังวัดจำนวนเนื้อที่ว่าตรงตามเอกสาร หรือไม่เท่านั้น ส่วนเอกสารสิทธิจะถูกต้องหรือไม่นั้นยังไม่ได้ลงลึกไปถึงจุดนั้น หากรังวัดแล้วเนื้อที่ไม่ตรงก็อาจเป็นได้ หรือตรงก็อาจเป็นได้
แต่ปรากฏว่า หลังการใช้เวลาชี้แจง และทำความเข้าใจต่อชาวบ้านนานกว่า 1 ชั่วโมง ทางชาวบ้านทั้งหมดก็ไม่ยินยอมให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการรังวัดดินดังกล่าวแต่อย่างใด จนเจ้าหน้าที่เห็นว่าชาวบ้านไม่ยินยอมอย่างแน่นอน ได้ยกเลิกการรังวัด และแจ้งว่าจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะกรรมการที่ดินจังหวัดภูเก็ตอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านจึงยอมสลายตัวไป
ขณะที่นายสุทน ประมงกิจ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 5 บ้านแหลมตุ๊กแก กล่าวว่า ชาวบ้านได้อยู่อาศัยในที่ดินแปลงนี้มาตั้งแต่ปี 2470 สมัยก่อนยังเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า และมีการตั้งเป็นหมู่บ้านใน ปี 2501 โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ทรงเสด็จมาเยี่ยมเยียนชาวไทยใหม่ และทรงพระราชทานชื่อหมู่บ้านชาวไทยใหม่แหลมตุ๊กแก พร้อมทั้งพระราชทานนามสกุลประมงกิจให้แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งเดิมไม่มีนามสกุลอีกด้วย และนอกจากนี้ หมู่บ้านแหลมตุ๊กแกยังเป็นหมู่บ้านต้นแบบทางวัฒนธรรม มีการก่อสร้างศูนย์อนุรักษ์วัฒนธรรมอุรัก-ละโว้ย
และที่ผ่านมา ได้มีความพยายามของนายทุนที่จะให้มีการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงบ้านเรือน และที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้าน ตนเองและชาวบ้านก็ได้ร่วมกันต่อสู้มาโดยตลอด แต่เมื่อมีการต่อต้านจากชาวบ้านก็จะเงียบหายไปพักหนึ่ง หลังจากนั้น ก็เริ่มดำเนินการใหม่ จนล่าสุดที่มีการแสดงสิทธิดังกล่าว ซึ่งตนเอง และชาวบ้านจะไม่ยอม และจะขอต่อสู้ให้ถึงที่สุด
นายสุธน กล่าวต่อไปว่า สำหรับที่ดินแหลมตุ๊กแกมีเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ ที่ชาวเล กว่า 300 ครัวเรือน ประมาณ 1,600 คนอยู่อาศัย โดยที่ชาวบ้านไม่รู้ว่ามีโฉนด จนกระทั่งมีการเข้ามารังวัด ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันคัดค้านดังกล่าว โดยชาวบ้านคิดว่าเขาอยู่มานานแล้ว และไม่อยากย้ายไปอยู่ที่อื่น